ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 42' 58.2221"
16.7161728
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 34' 39.3456"
98.5775960
เลขที่ : 49886
พระสมัครสรรพการ
เสนอโดย Manop Chuenphakdi วันที่ 31 มีนาคม 2554
อนุมัติโดย Takculture วันที่ 31 มีนาคม 2554
จังหวัด : ตาก
0 2496
รายละเอียด
พระสมัครสรรพการ นายอำเภอ ๒ สมัย และนายกเทศมนตรี ๒ สมัย พระสมัครสรรพการ (ช่วง ทัศนียานนท์) เป็นบุตรของ หลวงบำรุงอุทัยสถาน (พลอย ทัศนียานนท์) ต้นตระกูลทัศนียานนท์ ซึ่งได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๔๕๗ สมรสกับ นางสาวฟู อัมนะเศวต บุตรี พระยาชัยนฤนาถ ผู้ว่าราชการเมืองชัยนาท มีบุตรรวมกัน ๑๑ คน เสียชีวิตแต่วัยเยาว์ ๒ คน เมื่อจบการศึกษาระดับชั้นประโยคแล้ว พระสมัครสรรพการ ได้สมัครเข้ารับราชการเป็น สมียนมหาดไทย ได้เป็นเสมียนตรา อักษรเลขเมืองอุทัยธานี เตามลำดับ ด้วยความเป็นผู้ขยันขันแข็งในการทำงาน มีความกระตือรือร้น และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จึงได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไป จนได้บรรดาศักดิ์เป็น ขุนสมัครสรรพการ และได้รับการแต่งตั้ให้ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอแม่สอด เป็นครั้งแรก ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๖๗ เป็นนายอำเภอชายแดนติดกับประเทศพม่า มีแม่น้ำเมยเป็นเส้นกั้นพรมแดน การเดินทางไปอำเภอแม่สอดในสมัยนั้น ต้องเดินด้วยเท้า หรือใช้ช้าง ม้า เป็นพาหนะ เดินทางนานถึง ๔ - ๖ วัน โดยผ่านเทือกเขาถนนธงชัยจากเมืองตากไปทางทิศตะวันตก พ.ศ. ๒๔๖๗ - ๒๔๖๙ พระสมัครสรรพการ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอพยุหะคีรี เมืองนครสวรรค์ พร้อมกับย้ายมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอแม่สอด อีกครั้งหนึ่ง ด้วยแม่สอดเป็นด่านติดต่อค้าขายกับอังกฤษ ซึ่งปกครองพม่าในขณะนั้น การเจรจาในเรื่องต่าง ๆ ต้องอยู่ในระดับของเจ้าเมืองที่เสมอกัน ประกอบกับการเดินทางระหว่างตาก - แม่สอด ลำบากมาก ทางราชการจึงเลื่อนตำแหน่งนายอำเภอ เป็น ผู้ว่าราชการอำเภอ เทียบเท่าผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านได้เดินทางไปเจรจากับฝ่ายอังกฤษหลายครั้งที่เมืองกรุกกริก ประเทศพม่า ในฐานะ ผู้ว่าราชการอำเภอแม่สอด(Governor) การเจรจาสำเร็จไปด้วยดีทุกครั้ง นับว่าท่านเป็นผู้ว่าราชการอำเภอแม่สอดคนแรก และคนเดียวเท่านั้น เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทางราชการให้ยกเลิกตำแหน่งผู้ว่าราชการอำเภอ พระสมัคสรรพการ จึงกลับมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอแม่สอเหมือนเดิม ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งนายอำเภอแม่สอด ทั้ง ๒ สมัยนั้น พระสมัครสรรพการ ได้พยายามสร้างความเจริญในด้านต่าง ๆ ให้แก่ท้องถิ่น เช่น สร้างถนนไปยังตำบลต่าง ๆ ให้ความสะดวกในการสัญจรแก่ราษฎร ออกเยี่ยมเยือนราษฎรตลอดเวลา โดยใช้ม้าเป็นพาหนะ จึงทำให้ใกล้ชิดกับราษฎร รู้ถึงความเป็นอยู่และความต้องการของราษฎรเป็นอย่างดี จึงพยายามสร้างและสร่งเสริมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ท่านพยายามส่งเสริมให้ราษฎรได้รับการศึกษามากขึ้น ในสมัยนั้น