ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 9° 0' 6.8123"
9.0018923
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 2' 33.9475"
99.0427632
เลขที่ : 198227
หนังขุนพล ขุนคีรี ศ.ศรีพัฒน์
เสนอโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 29 มีนาคม 2567
อนุมัติโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 29 มีนาคม 2567
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
0 73
รายละเอียด

หนังตะลุง เป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ ที่ในสมัยโบราณจะนิยมแสดงในงานต่างๆสร้างความบันเทิงให้กับพี่น้องประชาชนในเวลาที่ว่างเว้นจากงาน และเป็นศิลปะพื้นบ้านที่ต้องให้ความสำคัญและอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้รักษา สืบทอด เพื่อที่จะไม่ให้สูญเสียความเป็นศิลปะท้องถิ่น

หนังขุนพล ขุนคีรี ศ.ศรีพัฒน์ เดิมชื่อ หนังสุวิทย์ ศ.ศรีพัฒน์ เป็นลูกศิษย์ของนายหนังศรีพัฒน์
เกื้อสกุล ศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๖ สาขาศิลปะการแสดง เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๕ ก็ได้ไปทำการเรียนกับนายหนังศรีพัฒน์ และท่านก็ได้ทำการครอบครูหนังตะลุงให้ ทำการฝึกฝนอยู่ ๕ ปี ด้วยความพยายามที่จะ
เรียนรู้ของนายหนังขุนพล ขุนคีรี และบางครั้งนายหนังท่านนี้ ก็สนใจที่จะติดตามนายหนังรุ่นพี่ที่ไปแสดง
ตามที่ต่าง ๆ ไปนั่งหลังนายหนังและอาศัยที่ชื่นชอบในศิลปะการแสดงหนังตะลุง ก็ได้ศึกษาจากหนังสือกลอนวังหน้าบ้าง เรียนรู้จากอาจารย์นายหนังบ้าง จนเห็นว่าสามารถที่จะทำการแสดงให้ประชาชนได้ ก็ได้ทำการแสดงเริ่มออกโรง ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ และก็ทำการแสดงตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีแนวคิดและอุดมการณ์
ให้การสืบทอดวัฒนธรรมไทยและรักษาภาษาถิ่นไม่ให้สูญหาย ปัจจุบันท่านได้รับการแสดงหนังตะลุงแก้บน
ในท้องถิ่น งานบวช งานประจำปีต่างๆ โดยท่านไม่ได้เน้นในเรื่องราคามากนัก แต่จะทำการแสดงในลักษณะ
ของการรักษาสืบทอดมรดกวัฒนธรรมเสียมากกว่านายหนังเล่าว่าจะเริ่มออกลิงหัวค่ำ เป็นธรรมเนียมของหนังในอดีต ต่อด้วยออกฤาษี ออกรูปพระอิศวร หรือรูปโค รูปพระอิศวรของหนังตะลุง ถือเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเทพเจ้าแห่งความบันเทิง
ออกรูปฉะ หรือรูปจับ "ฉะ" หมายถึง การสู้รบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ ออกรูปรายหน้าบทหรือรูปกาศ ปราย หมายถึง อภิปราย กาศ หมายถึง ประกาศ รูปปรายหน้าบท หรือ รูปกาศ หรือ รูปหน้าบท เสมือนเป็นตัวแทนนายหนังตะลุง เป็นรูปชายหนุ่มแต่งกายโอรสเจ้าเมือง มือหน้าเคลื่อนไหวได้ มือทำเป็นพิเศษให้นิ้วมือทั้ง 4 อ้าออกจากนิ้วหัวแม่มือได้ อีกมือหนึ่งงอเกือบตั้งฉาก ติดกับลำตัวถือดอกบัว หรือช่อดอกไม้ หรือธง ออกรูปบอกเรื่อง คือรูปบอกคนดูให้ทราบว่า ในคืนนี้หนังแสดงเรื่องอะไร สมัยที่หนังแสดงเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว ก็ต้องบอกให้ผู้ดูทราบว่าแสดงเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด บอกคณะบอกเค้าเรื่องย่อๆ เพื่อให้ผู้ดูสนใจติดตามดู หนังทั่วไปนิยมใช้รูปนายขวัญเมืองบอกเรื่อง ขับร้องบทเกี้ยวจอ ตั้งนามเมืองหรือตั้งเมือง เริ่มแสดงเป็นเรื่องราว ตั้งนามเมือง เป็นการเปิดเรื่องหรือจับเรื่องที่จะนำแสดงในคืนนั้นต่อไป
หมวดหมู่
ศิลปิน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 76 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
ตำบล ถ้ำสิงขร อำเภอ คีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสุวิทย์ อ่อนหาดพอ
เลขที่ 76 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
ตำบล ถ้ำสิงขร อำเภอ คีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84130
โทรศัพท์ ๐๙๕-๐๑๗๖๔๓๖
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่