ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 3' 55.0001"
18.0652778
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 14' 49.9999"
99.2472222
เลขที่ : 54798
ลูกประคบสมุนไพร
เสนอโดย admin group วันที่ 9 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย ลำปาง วันที่ 30 มิถุนายน 2564
จังหวัด : ลำปาง
0 436
รายละเอียด

๒.๑ ชื่อข้อมูลภูมิปัญญา ด้านแพทย์แผนไทยและสมุนไพร(นวดแผนไทย/ลูกประคบ) ๒.๒ ความรู้ความสามารถ นวดแผนไทยและทำลูกประคบสมุนไพร ๒.๓ วัสดุ/วัตถุดิบ/สื่อ/อุปกรณ์สำหรับการผลิตผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น -ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ขนาด กว้าง ๓๕ เซนติเมตร ยาว ๓๕ เซนติเมตร ๒ ผืน (เอาไว้ห่อ) -เชือก หรือ หนังยาง -ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ -หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ -จานหรือชามอลูมิเนียมเจาะรู (เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้) รองลูกประคบ ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ (ลูกประคบ ๒ ลูก) สาเหตุที่ทำ ๒ ก็เพราะเอาไว้เปลี่ยนเวลานำอีกลูกขึ้นนึ่งนั่นเอง จะได้ไม่ต้องรอ… -ไพล (๕๐๐ กรัม) แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ -ผิวมะกรูดถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ (๒๐๐กรัม) มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน -ตะไคร้บ้าน (๑๐๐ กรัม) แต่งกลิ่น -ใบมะขาม (๓๐๐ กรัม) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว -ขมิ้นชัน (๑๐๐ กรัม) ช่วยลดการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง -เกลือ (๑ ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่าน ผิวหนังได้สะดวกขึ้น -การบูร (๒ ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ -ใบส้มป่อย (๑๐๐ กรัม) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน -ใบเป้า ๒.๔ วิธีการถ่ายทอดของภูมิปัญญาท้องถิ่น -ถ่ายทอดโดยการสาธิต และให้ลงมือปฏิบัติจริง - สอนวิธีการทำลูกประคบสมุนไพร และให้บันทึกลงในสมุด ๒.๕ ขั้นตอนการถ่ายทอดของภูมิปัญญาท้องถิ่น วิธีการทำลูกประคบ -หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด ตำมะกรูด ตำพอหยาบๆ ตำพอหยาบๆ (เวลาประคบจะได้ไม่ระคายเคือง) -นำใบมะขาม ใบส้มป่อย (เฉพาะใบ) ผสมกับสมุนไพรข้อ ๑ เสร็จ แล้วให้ใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่อย่าแฉะจนเป็นน้ำ -แบ่งตัวยาที่เรียบร้อยแล้ว ใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบประมาณลูกส้มโอ รัดด้วยเชือกให้แน่น (ลูกประคบเวลาถูกความร้อนยาสมุนไพรจะฝ่อลง ให้รัดใหม่ให้แน่นเหมือนเดิม) -นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ ๑๕-๒๐ นาที -นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่างๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ วิธีการประคบ -จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแครง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบสมุนไพร -นำลูกประคบที่รับร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ (การทดสอบความร้อนของลูกประคบคือ แตะที่ท้องแขนหรือหลังมือ) -ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆ ต้องทำด้วยความเร็ว ไม่วางแช่นานๆ เพราะคนไข้จะทนร้อนไม่ได้มาก - เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน (นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ) ทำซ้ำอีกครั้ง ๒.๖ ประโยชน์/คุณค่าของภูมิปัญญาและของผลงาน - รู้จักนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หารายได้เพิ่มให้ครอบครัว - ทำเป็นอาชีพเสริม

สถานที่ตั้ง
นางพลอย ไชยสาร
เลขที่ 103/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 2
ตำบล ทุ่งงาม อำเภอ เสริมงาม จังหวัด ลำปาง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นาง พรทิวา ขันธมาลา อีเมล์ phornthiva@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง อีเมล์ culture_lampang@m-culture.go.th
เลขที่ 409 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ถนน พระเจ้าทันใจ
ตำบล ต้นธงชัย อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52000
โทรศัพท์ 081 8741563 โทรสาร 054 824182
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th/lampang
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่