ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 53' 35.6698"
16.8932416
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 33' 37.2974"
98.5603604
เลขที่ : 43602
เข่ง_นายยอด แก้วลา
เสนอโดย - วันที่ 2 มกราคม 2553
อนุมัติโดย Takculture วันที่ 2 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ตาก
1 481
รายละเอียด

ประเทศไทยอุดมไปด้วยป่าไม้ จึงมีการนำไม้ไผ่มาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย ทำภาชนะต่างๆ สำหรับใช้ในครัวเรือน เครื่องจักสาน เฟอร์นิเจอร์และกระดาษ ผ่ที่นำมาใช้จัก สานเป็นภาชนะเพื่อการหีบห่อ หรือเรียกว่า “เข่ง” นั้นได้แก่ ไผ่ป่า ไผ่รวก และไผ่สีสุก ส่วนมากเข่งใช้เพื่อ บรรจุผักและผลไม้สด ผลิตผลประมง เครื่องปั้นดินเผา และสินค้าต่างๆ มากมายหลายชนิดเข่งมักมีโครง สร้างไม่แข็งแรง แต่ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย รูปแบบของเข่งจะแตกต่างกันไป บางประเภทใช้เฉพาะในท้องถิ่น แต่ที่ใช้กันแพร่หลายและพบเห็น โดยทั่วไปคือ เข่งปากกว้าง เข่งทรงกระบอก (เข่งลำไย) เข่งกระเทียม เข่งกะหล่ำปลี เข่งผักกาด เป็นต้น วิธีการทำเข่ง ขั้นแรก : เป็นการเลือกไม้ก่อน ไม้ที่ทำจะใช้ไม้ ไผ่บ้าน เพราะมีขนาดใหญ่จักเป็นตอกได้ง่าย อายุไม้ไม่ควรต่ำกว่าหนึ่งปี ยิ่งแก่เท่า ใดยิ่งดี เพราะไม้ที่อ่อนจะทำให้เข่ง ไม่แข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน โดยจะ ตัดเอาส่วนต้น การจักเป็นตอกจะลำบากถ้า เอาส่วนปลายเส้นต้องไม่สม่ำเสมอและไม้มักจะ ปลายด้วน เพราะจักแล้วเส้นตอกมักจะขาดและ ไม่มีแมลงเจาะเพราะไม้ที่มีแมลงเจาะแล้ว เมื่อจักเป็นตอกจะได้เส้นตอกน้อย ขั้นที่สอง : ม้มาตัดเป็นท่อน ๆ ประมาณ 2-3 วาแล้วผ่าซีกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า "จักตอก" โดยการผ่าจากลำต้นไป ทางปลายไม้ให้ได้ขนาดความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร ใช้เป็นส่วนที่ใช้สานเรียก ว่า "ตอกสาน" และแยกทำเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ 1 มิลลิเมตรกว้าง 2 มิลลิเมตร เพื่อใช้สาน ตรงขอบปากเข่งเพิ่มความแข็งแรงอีก 5- 11เส้นเรียก ตอกไพ ตัดไม้ให้ได้ตามความ ยาวอีก 3-4 ศอก แล้วผ่าจักเป็นตอก หนา 1.5 กว้าง 1 เซนติเมตร ใช้เป็นโครงสร้าง ของเข่งเรียกว่า ตอกทางชั่ง ขั้นที่สาม : เริ่มสานโดยใช้ตอกทางชั่ง สานลายขัดจน ได้ขนาดเท่ากับเข่งแม่แบบ แล้วนำไปวาง ไว้ที่ก้นเข่งแม่แบบ แล้วตักตอกให้งอ ไปตามเข่งแม่แบบแล้วใช้ตอกสานโดยสาน ขัดไปเรื่อย ๆ จนเหลือขอบแข่งประมาณ 2 นิ้ว เปลี่ยนมามาใช้ตอกไฟ สานแทนจนถึงขอบ เข่งแล้วหักพับตอกชั่งสอดสานย้อนกลับมา ทางกันเข่งแล้วใช้ตอกสอดทำเป็นหูหิ้ว