ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 9° 18' 52.8869"
9.3146908
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 41' 25.9141"
99.6905317
เลขที่ : 197785
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุเจดีย์เขาสุวรรณประดิษฐ์
เสนอโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 17 มีนาคม 2566
อนุมัติโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 17 มีนาคม 2566
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
0 355
รายละเอียด

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุเจดีย์เขาสุวรรณประดิษฐ์ จัดทุกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญประเพณีหนึ่งของประชาชนชาวอำเภอดอนสัก และประชาชน
ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องด้วยเป็นประเพณีที่ประชาชนร่วมใจกันสักการะพระธาตุเจดีย์ประจำถิ่น
อย่างพร้อมเพรียงกัน “พระธาตุเจดีย์” ตั้งอยู่ในวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เป็นที่ประดิษฐ์สถานพระบรมสารีริกธาตุ
ของ “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” พระธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำที่ “พระครูกิตติมงคลพิพัฒน์” (หลวงพ่อจ้อย) อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธศาสนิกชน เริ่มดำเนินการจัดสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2526 โดย “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” เสด็จเป็นองค์ประธานในการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดังนั้น พระธาตุเจดีย์
วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จึงเป็นสถานที่สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของประชานชาวอำเภอดอนสัก
และประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยงานประเพณี “แห่ผ้าขึ้นพระธาตุเจดีย์ สรงน้ำ ปิดทองรูปเหมือนหลวงพ่อจ้อย” เป็นประเพณีที่จัดขึ้นมากว่า 36 ปี จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญในพื้นที่อำเภอดอนสัก และนอกจากเป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสถานที่สำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานีอีกด้วย

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://suratthani.m-culture.go.th/th/local-tradition/180951

สถานที่ตั้ง
วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
ตำบล ดอนสัก อำเภอ ดอนสัก จังหวัด สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
บุคคลอ้างอิง นางสาวอรอุษา เพ็งสกุล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตำบล ตลาด อำเภอ เมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่