ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 53' 6"
8.8850000
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 18' 36"
99.3100000
เลขที่ : 198228
หนังฉัตรชัย ตะลุงลูกทุ่ง
เสนอโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 31 มีนาคม 2567
อนุมัติโดย สุราษฎร์ธานี วันที่ 31 มีนาคม 2567
จังหวัด : สุราษฎร์ธานี
0 83
รายละเอียด

หนังตะลุงเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สำคัญของภาคใต้ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบัน ให้ความบันเทิงและสอดแทรกคติธรรม จริยธรรม จากเหตุการณ์ข่าวสารในปัจจุบัน มีการแต่งเรื่องผูกกลอน คิดบทสนทนาสดๆโดยนายหนังจะแสดงความสามารถที่ถือเป็นอัจฉริยะส่วนตัวนายหนัง นิยมนำมาแสดงในงานบุญประเพณี งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญ การแสดงหนังตะลุงสามารถก่อให้เกิดความรัก ความผูกพันธ์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและยั่งยืน ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ระหว่างชุมชน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น ด้านครอบครัว ได้เรียนรู้สืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ด้านชุมชน การเรียนรู้การแกะรูปหนังตะลุงการถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน มีคุณค่าและประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ในอดีตการแกะรูปหนังตะลุงเพื่อใช้ในการแสดงเท่านั่น ปัจจุบัน การแกะรูปหนังตะลุงมีทั้งแกะสำหรับการแสดงและแกะเพื่อเป็นสินค้าเป็นของที่ระลึกและใช้ประดับตกแต่งสามารถเพิ่มเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

องค์ประกอบของหนังตะลุง ประกอบด้วย

๑.นายหนังตะลุง และลูกคู่ ประมาณ ๙ คน

๒.เครื่องดนตรี ได้แก่ โหม่ง ฉิ่ง กลอง ทับ ปี่(เครื่อง ๕) ปัจจุบันมีการมีการใช้ดนตรีสากลเข้ามาเสริม

๓. จอหนัง ทำด้วยผ้าขาวบาง

๔.โรงหนัง ปลูกแบบยกพื้นสูง ประมาณ ๓ เมตร กว่าง ๓ เมตร มีหลังคาแบบเพิงหมาแหน

๕.รูปหนัง ทำด้วยหนังสัตว์ เช่น หนังวัว หนังควาย หรือ อื่น ๆ

๑. พิธีเบิกโรง จะนำอุปกรณ์การแสดงทั้งหมดขึ้นทางหน้าโรงหนัง ส่วนผู้แสดงขึ้นทางหลังโรงหนัง มีการตั้งเครื่อง และเบิกรูปหนังจัดให้เป็นระเบียบ เจ้าภาพจัดหมากพลู ธูปเทียนและอื่น ๆ ให้นายหนังทำพิธีเบิกโรง

๒. โหมโรง คือการบรรเลงดนตรีก่อนการแสดง นายหนังเป็นผู้ประเดิมในการโหมโรงโดยการ ตีกลองนำลูกคู่

๓.ออกฤษี เป็นตัวแทนครูหนัง

๔.ออกพระอิศวร เป็นตัวแทนเทพเจ้า

๕.ออกรูป (อภิ)ปรายหน้าบท เป็นตัวแทนนายหนัง กล่าวไหว้ครูสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายตลอดจนเจ้าภาพ และผู้ชม

๖.บอกเรื่อง บอกให้ผู้ชมทราบว่าคืนนี้จะแสดงเรื่องอะไร

๗.ตั้งเมือง เป็นการเปิดเรื่องโดยเอารูปเจ้าเมืองอันเป็นเมืองสำคัญของเรื่องแล้วดำเนินเรื่องจนกระทั่งจบ ซึ่งใช้เวลาแสดง ประมาณ ๕ ชั่วโมง(ตั้งแต่เริ่มเบิกโรง)

หนังฉัตรชัย ตะลุงลูกทุ่ง ชื่อนายฉัตรชัย ณะจันทร์ อายุ ๓๕ ปี อาศัยอยู่ที่ บ้านห้วยห้าง ตำบลบ้านนาอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นคนที่มีความชอบในการแสดงหนังตะลุงมาตั้งแต่เด็กๆโดยเริ่มศึกษาการแสดงหนังตะลุงตั้งแต่เรียนระดับประถมศึกษา เรียนรู้การเล่นหนังตะลุงด้วยตนเองจากม้วนเทปคาสเซ็ทของ หนังอาจารย์ณรงค์ ตะลุงบัณฑิต ได้รับการส่งเสริมและฝึกทักษะจากทางโรงเรียน จนมีความรู้ความสามารถในการแสดงหนังตะลุง เริ่มแสดงในกิจกรรมของโรงเรียน และที่ต่าง ๆในนามโรงเรียน “ชื่อหนังฉัตรชัยน้อย ตะลุงประถม”จนเข้าเรียนระดับมัธยมก็ได้รับการส่งเสริมจากโรงเรียนเรื่อยมา และมีการรับแสดงงานนอกโรงเรียนมากขึ้น เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ก็ติดตามไปดูการแสดงของนายหนังตะลุงคณะดังๆในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ ๒ ปี จนได้มารู้จักกับหนังชัยยันต์ ได้ติดตามไปดูการแสดงศึกษารูปแบบ และได้รับคำแนะนำต่างๆ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นหนังฉัตรชัยตะลุงลูกทุ่ง เมื่อมีการแข่งขัน “หนังฤษีทองคำ” ก็เข้าร่วมแข่งขันได้ลำดับที่ ๓ และรับงานแสดงเรื่อยมา จน ในปัจจุบัน ก็ยังมีการแสดง ราคาในการแสดง ประมาณ ๒๐,๐๐๐ - ๒๗,๐๐๐ บาท

นอกจากแสดงหนังตะลุง หนังฉัตรชัย ยังมีความรู้ความสามารถ ในการแกะรูปหนังตะลุงส่งขาย ตามที่ลูกค้าสั่ง ทั้งรูปหนังตะลุงที่ใช้ในการแสดง และรูปหนังตะลุงที่ใช้ประดับตกแต่ง ซึ่งมีความละเอียดสวยงาม ราคาย่อมเยาว์ ตามที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ ยังรับทำเทริดมโนราห์ รูปหน้ากากพราน แผงหนัง กลอง และอื่น ๆ ทั้งงานใหม่และงานซ่อม ซึ่งในปัจจุบันก็มีสั่งมามาก ทั้งในทางเฟสบุ๊ค และบอกต่อๆกันมา

หมวดหมู่
ศิลปิน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 18/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล บ้านนา อำเภอ บ้านนาเดิม จังหวัด สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายฉัตรชัย ณะจันทร์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เลขที่ 18/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล บ้านนา อำเภอ บ้านนาเดิม จังหวัด สุราษฎร์ธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่