ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม : ผ้าใยกล้วยบัวหลวงประวัติความเป็นมาในยุคที่ผ้าไทยทอมือกลับมาได้รับความสนใจและกลายเป็นกระแสแฟชั่นผ้าไทยซึ่งคนรักแฟชั่นผลักดันให้กลายเป็นที่ยอมรับในวงกว้างของบ้านเราซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ในแต่ละพื้นที่นั้นเพราะแต่ละท้องถิ่นก็แสดงออกถึงความชำนาญและอัตลักษณ์ผ่านผืนผ้าที่แตกต่างกัน เช่นของจังหวัดปทุมธานี มีชาวบ้านที่อพยพอยู่ในอำเภอสามโคก พอถึงงานบุญก็จะใส่ผ้าสไบจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำผ้าให้ไปใช้ในงานต่างๆ ‘ผ้าใยกล้วยบัวหลวง" การทอเส้นใยกล้วยและเส้นใยอื่น ทอผ้าโดยใช้กี่กระตุก ๒ ตะกอ ๔ ตะกอ ๖ ตะกอ ควบด้วยเส้นด้านพุ่ง ๔ เส้น ต่างสีสันกันพุ่งไปมา ทำให้เนื้อผ้ามีความพิเศษ มีผิวสัมผัสและน้ำหนักเบา คล้ายผ้าขนสัตว์ ทำให้สวมใส่สบาย’ โดยการ "นำกาบและก้านในกล้วย” มาปั่นเป็นเส้นด้าย ซึ่งเส้นใยกล้วย มีคุณสมบัติเด่นในด้านความแข็งแรง และเงามัน สามารถขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย นำมาต่อยอดทอเป็นผืนผ้าและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านแสงตะวัน และเข้ามาพัฒนาลวดลายของผ้าใยกล้วยอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ผ้าใยกล้วยยกดอก ซึ่งปัจจุบันต้องการสร้างอัตลักษณ์ลวดลาย ที่เกิดจากภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่นของตัวเอง ลวดลาย ให้กับทางกลุ่มกำลังพัฒนาลวดลายหางไก่ หางไก่เตี้ย เนื่องด้วยทางศูนย์อยู่ภายใต้วัดไก่เตี้ย และพัฒนาเส้นดายให้แข็งแรง สามารถเป็นเส้นดายยืนได้อีกด้วยจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าใยกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากใยกล้วย นำมาทอเป็นผืนผ้า โดยลวดลายผ้าที่ดำเนินการผลิตเป็นตาหมากรุกวัสดุ/ประกอบ/ส่วนประกอบ/กระบวนการในการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าใยกล้วยบัวหลวง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการผลิตเป็นการนำเส้นใยกล้วยมาทอเป็นผืนผ้า โดยมีหลากหลายสีสันรายละเอียดผลิตภัณฑ์๑. ประโยชน์ใช้สอย ของฝาก ของที่ระลึก และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย๒. การดูแลรักษา ซักมือหรือซักเครื่อง๓. ราคา เมตรละ ๕๐๐ - ๗๐๐ บาท๔. วัสดุ/ส่วนประกอบ ใยกล้วย๕. ระยะเวลาในการผลิต ๑ เดือน๖. สถานที่ในการจัดจำหน่าย บ้านเลขที่ ๑๐/๑ หมู่ ๑ ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี๗. การจำหน่ายแบบออฟไลน์ ผลิตตามการสั่งซื้อของลูกค้า