ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 51' 48.7195"
8.8635332
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 49' 6.5384"
98.8184829
เลขที่ : 198224
โนราห์นันทนาดาราศิลป์
เสนอโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 29 มีนาคม 2567
อนุมัติโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 29 มีนาคม 2567
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
0 80
รายละเอียด

มโนราห์ เป็นศิลปะพื้นถิ่นของภาคใต้ เป็นศิลปชั้นสูง ผู้ที่สืบเชื้อสายจะมีการไหว้ครู เรียก “ไหว้ครูโนรา” หรือโนราโรงครู ปีละครั้ง ในห้วงเดือน ๒ (ยี่) / ๔ / ๖ / ๗ / ๙

คณะโนรานันทนาดาราศิลป์รับงานแสดงทั่วไป งานรำแก้บน รำตัดเหลย

นางนันทนา มีทอง ได้เริ่มฝึกหัดมโนราห์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ด้วยมีใจรักในมโนราห์จึงได้ฝึกหัดกับโนราประสงค์ วิชัยดิษฐ์ ผู้เป็นสามี และเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุซึ่งมีการฝึกรำมโนราห์ เมื่อฝึกหัดมโนราห์ จนสามารถรำได้สวยงามตามบท จึงได้รับงานแสดงในชื่อคณะโนรานันทนาดาราศิลป์ โดยในคณะมีสมาชิก ๘ - ๑๐ คน การรับงานแสดงจะรับในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น พัทลุง กระบี่ โดยจะมีลูกคู่ซึ่งพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่รับงานแสดง

คณะโนรานันทนาดาราศิลป์ ประกอบด้วย

นางรำ๘ - ๑๐ คน ซึ่งนางรำแต่ละคนจะมีชุดแต่งกายของมโนราห์ ประกอบด้วย

๑. เทริด คือ เครื่องสวมศรีษะทรงสูง

๒. ทับทรวง

๓. ประจำยาม

๔. ปีกนกแอ่น (ใช้ร้อยเข้ากับสร้อยสังวาลย์)

๕. ปั้นเหน่ง

๖. กำไลต้นแขนและปลายแขนอย่างละคู่

ลูกคู่ประกอบด้วย ปี่ กลอง กรับ โหม่ง ฉิ่ง (อาจ คีย์บอร์ด)

การแสดงมโนราห์ มีการไหว้ครู การรำ ๑๒ ท่า (ชื่อท่ารำอาจแตกต่างกันไป) ประกอบด้วย ท่าสอดสร้อย ท่าพวงมาลา ท่าขี้หนอนนั่ง ท่าแหงนหน้า ท่าจับเข่า ท่านาฏ ท่าสลับซ้ายขวา จับหน้าท่าจับเข่ายืน ท่าเขาควาย ท่าขี้หนอนยืน ท่ารำจับผ้านาฏ และท่ารำสะบัดแขน

คำสำคัญ
โนรา มโนราห์
หมวดหมู่
ศิลปิน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 92 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล พังกาญจน์ อำเภอ พนม จังหวัด สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางนันทนา มีทอง
เลขที่ 92 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล พังกาญจน์ อำเภอ พนม จังหวัด สุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84250
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่