ประวัติความเป็นมาของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น นาซิดาแฆ เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ ซึ่งนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย คำว่า “นาซิดาแฆ” มีหลายความหมาย หมายถึง ข้าวสำหรับคนอนาถา การได้ชื่อเช่นนี้สืบเนื่องมาจากส่วนประกอบสำคัญของนาซิดาแฆเป็นส่วนผสมระหว่างข้าวจ้าวกับข้าวเหนียว ผู้มีรายได้น้อยถ้ามีข้าวจ้าวกับข้าวเหนียวเพียงบางส่วนก็สามารถนำมาปนกันทำเป็นอาหารได้แล้ว อีกในความหมายอื่น คำว่า “ดาแฆ” มาจาก ดาฆัง ในภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า หาบ ดังนั้นนาซิดาแฆจึงแปลว่าข้าวหาบ และเนื่องจาก “ดาแฆ” ของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ หมายถึงคนต่างถิ่น ดังนั้น นาซิดาแฆ จึงหมายถึงข้าวของคนต่างถิ่น คือเป็นข้าวที่ชาวอินโดนีเซียเป็นผู้นำมาเผยแพร่ในแถบนี้ นาซิดาแฆ เรียกเป็นภาษาไทยให้ใกล้เคียงได้ว่า “ข้าวมันแกงไก่” เป็นอาหารที่ชาวมุสลิมปักษ์ใต้ที่นิยมรับประทานกันโดยเฉพาะมือเช้า เป็นอาหารที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง นาซิดาแฆเป็นอาหารพื้นบ้านของคนสมัยก่อนที่สืบทอดกันมา ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วนาซิดาแฆจะนิยมใช้ในประเพณีต่างๆ เช่น วันฮารีรายอ งานแต่งงาน งานเมาลิด หรืองานประเพณีต่างๆ ในศาสนาอิสลาม รวมทั้งเป็นอาหารไว้กินในเวลาว่างและตอนเช้าๆ