ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 44' 8.2914"
13.7356365
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 6' 45.3042"
101.1125845
เลขที่ : 198222
พิธีทอดผ้าบังสุกุลในงานศพ
เสนอโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 29 มีนาคม 2567
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 29 มีนาคม 2567
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
0 103
รายละเอียด

ข้อรู้หรือไม่?

ผ้าไตรบังสุกุลมีความสำคัญตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของสังคมไทยอย่างไร?

คำว่า “บังสุกุล” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง ผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ ที่ทอดไว้หน้าศพ บนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าโยงด้วยการปลงกรรมฐาน

ส่วนคำว่า “ผ้าไตร” หมายถึง ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง), อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ) เรียกเต็มว่าผ้าไตรจีวร

ในสมัยพุทธกาล ผ้าบังสุกุลเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นที่เขาทิ้งแล้ว ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ภิกษุผู้แสวงหาผ้าบังสุกุลจะต้องเที่ยวเสาะหาผ้าบังสุกุลตามป่าช้า กองขยะและตามถนนหนทางต่างๆ แล้วนำมาซัก เย็บย้อม ทำเป็นผ้านุ่งและผ้าห่มกันเอง เพราะในสมัยพุทธกาลผ้าเป็นของหายากและมีจำนวนน้อย

ส่วนในยุคปัจจุบัน มิได้เป็นผ้าเปื้อนฝุ่นที่เขาทิ้งแล้วอย่างในสมัยพุทธกาล แต่มักจะเป็นผ้าที่ทายกหรือทายิกา นำมาถวายภิกษุในงานพิธีการต่างๆ ทางด้านศาสนา

ด้วยเหตุนี้ การถวายผ้าบังสุกุล จึงเป็นความเชื่อและความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่ยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจอย่างแนบแน่น จนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ทั้งเป็นอัตลักษณ์ของชาติ ที่คอยจรรโลงคุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรมของพุทธศาสนิกชนสืบไป

จึงกล่าวสรุปได้ว่า การทอดผ้าไตรบังสุกุลในงานอวมงคลนั้น มักนิยมใช้ผ้าไตรแบ่งอันประกอบไปด้วย “จีวรและสบง” สำหรับทอดถวายแด่พระสงฆ์หน้าหีบศพผู้วายชนม์ในลักษณะแนวขวางทับบนภูษาโยงหรือด้ายสายโยง (สายสิญจน์) ซึ่งโยงมาจากหีบศพของผู้วายชนม์ ภาพของผู้วายชนม์หรือเจดีย์บรรจุอัฐิ เพื่อให้พระสงฆ์ทำการพิจารณาชักผ้าบังสุกุล ซึ่งตามคติความเชื่อของศาสนาพุทธ เชื่อว่าเป็นการบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณและระลึกถึงคุณงามความดีของผู้วายชนม์ในวาระสุดท้ายก่อนจะสลายร่างสรีระสังขารต่อไป

สถานที่ตั้ง
กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ ๔ ฉะเชิงเทรา
ตำบล บางแก้ว อำเภอ เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ ๔ ฉะเชิงเทรา
บุคคลอ้างอิง กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ ๔ ฉะเชิงเทรา
ชื่อที่ทำงาน กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ ๔ ฉะเชิงเทรา
ตำบล บางแก้ว อำเภอ เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่