ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 16' 10.879"
16.2696886
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 11' 1.1548"
100.1836541
เลขที่ : 197462
หลวงพ่อเคลือบวาจาสิทธิ์ วัดดงเสือเหลือง โพธิ์ประทับช้าง
เสนอโดย พิจิตร วันที่ 25 กันยายน 2565
อนุมัติโดย พิจิตร วันที่ 25 กันยายน 2565
จังหวัด : พิจิตร
0 3040
รายละเอียด

1.ประวัติความเป็นมา

วัดดงเสือเหลือง ตั้งอยู่เลขที่ 1 บัานคงเสีอเหลือง หมู่ที่ 2 ตำบลองเสือเหลือง อำเภอโพธิ์ประทับช้างจังหวัดพิจิตร สั่งกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือ ยาว 1 เส้น 1 วา ติดต่อกับลำคลอง ทิศใต้ยาว 3 เส้น 3 วา ติดต่อกับทางสาธารณประโยชน์ ทิศ ตะวันออกยาว : 5 เส้น 13 วา ติดต่อกับที่ดินของนางน้ำค้าง-นายสว่าง-นาบระกำ ทิศตะวันตกยาว เส้น 3 วา ติดต่อกับทางสาธารณประโยชน์ มี น.ส. 3 ก. เลขที่ 206 แสดงกรรมสิทธิพื้นที่ตั้งวัด

เดิมพื้นที่บริเวณบ้านดงเสือเหลืองเป็นป่าไม้ ได้มีประชาชนอพยพมาจากจังหวัดอุทัยธานี มาบุกร้างถางป่าไม้ปลูกบ้านอยู่อาศัย ในสมัยนั้นมีไข้ป้าระบาดชาวบ้านนอนรักษากันจนเสื่อเหลือง จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านดงเสื่อเหลืองต่อมาภายหลังชื่อเรียกเปลี่ยนไปว่าบ้านดงเสือเหลืองมาจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมาเมื่อชาวบ้านมาร่วมกันเป็นปรึกแผ่นแน่นหนาแล้ว จึงประชุมกันก่อสร้างวัดขึ้น โดยมีนายเครื่อง,นายหร่อง,นายเข็มและนายมิ่ง พร้อมทั้งชาวบ้าน ได้ร่วมกันสร้างกุฏิ 2 หลัง ศาลา 1 หลัง สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2474 ต่อมาปี พ.ศ.2494 ทางคณะกรรมการวัดพร้อมด้วยชาวบ้าน ได้ร่วมกันสร้างอุโบสถขึ้นมา 1 หลัง ยังปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และได้ชำรุดทรุดโทรมต่อมา ปีพ.ศ.2519 ได้วางศิลาฤกษ์อุโบสถขึ้นมาใหม่ ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2526 และได้จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต 13 วัน 13 คืน ในวันที่ 20 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2537 และเมื่อปี พ.ศ.2531 เจ้าอาวาสพร้อมด้วยคณะกรรมการวัดได้ก่อสร้างศาลาขึ้นมาใหม่ 1 หลัง ต่อมาปี พ.ศ. 2520 นายเดี่ยว วงศ์รักษ์ ได้เป็นเจ้าภาพสร้างหอกลอง-ระฆัง 1 หลัง ต่อมาปีพ.ศ. 2506 ทางคณะกรรมการได้รื้อกุฏิหลังเก่าแล้วก่อสร้างใหม่ 1 หลังแล้วเสร็จภายใน 1 ปี ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2507 ได้ก่อสร้างกุฏิขึ้นอีก 1 หลังแล้วเสร็จภายใน 1 ปี ต่อมาชาวบ้านได้ไปนิมนต์หลวงพ่อเคลือบ พุทฺธรักฺขิโตที่จังหวัดอุทัยธานีมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดงเสือเหลือง ท่านได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองและท่านเป็นพระที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนให้ความเกรงกลัวและมีบุคคลให้ความเคารพนับถือมากมาย จนท่านได้มรภาพลงในปี พ.ศ. 2506 (อายุ 77 ปี) ทางวัดได้จัดงานครบรอบวันมรภาพเป็นประจำทุกปี ตรงกับเดือน 3 แรม 3 ค่ำ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2508 ชาวบ้านได้สร้างมณฑปไว้เป็นที่ประดิษฐ์สถานหลวงพ่อเคลือบ ปัจจุบันได้รื้อสร้างขึ้นมาใหม่ ได้วางศิลาฤกษ์วันที่ 13 เมษายน 2545 เป็นแบบจัตุรมุข และปีพ.ศ. 2538 เจ้าอาวาสพร้อมด้วยชาวบ้านได้สร้างกุฏิขึ้นมา 8 หลัง เป็นแบบทรงไทยชั้นเดียว 7 หลัง เป็นแบบทรงไทย 2 ชั้น 3 หลัง ดังได้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ที่ดินบริเวณวัดทั้งหวดรวม 21 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา ได้รับอนุญาตตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2472 สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค4

