รำหงษ์ทองเป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวไทยรามัญ ในอำเภอสังขละบุรี ซึ่งเป็นการแสดงเลียนแบบท่าท่างของหงษ์ที่แสดงความรักต่อกัน และเนื้อเพลงจะกล่าวถึงความเป็นมาของชนชาติมอญ ที่เจริญรุ่งเรืองในอดีต นอกจากนี้การรำหงส์ทองเป็นการรำตามตำนานของเมืองหงส์สาวดี ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาดินแดนสุวรรณภูมิเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ซึ่งสมัยนั้นน้ำท่วมมีแต่เกาะเล็กๆ พระพุทธองค์ได้มองเห็นเกาะเล็กแห่งหนึ่งโผล่จากผิวน้ำ มีหงส์บินวนเวียนอยู่ เกาะที่โผล่นั้นเล็กมากทำให้หงส์ลงเกาะได้ตัวเดียว หงส์ตัวผู้จึงลงเกาะก่อนแล้วให้หงส์ตัวเมียเกาะบนหลังตัวผู้พระพุทธเจ้าทรงเห็นดังนั้นจึงตรัสกับพระอานนท์ว่าในอนาคตอันไกลเกาะแห่งนี้จะเป็นแผ่นดินที่กว้างใหญ่อันอุดมสมบูรณ์ รุ่งเรืองเป็นเวลานาน ซึ่งต่อมาก็ คือ คนมอญผู้สร้างเมืองหงสาวดี จึงถือหงส์เป็นสัตว์สักดิ์สิทธิ์และสัญลักษ์แห่งความรุ่งเรือง
การรำหงส์ทองจึงเป็นการเล่าเรื่องราวและแสดงความเคารพที่ชาวมอญมีต่ออดีตของตนซึ่งจะนิยมนำไปแสดงทุกงาน การแสดงจะมีอยู่ 4 ประเภท คือ รำหงษ์เดี่ยว รำหงษ์คู่ รำหงษ์หมู่และรำหงษ์วง