ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 25' 42.5438"
13.4284844
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 1' 15.6918"
100.0210255
เลขที่ : 36926
อนุสาวรีย์แฝดสยามอิน-จัน
เสนอโดย - วันที่ 2 มกราคม 2553
อนุมัติโดย สมุทรสงคราม วันที่ 7 ตุลาคม 2555
จังหวัด : สมุทรสงคราม
0 1521
รายละเอียด

อนุสาวรีย์แฝดสยามอิน-จัน

ที่ตั้งตำบลลาดใหญ่ อำเภเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

แฝดสยามอิน-จัน เป็นฝาแฝดที่มีร่างกายท่อนบนติดกัน เกิดที่จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 (ค.ศ. 1811 ) เรื่องราวของแฝดสยามอิน-จัน ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไปทั่วโลกในชื่อ Siamese Twin เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2371-2372 (ค.ศ. 1828-1829) กัปตันคอฟฟินและฮันเตอร์ได้เดินทางมาติดต่อการค้าที่แม่กลอง และได้พบกับฝาแฝดคู่นี้จึงขอนำกลับไปที่ประเทศอเมริกาและอังกฤษ เพื่อเปิดการแสดงในที่ต่างๆ แฝดสยามอิน-จัน สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติยาวนานจนถึงอายุ 63 ปี ปัจจุบันอนุสรณ์สถานแฝดสยามอิน-จัน ตั้งอยู่ตำบลลาดใหญ่ ริมถนนเอกชัย (ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 4 กม.)ภายในบริเวณเป็นลานกว้างประดับด้วยต้นไม้ดอกไม้ อนุสรณ์แฝดสยามอิน-จัน ตั้งอยู่กลางลาน ด้านหน้ามีสระน้ำขนาดใหญ่

นอกจากนี้ยังมีอาคารโถงจัดแสดงชีวประวัติของแฝดสยามอิน-จัน และในอาคารโถงเดียวกันนอกจากชีวประวัติแฝดสยามแล้ว ยังแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็น พิพิธภัณฑ์เรือ รวบรวมเรือพื้นบ้านหลายชนิดมาจัดแสดงไว้เพื่อให้เป็นที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวแม่กลอง

พิพิธภัณฑ์เรือเปิดตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 08.00-12.00 น .

สถานที่ตั้ง
อนุสาวรีย์แฝดสยามอิน-จัน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล ลาดใหญ่ อำเภอ เมืองสมุทรสงคราม จังหวัด สมุทรสงคราม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลลาดใหญ่
ตำบล ลาดใหญ่ อำเภอ เมืองสมุทรสงคราม จังหวัด สมุทรสงคราม รหัสไปรษณีย์ 75000
โทรศัพท์ 034-711264
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/samutsongkhram
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่