ฝาขัดแตะชื่อผู้สร้างผลงาน : บ้านค่ายรวมมิตร ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง และบ้านสะพานวา ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ชื่อผลงาน : ฝาขัดแตะ
การทำฝาขัดแตะเป็นงานจักสานที่ต้องคำนึงถึงเรื่องความแข็งแรงทนทาน อีกทั้งต้องมีความสวยงามด้วย ไม้ไผ่ที่เหมาะสมที่สุดในการทำฝาขัดแตะไม้ไผ่ คือ ไม้ผาก ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ถ้าแก่เกินไปจะเปราะ อ่อนเกินไปจะไม่แข็งแรง
การเตรียมไม้ไผ่ จะต้องเตรียมไม้ไผ่ให้เพียงพอตามมาตรฐาน ดังนี้
1.ขนาด 3 x 2 เมตร ใช้ไม้ไผ่นำมาตัดเป็นท่อน ๆ จำนวน 35 ท่อน
2.ขนาด 2 x 2 เมตร ใช้ไม้ไผ่นำมาตัดเป็นท่อน ๆ จำนวน 15 ท่อน
3.ไม่กำหนดขนาด ช่างผู้ทำฝาไม้จะจัดเตรียมให้มีขนาดตามความต้องการของลูกค้า
การทำซี่ไม้ไผ่ นำไม้ไผ่ที่เตรียมมาผ่าเป็นซี่ ๆ ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร ไม้ไผ่ 1 ท่อน จะผ่าออกได้ 12 ซี่ วิธีผ่าใช้เครื่องมือสำหรับผ่าไม้ไผ่ เรียกว่า “จำปา” มีลักษณะเป็นรูปกลมเรียงใบมีดเป็นยอดแหลมเหมือนกรวย ระยะของใบมีดมีความกว้างกำหนดไว้ตายตัว คือ ประมาณ 2 เซนติเมตร ตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นนำไม้ไผ่มาเหลาข้อออกและผ่าออกเป็นสองซีก ด้านที่อยู่ข้างนอกติดผิวมันมีความแข็งแรงและสวยงาม เรียกว่า “หลังไม้ไผ่” ส่วนซีกที่อยู่ด้านในเรียกว่า “หน้าไม้ไผ่” เวลาสานต้องนำทั้งสองส่วนมาสลับกันทำให้เห็นลายชัดเจน
วัสดุ
1. ไม้ไผ่ ไม้ไผ่ที่นิยม คือไม่ไผ่ผาก มีลักษณะลำต้นสูงใหญ่ มีเขียวไม่มีหนาม ลำต้นโตสมบูรณ์ที่สุด มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ส่วนไม้ไผ่ชนิดอื่นอาจจะทำได้ แต่ไม่ดีพอและไม่สวยงาม
2. เครื่องผ่าไม้ไผ่ " จำปา " เป็นเหล็กมีลักษณะคล้ายที่บีบน้ำมะนาว วงกลมเรียงใบมีดเป็นยอดแหลมเหมือนกรวย ระยะใบมีดมีความกว้าง กำหนดไว้ตายตัว ประมาณ 2 เซนติเมตร ตามขนาดที่ต้องการ
วิธีทำ
เครื่องไม้ไผ่ ตามมาตราฐาน คือ
1. ขนาด 3 x 2 เมตร ใช้ไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อน ๆ จำนวน 35 ท่อน
2. ขนาด 2 x 2 เมตร ใช้ไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อน ๆ จำนวน 15 ท่อน
3. ไม่กำหนดขนาด แล้วแต่ลูกค้าจะสั่ง
การทำนี้ไม้ไผ่ที่นำมาผ่าเป็นซี่ ๆ ขนาด 2 เซนติเมตร ไม้ไผ่ 1 ท่อน ผ่าออกได้ 12 ซี่ ผ่าด้วยจำเปา หลังจากนั้นใช้มีดมาเหลาข้อออกผ่าเป็น 2 ซีก ด้านอยู่ข้างนอกติดผิวมันมีความแข็งแรง สวยงาม เรียกว่า "หลังไม้ไผ่ " ส่วนอีกซีกอยู่ด้านในเรียกว่า "หน้าไม้ไผ่ " เวลาสานต้อองทำทั้งสองส่วนมาผสานสลับกันและเห็นลายชัดเจน ลายที่ใช้คือ
1. ลาย 2 5. ลายลูกแก้วสีดอก
2. ลาย 3 6. ลายลูกแก้วดอกเดียว
3. ลายลูกแก้วชิ้นเดียว 7. ลายไทย
4. ลายลูกแก้ว 2 ชิ้น 8. ลายปีกเหยี่ยว
ลายที่ใช้นิยม ลายลูกแก้วและลายปีกเหยี่ยว เพรามีความสวยงามแข็งแรงมาก
การประยุกต์ใช้
ใช้ทำฝาบ้าน รีสอร์ท นำไปตกแต่งอาคาร เช่น ผนังห้องประชุม ทำฝ้าเพดาน สามารถทำรายได้ให้กับชุมชน มีละประมาณ 1,800,000 - 2,000,000 บาท ส่วนใหญ่ทำกันที่ตำบลทุ่งนุ้ย ใกล้ด่านศุลกากรตำบลทุ่งนุ้ย เส้นทางสตูล-หาดใหญ่ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ลวดลายที่ใช้สานมีอยู่ 8 ลาย ได้แก่ ลายสอง, ลายสาม, ลายลูกแก้วชั้นเดียว, ลายลูกแก้วสองชั้น, ลายลูกแก้วสี่ดอก, ลายลูกแก้วดอกเดียว, ลายไทย, ลายปีกเหยี่ยว ลายที่นิยม มีลายลูกแก้วและลายปีกเหยี่ยว เพราะมีความสวยงามและคงทนมาก ใช้ทำฝาบ้าน นำไปตกแต่งอาคาร เช่น ทำผนัง ทำฝ้าเพดาน เป็นต้น การทำฝาไม้ไผ่ในจังหวัดสตูล สามารถยึดเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดี เพราะยังคงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งภายในจังหวัดสตูล จังหวัดใกล้เคียง และประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์