ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 26' 0.5881"
8.4334967
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 4' 48.7009"
99.0801947
เลขที่ : 198215
โนราวาสนา อาภรศิลป์
เสนอโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 29 มีนาคม 2567
อนุมัติโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 29 มีนาคม 2567
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
0 80
รายละเอียด

โนราเป็นการละเล่นที่เก่าแก่ของภาคใต้ นอกจากจะแสดงเพื่อความบันเทิงพักผ่อนหย่อนใจยังแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เรียกว่า “โนราโรงครู” หรือ “โนราลงครู” พิธีกรรมนี้ มีจุดมุ่งหมาย ในการจัดคือ เพื่อไหว้ครูหรือไหว้ตายายโนรา อันเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อครู เพื่อทำพิธีแก้บน หรือแก้เหมฺรย หรือเพื่อทำพิธียอมรับการเป็นศิลปินโนราคนใหม่ที่สมบูรณ์ที่เรียกว่าพิธี“ครอบเทริด” หรือ “ผูกผ้าใหญ่” หรือ “แต่งพอก” และเพื่อประกอบพิธีเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น เหยียบเสน ตัดจุก ตัดผมผีช่อ ผูกผ้าปล่อย

องค์ประกอบและรูปแบบในการแสดงโนราโรงครู ประกอบด้วยการรำคือ การรำพื้นฐาน การรำขั้นสูง และการรำประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ได้แก่ รำสิบสองท่า รำสิบสองบท รำคล้องหงส์ และแทงเข้ ส่วนการร้องใช้รูปแบบการร้องรับของผู้รำและนักดนตรีคือ การร้องรับไม่ใช้ท่ารำ การร้องรับประกอบท่ารำได้แก่ ร้องรับบทกาดครู ร้องรับประกอบการรำทุกประเภท การแสดงเป็นเรื่องเป็นรูปแบบ ของการแสดงละครจากวรรณกรรมพื้นบ้านเฉพาะตอนสำคัญต่อเนื่องกัน ๑๒ เรื่อง และเลือกเรื่องมาแสดงเต็มรูปแบบของพิธีกรรมอีก ๒ เรื่อง เพื่อสร้างความศรัทธาในพิธีกรรมให้มากยิ่งขึ้น การบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรม มีรูปแบบของจังหวะที่ใช้ประกอบพิธีกรรมแต่ละขั้นตอนโดยเฉพาะได้แก่ การเซ่น ของสังเวยและประทับทรงใช้เพลงเชิด การเชิญวิญญาณใช้จังหวะเชิญตายาย การร่ายรำประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ใช้เพลงโค ปัจจุบันโนราโรงครูยังคงมีการสืบสานอย่างเคร่งครัด คณะมโนรายังประกอบพิธีกรรมโนราโรงครู รักษาจารีตขนบธรรมเนียมการแสดงและพิธีกรรมอย่างต่อเนื่อง

เครื่องแต่งการและอุปกรณ์

๑. เทริด

๒. เครื่องลูกปัด ใช้ตกแต่งลำตัวท่อนบน ประกอบด้วย สายบ่า สายพาดหรือสังวาลย์ สายคอ พานโครง รอบอก หรือสายรัดโพก ปิ้งคอ

๓. ทับทรวง เป็นแผ่นเงินรูปคล้ายขนมเปียกปูนใช้แขวนกับสายคอห้อยอยู่ระดับทรวงอก

๔. ปีกนกแอ่น เป็นแผ่นเงินรูปคล้ายนกนางแอ่นกางปีก ใช้แขวนกับสายสังวาลย์ บริเวณชายโครง

๕. ปีก หรือ "หางหงส์” นิยมทำด้วยเขาควายหรือหนังสัตว์ มีลักษณะคล้ายปีกนก ส่วนปลายงอนเชิดร้อยด้วยลูกปัดเป็นระย้าห้อยสวยงาม

๖. เหน็บเพลา หรือสนับเพลา เป็นกางเกงขาทรงกระบอกยาวประมาณครึ่งน่องใช้สวมแล้วนุ่งผ้าทับ

๗. ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้าใชนุ่งทับสนับเพลาให้กระชับดึงชายผ้าไปเหน็บไว้ข้างหลังคล้ายนุ่งโจงกระเบนแต่รั้งชายให้ห้องลง

๘. สายรัด ทำด้วยด้ายขาว ๓ เส้น เผือกันเป็น ๓ เกลี่ยว ใช้คาดเอวรัดผ้านุ่งให้แน่น

๙. หน้าผ้า ใช้สำหรับคาดห้อยไว้ด้านหน้า

๑๐. ผ้าห้อยหน้า ใช้ผูกหรือเหน็บห้อยทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของหน้าผ้า

