ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 21' 7.997"
15.3522214
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 23' 52.2474"
104.3978465
เลขที่ : 198249
เครื่องจักสานไม้ไผ่ (สำหรับประดับตกแต่งขนาดใหญ่)
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 23 เมษายน 2567
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 23 เมษายน 2567
จังหวัด : ยโสธร
0 30
รายละเอียด

เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านหลายอย่าง อาทิ

- สะท้อนให้เห็น ความชาญฉลาดในการเลือกสรรวัตถุดิบที่จะนํามาใช้ทําเครื่องจักสาน ซึ่งชาวบ้านจะมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุดิบแต่ละชนิดเป็นอย่างดีแล้วนํามาดัดแปลงแปรรูปเป็นวัสดุที่ใช้ทําเครื่องจักสานด้วยวิธีง่าย ๆ แต่สนองการใช้สอยได้ดี

- ชาวบ้านสืบทอดรูปแบบลวดลายภูมิปัญญารูปแบบเครื่องจักรสานพื้นบ้านจากความคิดจักสานไม้ไผ่ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน

- บรรพบุรุษชาวอีสาน ยังได้ประดิษฐ์ “ลวดลายสาน”จากความคิดที่ได้จากประสบการณ์มาสร้างจินตนาการ เป็นรูปลายต่าง ๆ โดยอาศัยพื้นฐานเดิมที่มาเป็นหลักในการสานลายที่พัฒนาขึ้นนี้ก็จะมีพื้นฐานจากลายแม่แต่มีลายละเอียดเพิ่มเติม และลักษณะลายแม่ยังปรากฏเด่นอยู่ ตัวอย่างลายเหล่านี้คือ ลายลบน้ำ ลายดีหล่ม ลายดีกระจาย เป็นต้น

- ปัจจุบันเครื่องจักสานเป็นงานศิลปะหัตกรรม ที่ได้มีการพัฒนาต่อยอดรูปแบบผลิตภัณฑ์ ประยุกต์เพิ่มมูลค่า ให้เกิดความทันสมัยเหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย และควบคู่กับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาเครื่องจักสานแบบดั้งเดิมให้คงอยู่กับชุมชนสืบไป

การทำเครื่องจักสานไม้ไผ่ (สำหรับประดับตกแต่งขนาดใหญ่) โดยนายนภา คำหาญ อายุ 46 ปี เริ่มฝึกเรียนการทำเครื่องจักสานแบบอีสาน ตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยฝึกฝนเรียนรู้จากบิดา เนื่องด้วยเป็นคนบ้านฟ้าห่วนมีวิถีชีวิตบ้านติดกับแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ปลาชุกชุม จึงได้ทำเครื่องจักสาน เพื่อใช้ในการจับปลาและเครื่องใช้ในครัวเรือน

แต่ปัจจุบันนอกจากจะทำเครื่องจักรไม้ไผ่ที่ใช้ในครัวเรือนแล้วยังมีการทำเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งปัจจุบัน นายนภา คำหาญ ได้มีแนวคิดนำความสามารถที่ตนมีอยู่ไปพัฒนาต่อยอดเครื่องจักสานไม้ไผ่ประยุกต์ผสมผสานแนวคิดจะทำเครื่องจักรสารให้มีขนาดใหญ่ใช้สำหรับประดับตกแต่ง เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ แต่ยังคงความผสมผสานลวดลาย ปราณีงดงาม โดยไม่ทิ้งเอกลักษณ์ลายสานดังเดิม อาทิ ครอบครัวปลาแข้/ข้องปลา/ไซปลา /เปลนอนชิงช้ารังนก (ทำมาเครือเถาวัลย์)

1.ลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของเครื่องจักสานไม้ไผ่ (สำหรับประดับตกแต่งขนาดใหญ่) นั้นใช้ประโยชน์ได้จริงและลวดลายที่ปราณีตสวยงามโดยไม่ทิ้งเอกลักษณ์ลายสานดังเดิมนำมาประยุกต์ผสมผสาน ให้เกิดเป็นเครื่องจักสานไม้ไผ่ โดดเด่นมีขนาดใหญ่งดงาม สร้างแรงดึงดูดด้วยผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่มีชิ้นเดียว เนื่องจากทุกครั้งที่สานลวดลายจะไม่มีขนาดที่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดความต้องการของ “ผู้สั่งซื้อ”

2.ลวดลายเครื่องจักสาน ใช้สอยทั่วไปในชีวิตประจำวัน (ขนาดปกติ) อาทิ ตะกร้า, ไซ, ข้อง ดังนี้

2.1 ลายสามขึ้นลง : สานตะกร้า : สานขันกะหย่อง

2.2 ลายดีหล่ม: สานฐานท้องตะกร้า

2.3 ลายก้นลิง: สานฐานท้องตะกร้า

2.4 ลายสาม : สานตะกร้า, สานข้อง เล็ก

3.ลวดลายเครื่องจักสาน (สำหรับประดับตกแต่งขนาดใหญ่) วิธีการสานนั้นมีเส้นยืน เส้นขัด ขึ้นโครงร่าง ปรับตามขนาดและเพิ่มจำนวนตอกไม้ไผ่ ให้เหมาะสมตามขนาดของเครื่องจักสาน โดยใช้ลวดลานจักสาน ดังนี้

3.1 ลายตาแหลวมืด : สานพัดใหญ่

3.2 ลายสาม :สานข้อง

3.3 ครอบครัวปลาแข้ : ลายปลอก 5, ลายขัด

3.4.ไซปลา : ลายปลอก 5, ลายขัด

3.5 เปลนอน ใย่ :ลายขัด

3.6 ชิงช้ารังนก (ทำมาเครือเถาวัลย์) ลายขัด ขึ้นรูป ตามที่ประดิษฐ์เป็นรังนก

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 45 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2/บ้านฟ้าห่วน
ตำบล ฟ้าห่วน อำเภอ ค้อวัง จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายนภา คำหาญ
เลขที่ 45 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2/บ้านฟ้าห่วน
ตำบล ฟ้าห่วน อำเภอ ค้อวัง จังหวัด ยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35160
โทรศัพท์ 084-8978862
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่