เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ มีพระครูวิมลขันติธรรม เป็นเจ้าอาวาส เป็นสถานที่ในการจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรม
โครงการลานบุญลานปัญญา การจัดประเพณีท้องถิ่นสุรินทร์ เช่นการก่อเจดีย์ทราย ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น
จากบทความในจารึกและตำนานวัดจุมพล บันทึกโดย: ปแฎงมหาบุญเรือง คัชมาย์
บทความวันที่ : 06/07/2008
ของฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เขียนไว้ว่า
วัดจุมพลสุทธาวาสเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของเมืองสุรินทร์ ที่ตั้งเดิมตั้งอยู่ ในอาณาบริเวณพื้นที่ที่ตั้ง สำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ (เดิมเป็นที่ตั้งสำนักงานศึกษาจังหวัด)ในวัดนี้ มัต้นโพธิ์ใหญ่ ๓ ต้น จึงงตั้งชื่อวัดว่า “วัดโพธิ์” ครั้นย้ายวัดไปอยู่นอกคูเมืองชั้นสองจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า ‘วัดสมอ, ต่อมาในปี พุทธศักราช ๒๔๑๘ สมัยหลวงพ่อทองเป็นเจ้าอาวาส หลังจากย้ายวัดครั้งที่หนึ่งแล้ว เปลี่ยนชื่อเป็น วัดสัตถาชุมพลตามจารึกใต้ฐานพระพุทธรูปที่พบในกุฎีท่านพระครูวิมลขันติธรรม (ศัพท์ว่า สัตถาแปลว่า “พระศาสดา” เป็นวัดมีมาก่อนที่ เชียงปุม จะย้ายที่ตั้งศูนย์การบริหารการปกครองจากบ้านเมืองทีมาอยู่ที่ คูปทายสมันต์ ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๐๖ ( คู = คูน้ำ, ปทาย< บันทาย= ค่าย, สมันตะ = ด่าน หรือที่มั่นรอบนอก)
เมื่อเชียงปุมได้รับพระกรุณาโปรดแกล้า ให้เป็นเจ้าเมืองแล้ว จึงได้ย้ายศูนย์การปกครองมาอยู่ที่คูปทายสมันต์ โดยมาตั้งอยู่ในพื้นที่ ด้านหลังศาลากลางจังหวัด ที่เรียกว่าคุ้มสุรินทร์ภักดีปัจจุบัน และเมื่อย้ายมาแล้ว เห็นว่าจะขยาย บ้านเรือนไม่ได้เพราะด้านทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัด
วัดถูกย้าย: เมื่อเชียงปุม เจ้าเมืองได้ย้ายที่ตั้งศูนย์การปกครองมาตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวแล้วเห็นว่า เป็นที่คับแคบ ขยายบ้านเมืองไม่ได้ จึงให้ย้ายวัดไปอยู่นอกกำแพงเมืองชั้นสองพื้นที่ ที่มีตันโพธิ์ใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งเป็นทุ่งนา ภายหลังที่ดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของตามะยายอูจ บุพการีของนางบด คงทน เลยซอยศรีชุมพลปัจจุบัน (ที่ดินดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ตั้งของชุมชนแต่ก็มีบางแห่ง ชาวบ้านปลูกบ้านแล้วอยู่ไม่เป็นสุข จึงปล่อยเป็นที่รกร้างกล่าวขานกันว่า พื้นที่ดังกล่าวขุดตรงไหนพบแต่กระดูก คงเป็นป่าช้าเก่า )หลายปีต่อมานอกกำแพงเมืองและวัดถูกน้ำท่วม บ่อย ๆ เมื่อหลวงพ่อทอง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกที่ปรากฏมรณภาพแล้ว หลวงพ่อเปาว์ เป็นเจ้าอาวาสวัดต่อมาจึงย้ายวัดจากด้านทิศใต้ มาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันโดยซื้อที่ดินเพิ่มเรื่อย ๆ