ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 0' 5.1602"
16.0014334
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 52' 12.954"
98.8702650
เลขที่ : 53088
แกงสะแล
เสนอโดย Manop Chuenphakdi วันที่ 28 เมษายน 2554
อนุมัติโดย Takculture วันที่ 1 ธันวาคม 2554
จังหวัด : ตาก
0 523
รายละเอียด

สะแล เป็นพืชชนิดหนึ่งในจำนวนพืชผักพื้นบ้านของภาคเหนือ มีรสชาติอร่อยถูกปากคนทั่วไป แต่จะออกดอกปีละครั้งเท่านั้นจึงมีราคาแพงมาก ปัจจุบันเป็นที่นิยมเฉพาะผู้ใหญ่ ส่วนเด็กและเยาวชนมักไม่ค่อยรู้จัก เนื่องจากกระแสบริโภคนิยมของสังคมที่เปลี่ยนไป หากไม่มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์ พืชพื้นบ้านเหล่านี้อาจจะถูกลืมเลือนไปจากความทรงจำและกลายเป็นวัชพืชไปในที่สุด คนทั่วไปมีความเชื่อว่า สะแลเป็นยาอายุวัฒนะไม่ใช่ยารักษาโรค ทำให้ระบบขับถ่ายดี และสามารถขับพิษต่างๆออกจากร่างกายได้

แกงสะแล ส่วนที่นำมาใช้แกงสะแลนั้น คือผลสะแลอ่อน มาแกงใส่หมูสามชั้น กระดูกหมู หรือใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน ผักเสี้ยว แต่ใส่ข่าและตระไคร้เป็นเครื่องแกงด้วย วิธีทำ ๑) โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด ๒) ผัดเครื่องแกงให้มีกลิ่นหอม เติมน้ำ ต้มพอเดือด ๓) ใส่หมูสามชั้น ต้มจนหมูสุก ๔) ใส่สะแล ต้มประมาณ ๑๐ - ๑๕ นาที จนผักนิ่ม ๕) ใส่มะเขือเทศ พอสุก ปิดไฟ เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม เลือกผลสะแลที่อ่อน ไม่แก่เกินไป ดอกสะแลแก่ เนื้อเหนียว ต้มสุกยาก มานพ ชื่นภักดิ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ อ้างอิง : แกงสะแล., (ระบบออนไลน์) http://library.cmu.ac.th. และ โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย http://moradoklanna.com, ๒๕๕๔ .

สถานที่ตั้ง
แกงสะแล
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านอุ้มผาง
อำเภอ เมืองตาก จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แกงสะแล http://library.cmu.ac.th
บุคคลอ้างอิง มานพ ชื่นภักดิ์ อีเมล์ nantana2009@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก อีเมล์ takculture@gmail.com
ถนน พหลโยธิน
อำเภอ เมืองตาก จังหวัด ตาก รหัสไปรษณีย์ 63000
โทรศัพท์ 055517722 โทรสาร 055517646
เว็บไซต์ www.takculture.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่