๑๑. กำไล กำไลต้นแขน กำไลปลายแขน กำไลมือ(ใช้สวมมือและเท้าข้างละหลายๆ วง)

๑๒. ปิเหน่ง หรือปั้นเหน่ง(หัวเข็มขัด)

๑๓. เล็บ ใช้สำหรับสวมนิ้วข้างละ ๔ นิ้ว (ยกเว้นหัวแม่มือ)

๑๔. ลูกพอก สำหรับโนราใหญ่ที่แต่งพอก ลูกพอกประกอบด้วยผ้าเพดานบนศาลหรือพาไล ผ้าเพดานใหญ่ในโรงพิธี ที่วางเทิด เสื่อหมอน เครื่องเชี่ยนพิธี หม้อน้ำมนต์ ไม้หวาย มีดหมอ บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่หรือบายศรีท้องโรง ดอกไม้ธูปเทียน หอกแทงจระเข้ หยวกกล้วยทำรูปจระเข้ ใบชิงหรือกระแชง ขันลงหิน หน้าพรานชายหญิง เทริด ย่าม ธนู เชือกคล้องหงส์ เครื่องแต่งตัวโนรา หญ้าคา หญ้าครุน ใบเฉียงพร้า ใบหมวกผู้ เงินเหรียญ รวงข้าว มีดโกน หินลับมีด พระขรรค์ หนังสือ (เสือ) หนังหมี สำหรับที่วางน้ำมนต์อาจจะทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นตะกร้าทรงสูงเรียกว่า "ตรอม”

เมื่อคณะโนรามีกำหนดแน่นอนแล้วว่าจะไปแสดงที่ใด ก็จะเตรียมสิ่งของเครื่องใช้อุปกรณ์ ต่าง ๆ ไว้ให้พร้อม ก่อนเดินทางนายโรงหรือหัวหน้าคณะพร้อมทั้งลูกคู่และผู้แสดงทุกคน จะต้องนำ เครื่องดนตรีมารวมกันบนบ้านของนายโรงเพื่อทำพิธียกเครื่อง ผู้ทำพิธีอาจเป็นนายโรงหรือหมอเฒ่า ประจำคณะ ผู้ทำพิธีจะบริกรรมคาถาพร้อมกับการบรรเลงของลูกคู่การบรรเลงดนตรีจะเริ่มด้ายการเป่าปี่ตามด้วยการตีกลอง ต่อด้วยทับ โหม่งฉิ่ง ตามลำดับ การทำพิธีผู้ทำต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ถือว่าเป็นทิศมงคลดนตรีจะบรรเลงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะบริกรรมคาถาเสร็จ

คณะโนราวาสนา อาภรศิลป์ มีการสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรษ สืบทอดมาจากรุ่นปู่ยา ตายายจากรุ่นสู่รุ่น โดยมีฐานความเชื่อทางพิธีกรรม คือการเคารพบรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าพ่อแม่ ปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ยังคงคอยปกปักษ์รักษาชีวิตลูกหลานให้อยู่รอด ปลอดภัย ประเพณีการรำโนราโรงครูเป็นการละเล่นประเภทหนึ่งของภาคใต้ ซึ่งนอกเหนือจากแสดงเพื่อความบันเทิงแล้ว ประเพณีนี้ยังเป็นพิธีกรรมความเชื่อทางพุทธศาสนาของชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นการผสมผสานกับลัทธิพราหมณ์และความเชื่อในเรื่องผีสางเทวดา รวมไปถึงเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ที่ขาดไม่ได้คือการเข้าทรงถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงคุณธรรม ด้านคารวธรรม ที่เหล่าลูกหลานต้องเคารพนับถือครูบาอาจารย์ กตัญญูรู้คุณมีเมตตาธรรม และช่วยคลี่คลายปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจซึ่งมีส่วนสำคัญในการสืบทอดและรักษามรดกวัฒนธรรมด้านศิลปะการละเล่นโนราเอาไว้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
หมวดหมู่
ศิลปิน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 5 หมู่ที่/หมู่บ้าน 7
ตำบล ชัยบุรี อำเภอ ชัยบุรี จังหวัด สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางวาสนา อุปฐาก
เลขที่ 5 หมู่ที่/หมู่บ้าน 7
ตำบล ชัยบุรี อำเภอ ชัยบุรี จังหวัด สุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84350
โทรศัพท์ 0908760172
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่