ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 20° 20' 20.7506"
20.3390974
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 0' 10.755"
100.0029875
เลขที่ : 48095
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง้
เสนอโดย admin group วันที่ 21 มีนาคม 2554
อนุมัติโดย sirirat_admin วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : เชียงราย
0 1133
รายละเอียด
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2521 เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านดอยสะโงะ ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากจน การคมนาคมไม่สะดวกในขณะนั้น โดยทางจังหวัดเชียงรายได้กันพื้นที่ ประมาณ 9,000 ไร่ ในการปรับเป็นพื้นที่จัดสรรทำกินและถ่ายทอดวิทยาการเกษตรแผนใหม่ให้แก่ชาวบ้าน ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าอาข่า ไทลื้อ และคนพื้นเมือง 1.เพื่อทดสอบและสาธิตการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์และประมง 2.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร 3.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ราษฎรให้มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพและตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร 4.เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.เพื่อเป็นศูนย์ฝึกงานของนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ที่เข้าไปพัฒนาชุมชนชาวเขาบ้านดอยสะโงะ และชุมชนใกล้เคียง 1.ช่วยเหลือชาวเขาให้ช่วยเหลือตัวเองได้ 2.ลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ แหล่งต้นน้ำลำธาร 3.กำจัดการปลูกพืชเสพติด 4.พัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษา ประวัติความเป็นมา สะโงะเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2513 ในรูปของงานอาสาพัฒนาชาวเขาตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งดำเนินงานโดยมูลนิธิโครงการหลวง และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เนื่องจากในขณะนั้นการคมนาคมไม่สะดวก อาจารย์และเจ้าหน้าที่ต้องเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ในลักษณะของการเยี่ยมเยียนวันอาทิตย์ เดือนละหนึ่งครั้งไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำทำให้การส่งเสริมไม่สามารถกรทำได้อย่างเต็มที่ ปี 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ทรงมีพระราชดำริกับหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยพัฒนามากขึ้น และได้ทรงมีพระราชดำริ ให้หาทางช่วยเหลือชาวบ้านดอยสะโงะซึ่งยังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากจน จึงจัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ” ขึ้น สภาพโดยทั่วไป ขนาดและที่ตั้ง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ ตั้งอยู่ที่บ้านสะโงะ หมู่ที่ 7 ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พิกัด E608053 N2250027 มีพื้นที่รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน พื้นที่ 44.66 ตารางกิโลเมตร (23,750 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ภูเขาลูกคลื่น มีความลาดชันตั้งแต่ 12 เปอร์เซนต์ ขึ้นไป ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 400-700 เมตร ลักษณะดิน เป็นดินร่วนเหนียว ดินเหนียว และดินเหนียวปนทราย มีดินลูกรังเป็นบางพื้นที่ มีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.8 ลักษณะภูมิอากาศ 1) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,600 มิลลิเมตร/ปี โดยเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม โดยจะตกชุกในช่วงเดือนกรกฎาคม 2) อุณหภูมิ อุณหภูมิสูงสุด 36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 6.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส 3) ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยประมาณ 68 เปอร์เซ็นต์ แหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญคือ บ้านสะโงะ 1) ห้วยหมาตาย 2) ห้วยผาลาด บ้านเวียงแก้ว 1) น้ำแม่มะ 2) แม่น้ำรวก 3) หนองแดง บ้านวังลาว 1) แม่น้ำรวก 2) อ่างเก็บน้ำห้วยพร้าฟาด 3) อ่างเก็บน้ำห้วยปูเฟือง 4) สระเก็บน้ำหนองห้วยไซ บ้านแม่มะ 1) น้ำแม่มะ 2) อ่างเก็บน้ำห้วยม่วง การคมนาคม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ อยู่ห่างจาก สำนักงานมูลนิธิโครงการหลวงประมาณ 230 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางเชียงใหม่-อ.