ทั้งสองข้างจะได้เข่ง 1 ใบเทคนิคการทำ เข่ง จะต้องเลือกไม้ที่ไม่อ่อนจนเกินไป อาจ ใช้ส่วนผิวของไม้ เรียกว่า ติวไม้สานทั้ง หมดเพื่อความแข็งแรง หรือสานเป็นบางส่วนสลับ กันเพื่อลวดลายให้สวยงามน่าใช้ก็ได้ การตลาด ตามปกติแล้วไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากความต้องการ ใช้เข่งยังมีมากส่วนมากจะมีพ่อค้า จากต่างจังหวัดมารับซื้อถึงในหมู่บ้านแล้ว นำออกขายในเมืองบ้าง บางครั้งก็มีหน่วย งานของรัฐจัดหาตลาดให้ และเคยถ่ายโทร ทัศน์ออกรายการสารคดีเพื่อเป็นการโฆษณาว่า หมู่บ้านแห่งนี้มีการผลิตแข่งขายง่ายต่อ การมารับซื้อของผู้ต้องการใช้เข่ง มีการ รวมกลุ่มกันทำเพื่อให้เป็นที่รู้จักตลาด สมมุติถ้าราคาเข่งต่ำก็ลดการผลิตลงโดย การทำอาชีพหลักถ้าราคาดีก็ลดอาชีพหลัก ลงเพื่อการทำเข่งให้มาก หรือกักตุนไว้ ขายในเวลาที่ราคาดี เนื่องจากเข่งสามารถเก็บ ได้นานไม่มีการเน่าเสีย ปัจจุบันราคาเข่งใส่ผลไม้ขายส่งใบละ 13 -14 บาท แต่ถ้าเป็นเข่งชนิดทำด้วยตอก ยังไม้ไผ่ (ติวไผ่) จะมีราคาสูง ใบละ 17 บาท ทั้งนี้เพราะใช้ทนกว่าชนิด ไม้ไผ่ธรรมดา วันหนึ่ง ๆ จะสานช่วงกลางวัน ได้ประมาณ 10 ใบ (ทั้งนี้ต้องมีผู้เหลา ตอกไว้แล้ว) ราคาต้นทุนที่สำคัญ ไม้ไผ่ ซึ่งต้องไปซื้อ ในที่ห่างไกลประมาณ 10-15 ก.ม . ราคาลำละ 30 บาท เมื่อนำมาจักเป็น ตอกจะได้ประมาณลำละ6-7 ใบ ฉะนั้น เข่งแต่ละใบจะมีต้นทุน 5 บาท กำไร 9 บาท วันหนึ่ง ๆ แต่ละคนสามารถทำราย ได้ 90-100 บาท นับว่าเป็นรายได้เสริม ที่น่าสนใจกว่าการออกไปขายแรงงาน ซึ่งเป็นงานขุนดิน แบกหาม เป็นงานหนักกว่า การสานเข่งใส่ผลไม้ อาชีพสานเข่งในหมู่บ้านดังกล่าวเป็นที่น่า สนใจเพราะสามารถช่วยกันทำได้ทุกคนใน ครัวเรือน ในฤดูทำนาเมื่อมีเวลาว่างจะ ทำเข่งขายแม่ค้าผลไม้ ส่วนในฤดูแล้ง ช่วงมะเขือเทศออกผลจะมีพ่อค้ามาเร่ง ซื้อบางคนนำเงินมาวางมัดจำไว้ก่อน รับสินค้า ซึ่งเป็นหัตถกรรมในครัวเรือนที่น่า ส่งเสริม การประยุกต์ใช้ หัตถกรรมการสานเข่งด้วยไม้ไผ่นับวันจะมี ปัญหาจากคู่แข่งมากขึ้น หากผลิตภัณฑ์เข่งพลาสติก ราคาถูก ตอกพลาสติกราคาถูก เข่งไม้ไผ่อาจสูญ ไปตามลำดับ

คำสำคัญ
เข่ง แม่ระมาด
สถานที่ตั้ง
บ้านแม่จะเรา
เลขที่ 219 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 ซอย - ถนน -
ตำบล แม่จะเรา อำเภอ แม่ระมาด จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเติม ปัญญารินทร์
ชื่อที่ทำงาน เทศบาลตำบลแม่จะเรา
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล แม่จะเรา อำเภอ แม่ระมาด จังหวัด ตาก รหัสไปรษณีย์ 63140
โทรศัพท์ 055581119 โทรสาร 055585249
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่