ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 40' 57.3895"
13.6826082
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 3' 55.867"
101.0655186
เลขที่ : 29119
กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา
เสนอโดย - วันที่ 1 มกราคม 2553
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 22 มิถุนายน 2555
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
1 2252
รายละเอียด

กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ ต.หน้าเมือง อ.เมืองฉะเชิงเทรา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2497

กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2377 รวมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น 19 ไร่ 2 งาน โดยด้านเหนือยาว 3 เส้น ทางทิศตะวันออกยาว 6 เส้น 10 วา ด้านทิศตะวันตกยาว 6 เส้น 10 วา ด้านหลังกำแพงมีคูน้ำ ด้านบนกำแพงมีปืนใหญ่ จำนวน 5 กระบอก

กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นตามราชโองการของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร) เป็นแม่กองก่อสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา โดยมีพระราชประสงค์จะใช้เมืองฉะเชิงเทราเป็นเมืองเขื่อนขันฑ์ป้องกันข้าศึกรุกราน และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ใช้เป็นที่ตั้งมั่นกองทัพในการปราบกบฏอั้งยี่

ปัจจุบันกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชน และด้านหน้ากำแพงเมือง จัดเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและชมทิวทัศน์แม่น้ำบางปะกง

หมวดหมู่
แหล่งโบราณคดี
สถานที่ตั้ง
กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา
ถนน ถนนมหาจักรพรรดิ์
ตำบล หน้าเมือง อำเภอ เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
เลขที่ 410/1 ถนน มรุพงษ์
ตำบล หน้าเมือง อำเภอ เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24000
โทรศัพท์ 038-535892 โทรสาร 038-535891
เว็บไซต์                            
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
Attapong 26 มกราคม 2556 เวลา 01:02
ผมขออนุญาตใช้ช่องนี้ในการสนทนาในประวัติศาสตร์หน่อยน่ะครับ
ไม่ทราบว่าทางวัฒนธรรมจังหวัด พอมีหลักฐานที่ร่วมสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่เกี่ยวกับชื่อฉะเชิงเทรา นอกจากกฎหมายตราสามดวง ไหมครับ
หากมีช่วยนำมาเผยแผ่ให้เป็นความรู้หน่อยครับ เพราะว่าส่วนตัวผมยังไม่เชื่อว่า คำว่าฉะเชิงเทรา มีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา เพราะว่ายังไม่พบเอกสารที่ร่วมสมัยในขณะนั้น อย่างมากก็แค่ข้อสันนิษฐาน ที่สอนให้เชื่อตามๆ กันมาครับ
กฏหมายตราสามดวง เขียนในสมัยพระบรมไตรก็จริง แต่ก็ถูกชำระและเพิ่มเติมใน ร.1 เหมือนกัน
พระราชพงศาวดารแทบไม่ต้อง กล่าวถึงเลยครับ ถ้าไม่เพิ่งถูกเขียนก็ ถูกชำระขึ้นในสมัยร.1 ราชหัตถ์เลขาก็เพิ่งถูกเขียนตอนสมัย ร.4 แล้วจะให้เชื่ออะไรได้ล่ะครับ