ดอยสะเก็ด อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย อ.เชียงแสน ศูนย์ฯ สะโงะ ซึ่งเป็นถนนลาดยาง 285 กิโลเมตร และเป็นถนนลูกรัง 6 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง - เส้นทางจากศูนย์ฯ สะโงะ ถึงอำเภอเชียงแสน ระยะทาง 14 กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง 6 กิโลเมตร และถนนลาดยาง 8 กิโลเมตร - ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม หมู่บ้านและชนเผ่า ชื่อกลุ่มบ้าน หมู่ที่ เผ่า ป่าไม้ 1 คนเมือง วังลชื่อกลุ่มบ้าน หมู่ที่ เผ่าคนเมือง ดอยสะโงะ 7 อาข่า การประกอบอาชีพ ราษฎรส่วนใหญ่ในพื้นที่ศูนย์ฯ สะโงะ ประกอบอาชีพการเกษตรร้อยละ 80.90 พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วลิสง ไม้ผลที่ปลูกได้แก่ ส้ม ส้มโอ ไม้ดอกที่ปลูกได้แก่ ดอกเบญจมาศ และหน้าวัว อาชีพนอกการเกษตรคือ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 5.9 ส่วนใหญ่ไปรับจ้างเป็นแรงงานในการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตร พืชผักและพืชสมุนไพร ได้แก่ ข้าวโพดหวาน 2 สี, ฟักทองญี่ปุ่น, ถั่วแขก ฟักทองสีส้ม, ดอกคาร์โมมาย มีพื้นที่ปลูกผักรวม 22 ไร่ เกษตรกรได้รับการส่งเสริม 33 ครัวเรือน ไม้ผล ได้แก่ มะม่วง สับปะรด ส้มโอ และส้ม มีพื้นที่ปลูกไม้ผลรวม 120 ไร่ เกษตรกรได้รับการส่งเสริม 41 ครัวเรือน พืชไร่ ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวนาบนที่สูงและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ปลูกพืชไร่รวม 608 ไร่ เกษตรกรได้รับการส่งเสริม 110 ครัวเรือน ไม้ดอก ได้แก่ ดอกหน้าวัว เแลวเทียน ดอกขิงแดง ชมพู ดอกเบญจมาศ และไผ่ฟิลิปปินส์ มีพื้นที่ปลูกพืชไร่รวม 7.69 ไร่ เกษตรกรได้รับการส่งเสริม 26 ครัวเรือน ปศุสัตว์ ได้แก่ แพะ สุกร ไก่ วัว เกษตรกรได้รับการส่งเสริม 198 ครัวเรือน แหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวการเกษตร ได้แก่ สวนส้ม อยู่ในพื้นที่ศูนย์ฯ สวนสมุนไพรคาร์โมมาย (ฤดูหนาว) แปลงดอกไม้ ไม้ดอกที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หน้าวัว ขิงแดง และเบญจมาศ ไร่ข้าวโพดหวาน ตั้งอยู่บริเวณไหล่เขารอบๆ ศูนย์ฯ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ดูนก วิวสามเหลี่ยมน้ำโขง แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โบราณสถาน ได้แก่ พระธาตุสามมุมเมือง พระธาตุนางคอย พระธาตุดอยเวาคูน้ำคันดิน บ่อล้างทอง และเชียงแสนเมืองโบราณ ประเพณีโล้ชิงช้าของชนเผ่าอาข่า ประเพณีชนไข่ เป็นประเพณีการละเล่นและบูชาบรรพบุรุษ หัตถกรรมประจำถิ่น ได้แก่ การทำกระเป๋า หมวก เข็มขัด และชุดประจำ ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่น ได้แก่ น้ำพริกดอกรสแซ่บแกล้มผักต้มผักนึ่ง หมอสมุนไพร ซึ่งมีความรู้ด้านสมุนไพรและการนวดจับเส้นที่สืบทอดกันมาช้านาน การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะโง๊ะ เริ่มต้นในรูปของงานอาสาพัฒนาชาวเขา ตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แต่เนื่องจากการคมนาคมที่ไม่สะดวก เจ้าหน้าที่ต้องเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์เพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น เมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำงานส่งเสริมของศูนย์จึงไม่เต็มประสิทธิภาพนัก จนปี พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่และทรงมีพระราชดำรัสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลช่วยเหลือชาวบ้านดอยสะโง๊ะ ให้มากขึ้น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยสะโง๊ะจึงก่อกำเนิด ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยสะโง๊ะ ตั้งอยู่บ้านดอยสะโง๊ะ รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน 643 หลังคาเรือน ประชากร 2,672 คน ในพื้นที่ 38 ตารางกิโลเมตร หรือ 23,750 ไร่ มีทั้งเผ่าอีก้อ ไทลื้อ คนเมือง และไทยลื้ออยู่ในดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาลูกคลื่น ลาดชันปานกลางสูงจาก ระดับน้ำทะเล 400-700 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส (ในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 5 องศาเซลเซียส) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,200 มิลิเมตรต่อปี แหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเยี่ยมกิจกรรมของศูนย์ฯ ชมแปลงสาธิต พืชผัก