ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 13' 37.726"
19.2271461
ลองจิจูด (แวง) : E 97° 58' 9.3299"
97.9692583
เลขที่ : 73399
วัดผาบ่องเหนือ
เสนอโดย admin group วันที่ 24 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : แม่ฮ่องสอน
0 204
รายละเอียด

สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๖ บ้านผาบ่องเหนือ หมู่ ๑ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ๙๑ตารางวา

ประวัติความเป็นมา วัดผาบ่องเหนือ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ โดยมีกำนันอูดีถ่าง พร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวบ้านร่วมใจกันสร้างขึ้นเป็นวัด เดิมชื่อว่า วัดจองผาบ่องเหนือ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๑๔๙๑ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๕๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร

สภาพแวดล้อม รอบๆวัดจะมีต้นไม้เพื่อให้ความร่มรื่นและความสงบ สวนย่อมจัดเพื่อดูสวยงาม มีอาคาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์และศาลาเอนกประสงค์ ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะแบบพม่า และองค์พระเจดีย์

รายนามเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

๑.พระครูอูหว่าโส พ.ศ. ๒๔๑๘– ๒๔๓๘

๒. พระครูส่าตี่ พ.ศ. ๒๔๓๘– ๒๔๕๐

๓. พระครูอินตา พ.ศ. ๒๔๕๐– ๒๔๗๑

๔. พระครูนันทิยะ วรคุณ พ.ศ. ๒๔๗๑– ๒๕๒๐

๕. พระอธิการป๊อก สุนฺทโร พ.ศ. ๒๕๒๗– ๒๕๒๘

๖. พระทองดี เตชปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๒๘- ๒๕๔๔

๗. พระแก้ว ปัญญาพันโน พ.ศ. ๒๕๔๔– จนถึงปัจจุบัน(รักษาการแทน)

ลักษณะของสถาปัตยกรรม ลักษณะของศิลปะของวัดผาบ่องเหนือจะเป็นลักษณะศิลปะแบบไทใหญ่เป็นส่วนมาก เนื่องจากจะสังเกตเห็นศาลาการเปรียญ และเจดีย์ที่มีศิลปะแบบไทใหญ่ พระประธานในศาลาการเปรียญจะเห็นได้ชัดว่าจะมีลักษณะที่แตกต่างจากพระประธานของไทย คือเป็นพระประธานศิลปะของไทใหญ่

สถานที่ตั้ง
บ้านผาบ่อง
เลขที่ 166 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล ผาบ่อง อำเภอ เมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัด แม่ฮ่องสอน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน
อีเมล์ wt_maehonghson@hotmail.com
ถนน ขุนลุมประพาส
ตำบล จองคำ อำเภอ เมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัด แม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์ 58000
โทรศัพท์ 053-614417 โทรสาร 053-614303
เว็บไซต์ www.maehongsonculture.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่