จังหวัดลำปาง เป็นเมืองเก่ามี่มีความสำคัญของอาณาจักรล้านนา จึงต้องมีเสาหลักเมืองเป็นสัญลักษณ์ของการสร้างเมือง ซื่งในปัจจุบันศาลหลักเมืองเป็นที่เก็บเสาหลักเมืองโบราณจากที่ต่าง ๆ ไว้ และยังเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อดำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธื์ของชาวจังหวัดลำปาง จะมีหลักเมืองอยู่ 3 ต้น แต่ละต้นเป็นเสาไม้เนื้อแข็งขนาดหนึ่งคนโอบถากปลายแหลม ประดิษฐานอยู่ตามมุมต่าง ๆ ซื่งทั้งสามต้นจะมีประวัติความเป็นมาต่างกัน ดังนี้ 1. นำมาจากวัดปงสนุก สร้างขึ้นประมาณ ปี พ.ศ. 2400 ในสมัยเจ้าวรญาณรังษี 2. สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2416 สมัยพระเจ้าพรหมภิพงษ์ธาดา 3. นำมาจากบริเวณตลาดราชวงศ์ ข้างคุ้มราชวงศ์เก่า (ในอดีตบริเวณนี้เป็นท่าน้ำ) สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2429 สมัยเจ้านรนันท์ไชยชวลิต เหตุผลที่เสาหลักทั้งสามนี้มาประดิษฐานอยู่ด้วยกัน เพราะเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าเมืองลำปาง ได้สร้างศาลาว่าการจังหวัด ขึ้นในที่ดินที่เรียกว่า หอคำ เมื่อแล้วเสร็จจึงได้อัญเชิญเสาหลักเมืองทั้งสามมาประดิษฐานอยู่ด้วยกัน ในปี พ.ศ.2440 และในปี พ.ศ. 2511 ได้มีการสร้างมณฑปครอบเสาหลักเมืองไว้ พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในอาคารทรงไทยจัตุรมุข ใกล้กับศาลหลักเมือง ซื่งในหลวงทรงเททองหล่อด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ. 2509 หลังจากผ่านการปลุกเสกเบิกพระเนตรแล้ว จึงพระราชทานไปประดิษฐานยังทิศทั้งสี่ของประเทศไทย พุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อดำ เพราะสร้างจากโลหะผสมแล้วรมดำทั้งองค์ เหตุผลที่ไม่มีการปิดทองเหมือนพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ เพราะในหลวงทรงหล่อขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือพระองค์ดำ เนื่องจากพระองค์ท่านมีพระฉวีดำคล้ำ