ไม้ดอก ไม้ผล และสมุนไพรและแปลงของเกษตรกร เช่น ไร่ส้ม ไร่ข้าวโพดหวาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางโบราณประวัติศาสตร์ เที่ยวชมดอยตำนานประวัติศาสตร์ดอยช้าง ดอยงู ร่องรอยป้อมปราการสมัยโบราณบนยอดดอย วิวดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ วิวเทือกเขาดอยนางนอน ชมภูเขาล้างทองบ่อที่ตำนานเก่าแก่สมัยโบราณที่บ้านเขาสะโงะ ชมทะเลหมอกในยามเช้า วิวสายน้ำโขง ประเทศลาวและพระธาตุเขานางคอย ลงเรือชมน้ำโขงประเทศพม่าและประเทศลาว แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองที่นับถือพุทธศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของอาข่าและศึกษาพิพิธภัณฑ์อาข่าประเพณีปีใหม่ (กินวอ) พิธีกรรมไล่ผีร้าย งานศิลปะการเย็บผ้าอาข่า งานฝีมือของที่ระลึกต่างๆ ชมพิพิธภัณฑ์อาข่า และหัตถกรรมชาวบ้าน อาทิ กระเป๋า หมวก ชุดประจำเผ่า ที่พัก + ร้านอาหาร - บ้านพักรับรองภายในศูนย์ จำนวน 2 หลัง รองรับได้หลังละ 16 คน ราคาหลังละ 1,000 บาท - เต็นท์บริการ ขนาด 2 คน ราคา 100 บาท/หลัง/คืน ถุงนอน 50 บาท/ถุง/คน กรณีนำเต็นท์ไปเองคิดค่าบริการพื้นที่ 50 บาท/คน/คืน - ภายในศูนย์ ไม่มีบริการ แต่มีแม่ครัวบริการปรุงอาหาร (กรุณาแจ้งล่วงหน้า 1 วัน) การเดินทาง จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้ทางหลวงหมายเลข 118 สายเชียงใหม่-เชียงราย ผ่านอำเภอดอยสะเก็ด-เวียงป่าเป้า-แม่สรวย เข้าทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภอเมืองเชียงราย เลี้ยวขวาเข้าที่อำแม่จัน ตามทางหลวงหมายเลข 1016 กระทั่งถึงอำเภอเชียงแสน ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1209 ผ่านสามเหลี่ยมทองคำ ถึงกม.18 เลี้ยวซ้าย 6 กม. ระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ถึงศูนย์ฯประมาณ 265 กม. หากมาจากกรุงเทพฯ สามารถให้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 มุ่งหน้าสู่จังหวัดเชียงราย งานส่งเสริมอาชีพการเกษตร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของชาวไทยภูเขา เผ่าอีก้อ ณ หมู่บ้านดอยสะโงะ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดกับชายแดน ประเทศลาวและสหภาพพม่า เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2513 ในรูปของงานอาสาพัฒนาชาวเขา ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งดำเนินงานโดยมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (ชื่อของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในสมัยนั้น) .............เนื่องจากในขณะนั้นการคมนาคมไม่สะดวก อาจารย์และเจ้าหน้าที่ต้องเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ในลักษณะของการเยี่ยมเยียนวันอาทิตย์ เดือนละหนึ่งครั้งไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำ ทำให้การส่ง เสริมไม่สามารถกระทำได้อย่างเต็มที่ .............ปี 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ ทรงมีพระราชดำริกับหม่อมเจ้าภีศเดชรัชนี ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยพัฒนามากขึ้น และได้ทรงมีพระราชดำริอีกครั้ง เมื่อปี 2522 ให้หาทางช่วยเหลือชาวบ้านดอยสะโงะ ซึ่งยังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากจน “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ” จึงจัดตั้งขึ้นในปี 2522 โดยจังหวัดเชียงราย ได้กันพื้นที่สำหรับดำเนินงานของโครงการ ประมาณ 9,000 ไร่ และสำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 6 จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานชลประทาน จังหวัดเชียงราย ดำเนินการปรับพื้นที่จัดสรรพื้นที่ทำกิน สร้างอ่างเก็บน้ำไว้ตามจุดต่าง ๆ และจัดทำระบบการชลประทานให้แก่เกษตรกร โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้ประสานงาน
สถานที่ตั้ง
บ้านสะโง้
หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล ศรีดอนมูล อำเภอ เชียงแสน จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสาวทัศนีย์ ดอนเนตร
บุคคลอ้างอิง นายจิรัฐ มอนะ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย อีเมล์ chiangrai@m_culture.go.th
เลขที่ ๖๒๓ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล ริมกก อำเภอ เมืองเชียงราย จังหวัด เชียงราย
โทรศัพท์ ๐๕๓-๑๕๐๑๖๙ โทรสาร ๐๕๒-๑๕๐๑๗๐
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/chiangrai/v2010/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่