ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 58' 9.4987"
17.9693052
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 51' 56.4311"
100.8656753
เลขที่ : 68645
ภูมิปัญญาการทอผ้า
เสนอโดย อรรถพงษ์ ทองจินดา วันที่ 19 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย อุตรดิตถ์ วันที่ 13 ธันวาคม 2554
จังหวัด : อุตรดิตถ์
0 2225
รายละเอียด
องค์ความรู้ด้านอาชีพทางภูมิปัญญาการทอผ้า ๑. ประวัติความเป็นมา ผ้าทออำเภอฟากท่า มีประวัติยาวนานมากกว่า ๒๐๐ ปี บรรพบุรุษชาวอำเภอฟากท่าอพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง และมาตั้งหลักแหล่งอยู่ริมแม่น้ำปาดบริเวณตำบลฟากท่าและตำบลสองคอนในปัจจุบัน วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนชาวฟากท่า จะทอเครื่องนุ่งห่มใช้เองโดยอาศัยภูมิปัญญาอันละเอียดอ่อน จากสภาพแวดล้อมรอบตัวมาดัดแปลงเป็นลวดลายบนผืนผ้าอย่างประณีตงดงาม ผ้าซิ่นตีนจกลายภูเขานี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพภูมิประเทศของอำเภอฟากท่าที่มีภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย ลวดลายบนผืนผ้าซิ่นจึงงดงามประณีตคงความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม ๒. คำจำกัดความ ความหมาย การทอผ้าในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง (จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ และ สุโขทัย จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี สระบุรี ลพบุรีนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ) ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มชนชาวไทยวน และชาวไทยลาว เช่น พวน โซ่ง ผู้ไท ครั่ง ซึ่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในช่วงต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ไทย คนไทยเหล่านี้ยังคงรักษาวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นไว้ได้โดย เฉพาะวัฒนธรรมการทอผ้าของผู้หญิงที่ใช้เทคนิคการทำตีนจก และขิต เพื่อตกแต่งเป็นลวดลายบนผ้าที่ใช้นุ่งในเทศกาลต่างๆหรือใช้ทำที่นอนหมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้า ฯลฯ ผ้าทออำเภอฟากท่าสีสันสวยงาม มองเห็นเด่นชัดระยะใกล้-ไกล เส้นใยคงทนถาวร สีไม่ตก ๓. ลักษณะลายผ้า ลายผ้าทอฟากท่า ได้แก่ ผ้าทอลายน้ำไหลบายศรี ผ้าซิ่นตีนจกลายค้างคาว ผ้าซิ่นตีนจกลายภูเขา ลายผ้าลายข้าวพันก้อน ลายต้นดอกไม้ ลายปุยฝ้าย ลายดาวกระจาย ๔. วัสดุที่ใช้ในการผลิต ๔.๑ ด้าย ๔.๒ ไหม ๕. เครื่องมือ อุปกรณ์ประกอบการผลิต กวัก เป็นเครื่องปั่นด้าย หรือไหมให้เป็นเส้น หลา เป็นเครื่องมือในการกรอด้าย ไหม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการขึงด้าย ก่อนนำไปทอผ้า เฟือย เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขึงด้าย หรือไหม ให้เป็นแผง เพื่อนำไปขึงกับกี่ เถาเก็บลาย เป็นอุปกรณ์สำหรับทำลวดลายผ้า เถาเก็บลายจะเปลี่ยนรูปแบบตามลายผ้า กี่ทอผ้า ใช้ทอผ้า กระสวย เป็นเครื่องมือใช้สำหรับสอยด้าย หรือไหม ไม้เก็บ ไม้หลาบ เป็นเครื่องสำหรับทำลวดลายผ้า ๖. ขั้นตอนการผลิตงาน / วิธีการผลิต วิธีการผลิต สมัยโบราณ จะต้องปลูกฝ้ายหรือต้นฝ้ายเพื่อที่จะเก็บดอกฝ้าย เพื่อเอามาทำด้ายที่จะทอผ้าฝ้ายซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ๑. เก็บดอกฝ้ายเอามาตากแดดให้แห้งสนิทแล้วดึงเมล็ดฝ้ายออกเอาแต่เฉพาะปุยฝ้ายเพื่อนำมาอิ้วฝ้ายแล้ว จึงเอาแต่ปุยฝ้ายไปปั่นเป็นเส้นด้าย ๒. เมื่อได้เส้นด้ายแล้วจึงไปย้อมสีที่ต้องการเช่น ถ้าเป็นเปลือกไม้ลูกมะเกลือก็จะเป็นสีดำแต่สมัยปัจจุบันด้ายจะย้อมสีมาให้เรียบร้อย เราสามารถเลือกสีได้เลยและมีการมัดหมี่ลายมาให้เรียบร้อย ๓. ย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ประดู่ ไม้ขนุน ไม้ลิ้นฟ้า ใบมะม่วงเขียวเสวย ครั่ง กระบวนการขั้นตอนการทอผ้า (ลายดาวกระจาย) ๑. วิธีการทอเริ่มจากนำด้ายไหมประดิษฐ์สีดำมาเป็นเส้นยืน ๒. ทอด้วยกระสวยสอดทำเชิง แล้วเริ่มทำลายเป็นแถวด้วยวิธีการจกด้วยมือเป็นลายด้วยด้ายสีต่างๆ เช่น สีเขียว น้ำตาลเข้ม ชมพูอ่อน ชมพูเข้ม สีครีม ฯลฯ ๒.๑ ลายขิด ๒.๒ ลายขิดเล็ก ลายขิดใหญ่ ลายขิดเล็กประกอบ ๒.๓ ลายกาจก ๒.๔ ทอลายขิดเล็ก ลายขิดใหญ่ ลายขิดเล็กประกอบ อีกครั้ง ๓. ทำลายดาวกระจายตลอดทั้งผืน แล้วปิดด้วยเชิงเอว ๔. เมื่อได้ขนาดแล้วตัดผ้าออกเป็นผืน แล้วเริ่มทอใหม่อีกครั้ง เพื่อมาประกอบเป็นผ้าถุง ๑ ผืน ๗. ประโยชน์ใช้สอย ๗.๑ ใช้นุงห่ม เป็น เสื้อ ผ้าถุง ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ใส่ในงานเทศกาลพื้นบ้าน พื้นเมืองต่างๆ ๗.๒ ใช้แปรรูปเป็นส่วนประกอบของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ๗.๓ เป็นอาชีพทำรายได้จากการทอผ้าขาย หรือส่งกลุ่มทอผ้าของชุมชน
สถานที่ตั้ง
ภูมิปัญญาการทอผ้า
ตำบล สองคอน อำเภอ ฟากท่า จังหวัด อุตรดิตถ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลสองคอน
ตำบล สองคอน อำเภอ ฟากท่า จังหวัด อุตรดิตถ์ รหัสไปรษณีย์ 53160
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่