สาระสำคัญโดยสังเขป:
ลาบเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นเมนูเด่นที่มีประจำอยู่ในร้านอาหารอีสานทั่วไป และหลาย ๆ ร้านก็ถึงกับชูเมนูลาบเป็นจานเด่นที่ตัวเองเชี่ยวชาญ ร้านลาบหลาย ๆ แห่ง จึงมักบอกถึงตำรับที่มาของตัวเอง ทั้งนี้ ก็เพื่อบอกถึงแหล่งที่มาของพ่อค้าแม่ขาย รวมถึงรสชาติที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของทางร้าน อำเภอคำเขื่อนแก้ว มีร้านลาบจำนวนมาก และขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น ร้านออมสินอึ่งเป๊าะ ร้านโกอู๋ ครัวลุงหนวด ร้านยิ่งแซบ สุริยนลาบก้อยที่บ้านชาตะยานนท์ เป็นต้น
ประวัติความเป็นมา:
ในสมัยก่อน ลาบ ถือเป็น “อาหารเลี้ยงแขก” ที่จะได้รับประทานกันเฉพาะในเทศกาลสำคัญหรือโอกาสพิเศษอย่างงานบุญ งานมงคลสมรส งานศพ ซึ่งจะต้องมีการล้มหมู วัว หรือควาย และเป็นอาหารที่เจ้าภาพนิยมจัดให้ลาบเป็นเมนูหลัก ซึ่งยังคงเป็นวัฒนธรรมที่ปรากฏให้เห็นกันอยู่ทั่วไปกระทั่งทุกวันนี้ปัจจุบันร้านอาหารหลาย ๆ ร้าน ชูเมนูลาบเป็นอาหารจานเด่นที่มีตำรับที่มาของตัวเอง เช่น ลาบยโสเป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อบอกถึงแหล่งที่มาของพ่อค้าแม่ขาย รวมถึงรสชาติที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของทางร้าน
ลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงอัตลักษณ์/เอกลักษณ์/ความโดดเด่น:
รสชาติของลาบเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของทางร้านอำเภอคำเขื่อนแก้ว มีร้านลาบจำนวนมาก และขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยมีกระบวนการ และขั้นตอนวิธีการทำลาบ ดังนี้
เครื่องปรุงเนื้อวัวสับละเอียด ๑ ถ้วยตวง ผ้าขี้ริ้ว ตับ ครึ่งถ้วยตวง พริกป่น ๑ ช้อนโต๊ะ ข้าวคั่ว ๒ ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย ๒ ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว ๒ ช้อนโต๊ะ น้ำปลา ๒ ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูดหั่นฝอย ๒ ใบ ใบสระแหน่ ๔-๖ ใบ และผงปรุงรส ๒ ช้อนชา
ขั้นตอนนำเนื้อสับ(ดิบ) และผ้าขี้ริ้วและตับ เข้าด้วยกัน ปรุงด้วย น้ำปลา พริกป่น ข้าวคั่ว หอมแดงซอย ใบมะกรูดหั่นฝอย ผงปรุงรส ถ้าต้องการรสขมจะใช้เพี้ยลงไป จะได้รสชาติออกขมนิดๆ (ถ้าต้องการรสเปรียวใส่น้ำมะนาว) คนให้เข้ากัน รับประทานกับผักสด ถ้าต้องการลาบสุก นำไปคั่วให้สุก รับประทานกับผักสด เช่น ใบมะกอกป่า โหระพา ยอดมะตูม ผักส่องฟ้า สะเดา เป็นต้น
ขั้นตอนและวิธีการทำลาบ ได้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และคิดค้นพัฒนาสูตรรสชาติ เพื่อสนองตอบตามความต้องการของลูกค้า และได้รับความประทับใจในรสชาติ