ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 9° 8' 11"
9.1363889
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 19' 13.0001"
99.3202778
เลขที่ : 197999
ประติมากรรมวาฬบรูด้าแม่ลูก
เสนอโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 14 กรกฎาคม 2566
อนุมัติโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 14 กรกฎาคม 2566
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
0 405
รายละเอียด

ประติมากรรมวาฬบรูด้าแม่ลูก เป็นประติมากรรมที่สวยสดงดงามแสดงออกถึงอัตลักษณ์วิถีชีวิตชุมชน เพื่อให้เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้ประวัติและความเป็นมา ของชุมชนในอดีต เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ส่งเสริม กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวชุมชน และเป็นแลนด์มาร์คแห่งสำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

โดยมีเรื่องราวเป็นมาว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2507 มีการพบปลาวาฬหรือวาฬบรูด้า (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balaenoptera edeni) ตายอยู่บริเวณปากอ่าวแม่น้ำตาปี ชาวประมงไปพบจึงพยามลากเข้ามาตามร่องน้ำของแม่น้ำตาปี แต่ด้วยเป็นวาฬที่มีขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 13 - 14 เมตร และมีน้ำหนักมากจึงลากมาเกยตื้นได้เพียงท่าเรือชาวบ้านบริเวณตลาดบ้านดอน ซึ่งประชาชนสนใจมาดูเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น มีการนำเอาเนื้อ ไขมันไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นที่จดจำของประชาชนและเรียกสถานที่ปัจจุบันว่า “ท่าปลาวาฬ”

โดยประติมากรรมวาฬบรูด้าแม่ลูก ตั้งอยู่บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำตาปี หน้าตลาดน้ำบ้านดอน ถนนหน้าเมืองตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://suratthani.m-culture.go.th/th/archaeological-site/229810

สถานที่ตั้ง
ริมเขื่อนแม่น้ำตาปี
ตำบล ตลาด อำเภอ เมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายพฤติพงษ์ วงศ์วรรณา
บุคคลอ้างอิง นายจาตุรนต์ พงศาปาน
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตำบล มะขามเตี้ย อำเภอ เมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84000
โทรศัพท์ 077275464 โทรสาร 077275465
เว็บไซต์ http://suratthani.m-culture.go.th/th/archaeological-site/229810
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่