ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 15' 3.4517"
18.2509588
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 10' 13.1725"
100.1703257
เลขที่ : 197597
ฟ้อนกลองอืด
เสนอโดย แพร่ วันที่ 5 ตุลาคม 2565
อนุมัติโดย แพร่ วันที่ 5 ตุลาคม 2565
จังหวัด : แพร่
0 996
รายละเอียด

ฟ้อนกลองอืด

กลองอืดเป็นกลองชนิดหนึ่งคล้าย กลองหลวง แต่มีขนาดยาวกว่า พบในจังหวัดแพร่ และน่าน ใช้ประกอบการฟ้อนเล็บหรือแห่ขบวนต่างๆ เครื่องประกอบจังหวะมี ฆ้องใหญ่ และฆ้องกลาง ฆ้องเล็ก ฉาบใหญ่ ๑ คู่ และ "ผ่าง” หรือ "พาน” (ฆ้องไม่มีปุ่ม) และกลองอืดนี้ บ้างว่าเป็นชนิดเดียวกับกลองแอว

กลองแอวเป็นกลองที่มีลักษณะคล้ายกับกลองหลวงแต่ขนาดเล็กกว่า คือประมาณ ๑ ใน ๔ ของกลองหลวงขึงด้วยหนังข้างเดียว ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ และไม้แดง เป็นต้น กลองแอวมีชื่อเรียกขานต่างกันไป บางแห่งอาจเรียกตามรูปลักษณ์ที่พบเห็น เรียกตามเสียงที่หูได้ยินหรือเรียกตามตำนานเล่าขานสืบกันมา อย่างไรก็ตาม พอสรุปได้ว่า กลองแอว เป็นชื่อเรียกตามรูปลักษณ์ที่พบเห็น คือมีลักษณะคอดกิ่วตรงกลางคล้ายสะเอว ซึ่งภาษาล้านนาเรียก "แอว” จึงได้ชื่อว่า "กลองแอว”

ฟ้อนกลองอืดจริงๆก็คือ ฟ้อนเมือง หรือ ฟ้อนเล็บ หรือเรียกกันว่าฟ้อนแห่ครัวตาน ฟ้อนเมืองบ้าง แต่ทางแพร่จะเรียกฟ้อนกลองอืด ท่าทาง และ เพลงประกอบ ก็จะเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนฟ้อนเล็บเชียงใหม่เลย

ทั้ง ๓ ชื่อนี้เป็นการฟ้อนชนิดเดียวกัน แต่เรียกไปตามสถานการณ์ของการฟ้อน เช่น การฟ้อนครัวทาน คือการฟ้อนนำขบวนแห่ของชาวบ้านที่จัดขึ้นเรียกว่า ครัวทาน” ซึ่งประกอบด้วยเครื่องอัฐบริขาร (ตั้งแต่ไม้กวาด หม้อน้ำยา และเงินทอง) เพราะประเพณีทางเหนือนั้นเมื่อพ้นการทำนาแล้วชาว บ้านก็จะมุ่งทำบุญมีการบูรณะวัด เป็นต้น ถ้าหมู่บ้านใดบูรณะวัดเรียบร้อยแล้ว ก็นิยมบอกบุญไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ก็ให้มาช่วยทำบุญฉลอง เช่นฉลองโบสถ์ วิหาร เป็นต้น จึงเรียกว่าฟ้อนครัวทาน หรือฟ้อนเมือง ส่วนท่าทางการฟ้อนรวมถึงเพลงที่ใช้ประกอบ ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่

สถานที่ตั้ง
จังหวัด แพร่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดแพร่ อีเมล์ phraeculture@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรม
ตำบล ป่าแมต อำเภอ เมืองแพร่ จังหวัด แพร่
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่