ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 12' 24.9998"
7.2069444
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 35' 47"
100.5963889
เลขที่ : 5861
เงือกทอง
เสนอโดย - วันที่ 1 มกราคม 2553
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 21 ธันวาคม 2554
จังหวัด : สงขลา
0 383
รายละเอียด

รูปปั้นนางเงือกนี้ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2509 ตามดำริของ นายชาญ กาญจนาคพันธุ์ ปลัดจังหวัดสงขลา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสงขลาด้วย โดยให้อาจารย์จิตร บัวบุศย์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเพาะช่าง เป็นผู้ปั้นหล่อจากบรอนซ์รมดำ โดยใช้งบประมาณของเทศบาล 60000 บาท ตั้งชื่อว่า เงือกทอง (Golden Mermaid) เป็นสัญลักษณ์ของแหลมสมิหลามาจนทุกวันนี้ นางเงือก เป็นนางในวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ เอกกวีสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-2367) ตามคำบอกเล่าของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) นั้น นิทานปรัมปราไทยเรื่องหนึ่งมีว่า ในคืนท้องฟ้างาม ณ ชายหาดสวยแห่งหนึ่ง จะมีนางเงือกขึ้นจากทะเลมานั่งหวีผมอยู่ คืนหนึ่งมีชายหนุ่มชาวประมงไปพบเข้า นางเงือกตกในหนีลงน้ำไป ทิ้งหวีทองคำไว้ ชาวประมงผู้นั้นเฝ้าแต่รอคอย แต่นางเงือกก็ไม่ปรากฏตัวให้เห็นอีกเลย

สถานที่ตั้ง
แหลมสมิหลา
หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล บ่อยาง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง -
ชื่อที่ทำงาน เทศบาลนครสงขลา
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ราชดำเนิน
ตำบล บ่อยาง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
โทรศัพท์ 074-311387,074-31101 โทรสาร 074-323872
เว็บไซต์ www.songkhlamun.org
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่