ลำดับเจ้าอาวาสวัดดงเสือเหลือง

1.พระปุ๋ยพ.ศ. 2472 -

2.พระอธิการเคลือบพุทฺธรกฺขิโต พ.ศ. 2490 - 2506

3.พระอธิการสนั่น(ดำ)จนฺทสโร พ.ศ. 2508 -

4.พระอาจารย์พิษณุรักษาการเจ้าอาวาส-

5.พระมหาทองสุข รักษาการเจ้าอาวาส-

6.พระอธิการสมควรพ.ศ. 2516 - 2523

7.พระครูวิจิตรสาธุโกศล ( จำนงค์ ) พ.ศ. 2525 - 2543

8.พระครูวิโรจน์บุณยากร ( บุญมี ) พ.ศ.2545 - ปัจจุบัน

ประวัติพระอธิการบุญเรือง (เคลือบ) พุทธรักขิโต

พระอธิการบุญเรืองหรือหลวงพ่อเคลือบ อดีตเจ้าอาวาสวัดดงเสือเหลืองพ.ศ. 2490 - 2506 (16 ปี )ถือว่าเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะค้นหาประวัติของหลวงพ่อเคลือบอย่างละเอียดและถูกต้องเนื่องจาก หลวงพ่อเคลือบท่านได้มรณภาพนานแล้ว และ หลวงพ่อเอง ก็ไม่ได้บันทึกประวัติไว้อีกทั้งผู้เฒ่า ผู้แก่ ที่พอรู้เรื่องราวของ หลวงพ่อ บ้างปัจจุบันนี้ได้ล้มหายตายจากไปมากรายแล้วเหลืออยู่เพียงผู้ที่รู้ประวัติคร่าวๆ ว่าหลวงพ่อเคลือบ พุทธรักขิโต เกิดที่อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี วันพฤหัสบดีปีจอประมาณ ปีพ.ศ. 2429 อุปสมบทครั้งแรก ประมาณปีพ.ศ. 2449 ที่จังหวัดอุทัยธานี ไม่ทราบว่าอุปัชฌาย์ คือใครและบวชที่วัดไหน เพียงทราบว่าท่านเป็นศิษย์หลวงปู่แสง จำพรรษาที่วัดทุ่งหลวงต่อมาได้ลาสิกขาบทและได้มีครอบครัวต่อมาเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสจึงได้ลาครอบครัวเพื่อออกบวชเป็นพระภิกษุอุปสมบทครั้งที่ 2 ณ วัดศรีสิทธิการาม อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาทต่อมาชาวบ้าน ตำบลดงเสือเหลืองได้นิมนต์ให้ หลวงพ่อเคลือบ พุทฺธรกฺขิโต มาจำพรรษาที่วัดดงเสือเหลืองประมาณเดือน๖ปี พ.ศ. 2490 (อายุประมาณ 61 ปี) นับตั้งแต่ที่ท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดดงเสือเหลือง นั้นท่านเป็นพระที่เคร่งในข้อวัตรปฏิบัติท่านได้สร้างคุณประโยชน์ และความเจริญต่างๆ มากมายให้แก่ชาวตำบลดงเสือเหลืองมีประชาชนทั้งใกล้ และไกล เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านเนื่องจากนับถือกันมากว่าท่านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ดังปรากฏเรื่องราวเล่าขานจนถึงปัจจุบันนี้ หลวงพ่อเคลือบ พุทฺธรกฺขิโต ท่านได้มรณภาพแรม 3 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล ( ตรงกับ วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2506 ) คณะศิษย์ได้จัดงานครบรอบ วันบูรพาจารย์เป็นประจำทุกปี ๆและ หลวงพ่อเคลือบได้สร้างวัตถุมงคลคือเหรียญรูปเหมือน หลวงพ่อเคลือบเนื้อเงิน – ทองแดง ( 2506)แหวนล็อคเก็ต , รูปหล่อโบราณ(พิมพ์หลังตรง - พิมพ์หลังค่อม) ธนบัตรขวัญถุงและ ภาพถ่าย ฯ

