ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 47' 40.9999"
15.7947222
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 8' 26.0002"
104.1405556
เลขที่ : 198252
ประเพณีบุญสงกรานต์ท้องถิ่นยโสธร
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 23 เมษายน 2567
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 23 เมษายน 2567
จังหวัด : ยโสธร
0 51
รายละเอียด

บุญสงกรานต์ เป็นการทำบุญวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ นิยมทำในเดือนห้าเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 เมษายนถึงวันที่ 15 เมษายน การทำบุญสงกรานต์จะมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำขอพรจากคนเฒ่าคนแก่ที่ตัวเองให้ความเคารพพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ นอกจากนี้ ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตร ทำบุญอัฐิ ก่อพระเจดีย์ทราย และมีการละเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน

นางสงกรานต์ เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ 1 ในทั้งหมด 6 ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศรีษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่

1.นางสงกรานต์ทุงษเทวี

ทุงษเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทัดดอกทับทิม มีปัทมราค (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคืออุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์ครุฑ

2.นางสงกรานต์โคราดเทวี

โคราดเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทัดดอกปีป มีมุกดาหาร (ไข่มุก) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือเตละ (น้ำมัน) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จประทับเหนือพยัคฆ์ (เสือ)

3.นางสงกรานต์รากษสเทวี

รากษสเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทัดดอกบัวหลวง มีโมรา (หิน) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือโลหิต (เลือด) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือวราหะ (หมู)

4.นางสงกรานต์มัณฑาเทวี

มัณฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา มีไพฑูรย์ (พลอยสีเหลืองแกมเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือนมและเนย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ว้ายถือไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)

5.นางสงกรานต์กิริณีเทวี

กิริณีเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทัดดอกมณฑา (ยี่หุบ) มีมรกตเป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือถั่วและงา อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือปืน เสด็จไสยาสน์เหนือปฏษฎางค์ชสาร (ช้าง)

6.นางสงกรานต์กิมิทาเทวี

กิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ดัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือกล้วยและน้ำ อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)

7.นางสงกรานต์มโหทรเทวี

มโหทรเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือเนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)

การทำบุญเดือนห้าหรือบุญสงกรานต์ในท้องถิ่นจังหวัดยโสธรจะกำหนดขึ้นในวันที่ 13 เมษายน โดยเวลาประมาณ 10.00 น. พระสงฆ์ จะตีกลองใบใหญ่ในวัดเพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ญาติโยม ออกมารวมกันที่วัดและนำพระพุทธรูปลงมาประดิษฐานไว้ด้านหน้าศาลา จากนั้นก็จะมีพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และพิธีถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ จากนั้นก็จะจะร่วมกันก่อเจดีย์ทราย พระสงฆ์และชาวบ้านก็จะมาร่วมกัน จัดน้ำอบ น้ำหอม ธูป เทียน ดอกไม้ มาพร้อมกัน แล้วกล่าวคำบูชาอธิษฐาน ขอให้ฟ้าฝนตก ในบ้านเมือง อยู่ร่มเย็น แล้วก็สรงน้ำอบ น้ำหอมให้แก่พระพุทธรูปทั้งหมดที่มีอยู่ในวัด หลังจากนั้นก็สรงน้ำให้แก่พระสงฆ์ อันเป็นเคารพสักการะบูชาของชาวบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นการเคารพท่านจะได้ให้ศีลให้พร ให้เรามีความสุข ความเจริญ และเป็นการต่ออายุของเรา และจะมีการรดน้ำขอพร ปู่ ย่า ตา ยาย หรือครูบา อาจารย์ ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่อันควรในการเคารพสักการะ ของเรา โดยเอาน้ำอบ น้ำหอม ไปสรงท่าน ซึ่งเป็นการสักการะนับคือถึงบุญคุณของท่าน หลังจากนั้นก็เล่นสาดน้ำกันเป็นที่สนุกสนาน

สถานที่ตั้ง
วัดสิงห์ท่า
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดสิงห์ท่า
บุคคลอ้างอิง พระครูอนุรักษ์วรดิตถ์
ชื่อที่ทำงาน วัดสิงห์ท่า
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35000
โทรศัพท์ 045-715137
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่