ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 71708
ไม้ฉลุประดับเรือน
เสนอโดย admin group วันที่ 23 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย นราธิวาส วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : นราธิวาส
0 810
รายละเอียด

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้ฉลุประดับเรือน การแกะสลักไม้ ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ สมัยมนุษย์ ดึกดำบรรพ์ รู้จักใช้เครื่องมือถากไม้ให้มีรูปทรงตามที่ต้องการ ทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงามและนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิด รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักด้วย งานแกะสลักก็ได้เริ่มต้นและมีการพัฒนาต่อมา จนถึงปัจจุบันและทำกันไปทั่วโลก ศาสนาทั้งสิ้นได้แก่งานแกะสลักไม้ ซึ่งมีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและปราณีตบรรจงปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัย ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยมีช่างแกะสลักที่มีฝีมือได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้น มาเป็นจำนวนมากศิลปะไม้แกะสลัก เป็นงานศิลปที่เก่าแก่ มีเอกลักษณ์และมีคุณค่าควรแก่การภาคภูมิใจ ด้วยเหตุที่ในท้องถิ่นมีไม้อุดมสมบูรณ์สามารถนำมาใช้ในการแกะสลักได้สะดวก งานแกะสลัก จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี การทำมาหากินตลอดจนวิถีชีวิตของคนในภาคใต้ ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาต ิ ทุ่งนา ป่าไม้ ซึ่งจะพบเห็น กันได้ทั่วไปในปัจจุบันในสถานที่สำคัญทางศาสนา บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือเครื่องใช้ สอยในชีวิตประจำวัน นายมะรอเซะ เฮ็งเลาะแม ก็เป็นบุคคลหนึ่งที่มีความหลงใหลในงานแกะสลักและเป็นผู้มีฝีมือในการแกะสลักไม้ต่างๆ จึงเกิดแนวคิดที่จะทำเป็นอาชีพโดยการแกะสลักไม้ในแบบต่างๆ เช่น การแกะสลักฉลุรูปลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอด การแกะสลักรูปนูนสูง เป็นการแกะสลักเครื่องใช้ให้นูนสูงต่ำมีความละเอียดของชิ้นงานและการแกะฉลุลวดลายไม้ประกอบงานทั่วไป การใช้เครื่องมือในการแกะสลักประกอบด้วย เครื่องฉลุ กระดาษลอกลาย ค้อน เลื่อย สิ่วขนาดต่างๆ น้ำมันเคลือบ ฯลฯ โดยเฉพาะไม้เป็นไม่แข็งเกินไปมีลายไม้สวยงาม สามารถฉลุลายต่างๆได้ง่าย หดตัวน้อย ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปลอดภัยจากปลวกมอดและแมลง ในการแกะสลักไม้หรือฉลุไม้แต่ละขั้นตอนจะต้องทำอย่างประณีตตั้งแต่การจัดเตรียมเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม การออกแบบลวดลายลงบนกระดาษลอกลายเพื่อใช้เป็นแบบทาบหลังจากนั้นใช้แบบทาบแล้วลอกลายลงบนแผ่นไม้ แล้วใช้เลื่อยเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกเสียก่อนเพื่อเป็นการขึ้นรูป หลังจากนั้นก็นำไปฉลุลวดลายตามที่ต้องการแต่ต้องค่อยระมัดระวังในการใช้เครื่องฉลุไปส่วนอื่นๆได้ หลังจากนั้นก็ตรวดดูรายละเอียดของลวดลายให้เรียบร้อย สมบูรณ์อาจจะใช้เครื่องสิ่วเก็บรายละเอียด แล้วนำไปขัดด้วยเครื่องหรืองกระดาษทราย หากมีรูอาจจะใช้ดินสอพองทาเพื่ออุดร่องเนื้อไม้หลังจากนั้นนำไปทาน้ำมันเคลือบเนื้อไม้ หรือทาน้ำมันชักเงา หรือย้อมสีไม้หรือทาสีทับ

สถานที่ตั้ง
ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ
เลขที่ 85/2 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 ซอย - ถนน -
อำเภอ รือเสาะ จังหวัด นราธิวาส
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
-
บุคคลอ้างอิง นายมะรอเซะ เฮ็งเลาะแม
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน พิชิตบำรุง
จังหวัด นราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96000
โทรศัพท์ 073512833 โทรสาร 073 511650
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่