หลวงพ่อเคลือบกับความเชื่อ

หลวงพ่อเคลือบ พุทฺธรักฺขิโตวัดดงเสือเหลือง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร เป็นบุคคลที่มีความสำคัญและประชาชนในตำบลดงเสือเหลือง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ให้ความนับถือ และเชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ การบนบานศาลกล่าวหลวงพ่อเคลือบแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตโดยจุดธูป 3 ดอกหรือบางครั้งก็จะบอกกล่าวธรรมดาว่าต้องการบนเรื่องอะไรและจะแก้บนด้วยอะไรส่วนใหญ่การแก้บนมักจะเป็นเหล้าขาว มะขามเปียก หรือพวงมาลัยเมื่อบอกกล่าวท่านแล้วก็ทิ้งไว้สักครู่ ประมาณธูปหมดดอกก็บอกลาท่าน ก่อนลาท่านก็ให้ขออนุญาตท่านก่อนว่าขอนำอาหารที่เหลือนี้ไปเป็นทานแก่ข้าพเจ้าและครอบครัว

***ถ้าบนเหล้า มะขามเปียก เกลือ จะแก้ตอนไหนก็ได้ แต่ถ้ามี หมู ไก่ ต้ม ควรจะกระทำให้เสร็จก่อนเที่ยง***

คำกล่าวแก้บน

จุดธูป 3 ดอกหรือ 9 ดอก แล้วบอกกล่าวว่า "ข้าพเจ้า..........(ชื่อ).......... ได้บนบานศาลกล่าว กับหลวงพ่อเคลือบไว้ว่า........(เรื่องที่จะขอ)............. ถ้าประสบผลสำเร็จก็จะขอแก้บน ด้วยการถวาย...............(ของที่บน).............................บัดนี้ หลวงพ่อเคลือบได้เมตตาทำให้เกิดผลสำเร็จ ตามที่ได้บนบานศาลกล่าวเข้าไว้แล้ว ข้าพเจ้า.........(ชื่อ)............. จึงขอถวาย.......(ของที่บน)..............................เพื่อเป็นการแก้บนตามสัญญา สัจจะที่ให้ไว้กับหลวงพ่อเคลือบ ขอท่านจงโปรดรับของที่ข้าพเจ้า นำมาแก้บนนี้ด้วยเทอญ.

คาถาบูชาหลวงพ่อเคลือบ( ตั้งนะโม 3 จบ ) โย หิ เกรัสสะ นาโถ มะหาลาโภ โลกานัง อะนุกัมปะโก ยัสสะ มิทธานุภาโวจะ สิเรเนตัง นะมามิหัง เอตัสสะ อานุภาเวนะ

คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อองค์ความรู้เรื่องนี้

๑)คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

พระอธิการบุญเรือง หรือหลวงพ่อเคลือบ พุทฺธรักฺขิโตวัดดงเสือเหลือง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตรพระผู้ประเสริฐโดยธรรมอีกรูปหนึ่งของจังหวัดพิจิตรท่านเป็นพระที่มีความเมตตาและเป็นที่พึ่งทางใจให้กับประชาชนในตำบลดงเสือเหลือง และประชาชนในจังหวัดพิจิตรให้ความเลื่อมใสและศรัทธา นอกจากนี้ยังเป็นพระนักพัฒนา ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับอนุชนรุ่นหลังได้ประกอบคุณงามความดีเพื่อบ้านเมือง

๒)บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของหลวงพ่อเคลือบ ทางวัดได้จัดงานครบรอบวันมรภาพเป็นประจำ ทุกปี ซึ่งตรงกับเดือน 3 แรม 3 ค่ำโดยบูรณาการร่วมกับระหว่าง บ้าน วัด และราชการ เกิดเป็นพลัง "บวร" ในการจัดงานอย่างต่อเนื่องทุกปี

ข้อมูลอ้างอิงบุคคล

ชื่อ- พระครูวิโรจน์บุณยากร

ตำแหน่ง.เจ้าอาวาสวัดดงเสือเหลือง/ เจ้าคณะตำบลดงเสือเหลือง

หน่วยงาน/องค์กรวัดดงเสือเหลือง.

เลขที่1 หมู่ที่ 12 ตำบลดงเสือเหลือง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์ 0861996259

ข้อมูลอ้างอิงอื่นๆเช่นเอกสารงานวิจัย, แผ่นพับ, เว็บไซต์, ฯลฯ

1. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๖ กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

2. https://www.web-pra.com/auction/show/1795664

3. http://sitluangporthob.com › webboard_show_detail

สถานที่ตั้ง
วัดดงเสือเหลือง.
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 12 ซอย - ถนน -
ตำบล ดงเสือเหลือง อำเภอ โพธิ์ประทับช้าง จังหวัด พิจิตร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
บุคคลอ้างอิง นางจันทรา กุลนันทคุณ อีเมล์ culture.phichit01@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน ศาลากลางจังหวัดพิจิตร (หลังเดิม) ซอย - ถนน บุษบา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองพิจิตร จังหวัด พิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66000
โทรศัพท์ ุุ0 5661 2675 โทรสาร ุุ0 5661 2675
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th/phichit
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่