ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 48849
กะเหรี่ยงบ้านป่าละอู
เสนอโดย admin group วันที่ 24 มีนาคม 2554
อนุมัติโดย mculture วันที่ 1 เมษายน 2559
จังหวัด : ประจวบคีรีขันธ์
0 1178
รายละเอียด

เผ่ากะเหรี่ยง (ปากะญอ) บ้านป่าละอูที่ตั้งหมู่ 3 บ้านป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประวัติความเป็นมาชุมชนป่าละอูเป็นชุมชนที่ค่อนข้างกว้าง โดยมีจุดศูนย์กลางที่บริเวณหมู่ที่ 3 บ้านป่าละอู โดยมีบริเวณรอบนอกที่มีการเคลื่อนที่ไปมาในบริเวณลุ่มน้ำสะตือบนและล่าง กะเหรี่ยงเรียกว่า “กะตือหล่อ” หรือ “กะตือคี้” หรือ “กะตือนี” แปลว่า ลุ่มน้ำกะตือ หรือต้นน้ำกะตือ หรือปลายน้ำกะตือ พื้นที่นี้กะเหรี่ยงจะไปทำไร่ ไปอยู่อาศัยชั่วคราว จากนั้นก็จะกลับมาอยู่รวมกันที่บ้านป่าละอู ที่ยังเหลือหลักฐานคือ บริเวณห้วยขนุน ยังเหลือต้นขนุนที่มีอายุหลายสิบปี ตรงจุดนี้กะเหรี่ยงเรียกว่า “ค้อซู้หล่อ” แปลว่า ลุ่มน้ำต้นยาง บริเวณ “เลอมือพู้หล่อ” แปลว่า ห้วยผาน้อย แต่ก่อนบริเวณนี้เป็นแนวเส้นทางคนเดินทางข้ามไปฝั่งพม่า เพื่อข้ามไปสู่บ้าน “สะเก็ด” ในฝั่งพม่า ในปัจจุบันก็ยังใช้เดินทางในบางโอกาส มีหลักฐานเหลือที่บริเวณที่เรียกว่า “พื้อมู้แซ” แปลว่า สวนหมาก “ปู่มู้” หมายถึง บริเวณนี้เป็นสวนหมากเก่าของปู่มู้ ยังมีต้นขนุนต้นใหญ่ขนาดสามคนโอบสูงเสียดฟ้า บริเวณหัวน้ำตกป่าละอู เรียกว่า “พื้อน้ากู่ซี่” แปลว่า ไร่ซากปู่น้ากู่ มีแต่เรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ปู่น้ากู้ได้มาทำไร่ที่นี่แล้วจากไป ใครจะมาตัดใบตะคร้อที่นี่ไม่รู้จะเรียกชื่อพื้นที่อย่างไร ก็จะบอกกันว่าไปที่ไร่ซากปู่น้ากู้จนถึงทุกวันนี้ บริเวณบ้านป่าละอูน้อย จุดนี้เป็นที่อยู่เก่าแก่ของชุมชนป่าละอูอีกแห่งหนึ่งที่มีคนกะเหรี่ยงได้ตั้งรกรากอยู่อาศัยเก่าแก่มานาน หลักฐานที่ยังพอเหลืออยู่คือ ต้นมะม่วงอายุร้อยปี ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีวิถีชีวิตการประกอบอาชีพทำไร่ ปลูกข้าว โดยในไร่ข้าวก็จะมี งา แง ยาสูบ เผือก มัน อ้อย กล้วย ถั่ว ฟัก แฟง บวบ ฟักทอง ผักต่าง ๆ อีกหลายชนิดที่อยู่อาศัยสร้างบ้านลักษณะเป็นกระท่อมไม้ไผ่ศาสนาโดยความจริงแล้วแม้จะบอกว่าไหว้พระนับถือศาสนาพุทธ แต่จะไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับศาสนาพุทธมากนัก โดยหลักๆ แล้วจะมีพิธีกรรมทางศาสนาของตนเองเป็นลัทธิประเพณีทางความเชื่อบางอย่างที่กลมกลืนไปกับศาสนาพุทธได้ไม่ขัดกัน มีการล่าสัตว์เป็นบางครั้ง บางคนมีความเชี่ยวชาญในการตีผึ้งบนต้นไม้สูง มีการจักสานผลิตเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างใช้เอง มีการค้าขายกับคนภายนอกบ้างเล็กน้อย นิสัยรักสันโดษ ไม่ชอบความวุ่นวาย หากมีเรื่องวุ่นวายก็จะพยายามหลีกหนี มีความซื่อสัตย์ต่อผู้มีพระคุณ ชาวกะเหรี่ยงในชุมชนบ้านป่าละอูทุกคนมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ไทยอย่างจริงจัง เนื่องจากมีความผูกพันกับเชื้อพระวงศ์มาพอสมควร เช่น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล ที่นำชาวกะเหรี่ยงป่าละอูไปอุปการะ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงขอเด็กกะเหรี่ยงป่าละอูไปอุปถัมป์ กะเหรี่ยงแถบนี้มีความเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ไทย 2 รูป คือ เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวันได้ให้ความช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยงป่าละอู และป่าเด็ง จนนำมาซึ่งนามสกุล จันทร์อุปถัมป์ เนื่องจากตัวท่านเป็นที่รู้จักในชื่อเรียกว่า หลวงพ่อจันทร์ ส่วนอีกรูปหนึ่ง คือ หลวงพ่อแก้ว วัดนาห้วย ท่านจะให้ความช่วยเหลือเด็กกะเหรี่ยงในเขตอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนนำมาซึ่งนามสกุลแสงกล้า และ แก้วช่วยชุบภูมิปัญญาพื้นบ้านมีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าด้วยกี่เอว ซึ่งมีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และการร้อยลูกปัดคอภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในกลุ่มชนใช้ภาษากะหร่างเป็นหลัก (มักเข้าใจผิดว่าเป็นภาษากะเหรี่ยง)แต่ก็จะมีหลายคนที่สามารถใช้ภาษากะเหรี่ยงที่มาจากจังหวัดเพชรบุรีได้

หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
บ้านป่าละอู
หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล ห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอ หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่
บุคคลอ้างอิง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่
ชื่อที่ทำงาน องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่
ตำบล ห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอ หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์ 77110
โทรศัพท์ 08-1880-5025
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่