นักเรียนที่ต้องการศึกษาให้สูงขึ้น ในระดับมัธยมศึกษา ต้องเดินทางไปที่จังหวัดตากหรือจังหวัดอื่น ท่านจึงดำเนินการของบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ มาสร้างอาคารเรียนถาวรในที่ราชพัสดุ ริมถนนประสาทวิถี (ที่ตั้งโรงเรียนสรรพวิทยาคม ในปัจจุบัน) ขยายการสอนให้ถึงระดับมัธยมปลาย ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ ทำให้การศึกษาของอำเภอแม่สอด เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับที่อื่น ๆ ชาวอำเภอแม่สอด จึงให้เกียรติและยกย่องท่าน ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำภอแม่สอด โดยขออนุญาตตั้งชื่อโรงเรียนตามราชทินนามของท่านว่า โรงเรียนสรรพวิทยาคม ลูกหลานของท่านส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนนี้ และสืบทอดเจตนารมณ์ในด้านการศึกษาของท่าน คือ จะตั้งใจเรียนจนมีคะแนนสอบเป็นที่ ๑ ของโรงเรียนในแต่ละปีการศึกษาถึง ๖ คน นอกจากนั้น นายพนัส ทัศนียานนท์ หลานชายได้รับเลือกให้เป็น สสร. (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ) จังหวัดตาก และเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก นางสาวนิพพาดา เรือนแก้ว (เหลน) ได้รับเหรียญเงินในการแข่งขันชีวโอลิมปิค ที่ประเทศเชคโกสโลวะเกีย (ปัจจุบันเป็นสาธารณรัฐเช็ค และสาธารณรัฐสโลวัก) และได้รับทุนการศึกษาจาก พสวท. เรียนถึงระดับปริญญาเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นเกียรติประวัติแก่ท่าน ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเรื่องการศึกษา พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๘ พระสมัครสรรพการ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น นายกเทศมนตรีตำบลแม่สอด ถึง ๒ สมัย ท่านได้ทำนุบำรุงท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ในด้านการสร้างถนนติดต่อกับตำบลต่าง ๆ รอบเทศบาล เช่น ถนนไปยังตำบลแม่ตาว ตำบลท่าสายลวด ตำบลแม่ปะ เป็นผลให้เศรษฐกิจของอำเภอแม่สอดเจริญขึ้นเป็นอันมาก ความเป็นอยู่ของประชากรดีขึ้น ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ คณะครู นักเรียน และประชาชนอำเภอแม่สอด รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกคร้องท้องถิ่น ได้จัดสร้างรูปปั้น พระสมัครสรรพการ และจัดตั้งไว้หน้าหอประชุม เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้ครู อาจารย์ นักเรียน และชาวแม่สอดได้รู้จักและรำลึกถึงท่าน พระสมัครสรรพการ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอแม่สอด มานพ ชื่นภักดิ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ อ้างอิง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัดตาก., ๒๕๔๔.
สถานที่ตั้ง
รูปปั้นพระสมัครสรรพการ
ถนน ประสาทวิถี
อำเภอ เมืองตาก จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดตาก
บุคคลอ้างอิง มานพ ชื่นภักดิ์ อีเมล์ nantana2009@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก อีเมล์ takculture@gmail.com
ถนน พหลโยธิน
ตำบล หนองหลวง อำเภอ เมืองตาก จังหวัด ตาก รหัสไปรษณีย์ 63000
โทรศัพท์ 055517722 โทรสาร 055517646
เว็บไซต์ www.takculture.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่