แต่ชื่อ เมืองแปดริ้ว เอกสารที่ร่วมสมัยและเก่าที่สุดคือ แผนที่ ลา ลู แบร์ เชื่อได้ว่าถูกเขียนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่ถูกตีพิมพ์ที่ลอนดอน ในสมัยพระเพทราชา (หาดูได้ที่หนังสือ ประมวลแผนที่โบราณ พิกัส จะอยู่แถวๆ ปากคลองท่าลาด)
ส่วนคำว่าฉะเชิงเทรา จะพบเอกสารที่ร่วมสมัยเก่าสุด คือ ปี พ.ศ.2316 มะเส็งศก หมายรับสั่งจากกรุงเทพ(ธนบุรี)ถึงเมืองปราจีน กับเมืองฉะเชิงเทรา ที่เกี่ยวกับการล้อมจับพม่า 400 คนที่มาตั้งทัพที่ท่ากะเล็ม(ท่ากะเสม?) และอีกฉบับเรื่องเกณฑ์ชาวฉะเชิงเทรา 38 คนไปถากหญ้าที่วัดบางญี่เรือใต้ ปี2319(เนื้อเรื่องเป็นอย่างไรไปหาอ่านกันเอง น่ะครับ)
สันนิษฐานเบี้องต้น มีความเป็นไปได้ว่า เมืองฉะเชิงเทรา น่าจะเพิ่งถูกตั้งในสมัยกรุงธนบุรี โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แม้จะยังไม่มีลายลักษณ์ อักษรที่ชัดเจน แต่หากดูจากเอกสารที่ร่วมสมัยก็น่าจะเป็นไปได้ในระดับหนึ่ง เพราะว่าช่วงจราจลสมัย เมืองแปดริ้วมีพม่าได้เข้ามาตั้งทัพ เป็นไปได้ว่าร้างไปแล้วแต่แค่ช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อพม่ากลับไป และเมื่อพระเจ้าตากยึด เมืองจันทบุรีสำเร็จ หัวเมืองตะวันออกทั้งหมดก็ตกอยู่ในพระราชอำนาจของพระองค์ อย่างสิ้นเชิง(ไทยรบพม่า)ส่วนแปดริ้วน่าจะกลับมาร่วม เมื่อพระองค์ทรงตีเมืองธนบุรีได้สำเร็จ
ส่วนชื่อเมืองแปดริ้วมีมานานแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา อย่างน้อยก็สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช น่าจะเป็นเมืองในน้ำมากกว่าอาศัยบนบก หลักฐานโบราณคดีจึงพบน้อยมาก(เพราะเราไม่เคยดำน้ำหาหลักฐานกันสักที)
ลองสังเกตุดู น่ะครับว่าทำไม เจ้าเมือง ฉะเชิงเทรา ทำไมชื่อพระวิเศษฤาชัย และไม่มีใครเรียกว่า พระฉะเชิงเทรา แต่เมืองปราจีน ตำแหน่งพระอุไทยธานี แต่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า พระปราจีน หรือพระปราจิม จริงไหมครับ
ยังมีเอกสารอีก 2ฉบับเกี่ยวกับคำว่าฉะเชิงเทราที่น่าจะพอเป็นหลักฐานชั้นต้นได้เกี่ยวกับชื่อฉะเชิงเทรา ในช่วงเวลากรุงศรีอยุธยา แต่ยังไม่สามารถทำการสรุปความได้
1.พระราชพงศาวดารปลีก ฉบับหอสมุดพระวชิรญาณ(ไมเคล วิกลี)
กล่าวถึง เมืองฉทิง มีเมืองบางคาง เมืองจันทบูรณ์ ในช่วงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ยังไม่สามารถสรุปได้ ว่าเมืองฉทิง คือฉะเชิงเทรา แค่สันนิษฐาน จากเมืองบางคาง น่าจะเป็นปราจีน)
2.หนังสือตำนานคณะสงฆ์ (กรมพระยาดำรง)
กล่าวว่า เมืองฉะเชิงเทรา เจ้าคณะชั้นพระครู ชื่อพระครูญาณรังศี มุนีวงศา
เป็นเอกสารที่ได้จากเมืองนครศรีธรรมราช เชื่อว่าเขียนในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ตอนจบ กรมพระยาทรงเขียนประมาณว่า ได้เขียนขึ้นด้วยเวลาอันสั้น จึงยังบกพร่องอีกหลาย ส่วน
สรุปว่า ก็ยังสรุปไม่ได้อีกว่าคำว่าฉะเชิงเทรามีมาสมัยไหน ครับ
หากมีข้อมูล เพิ่มเติมอย่างไรช่วยกรุณา รบกวน โพสต์ เพื่อวิชาการ ด้วยน่ะครับ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่