ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 49' 18.3918"
13.8217755
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 59' 28.2606"
99.9911835
เลขที่ : 73886
นางโคจร เอกมอญ
เสนอโดย สันทัด คำใสอินทร์ วันที่ 24 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย นครปฐม วันที่ 14 ธันวาคม 2554
จังหวัด : นครปฐม
5 1603
รายละเอียด

นางโคจร เอกมอญ ครูภูมิปัญญาด้านการทำอาหารลาวครั่ง ชุมชนบ้านนา หมู่ 1 ตำบลโพรงมะเดื่อ ได้เล่าให้ฟังว่าตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร บ่งชี้ว่าบรรพบุรุษของชาวตำบลโพรงมะเดื่อหรือที่เรียกว่า “ลาวครั่ง” เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่พลัดพรากจากถิ่นกำเนิดเดิม คือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาสู่ประเทศไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือทางเศรษฐกิจ กลุ่มชาติพันธุ์นี้มีภาษา ประเพณีวัฒนธรรมของตนเองที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ความเป็นลาวครั่ง โดยเฉพาะเรื่องการทอผ้า อาหาร ประเพณีความเชื่อเรื่องผีเจ้านายและผีเทวดา ซึ่งแฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์และความหมายของการจัดระเบียบทางสังคม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ปัจจุบันชุมชนบ้านนา หมู่ที่ 1 ตำบลโพรงมะเดื่อ เป็นชุมชนเก่าแก่มีอายุราว 200 ปี มีสภาพเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยหนาแน่นและถูกกลืนกลายจากวัฒนธรรมภายนอก แต่ก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องภาษา ดนตรี การทำอาหาร ถ่ายทอดให้คนรุ่นต่อมา ในอดีตตำบลโพรงมะเดื่อจัดเป็นตำบลธุรกันดาร ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา เป็นหลัก ความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน มีทรัพยากรธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ในแต่ละฤดูกาลมีพืชผักพื้นบ้านที่หาได้ทั่วไป นำมาประกอบอาหารรับประทาน อยากให้เด็กๆ รุ่นใหม่เห็นความสำคัญและภาคภูมิใจ ในชาติพันธ์ของบรรพบุรุษ พร้อมถ่ายทอดต่อให้เด็กรุ่นต่อๆไป รวมถึงการร่วมอนุรักษ์เอกลักษณ์ภูมิปัญญาของชาวลาวครั่งไว้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การศึกษา ชีวิต และการทำงาน นางโคจร เอกมอญ มีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนบ้านนา หมู่ 1 ตำบลโพรงมะเดื่อ เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ออกมาช่วยบิดามารดา ทำนา แต่ความที่ตนเองเป็นบุตรสาวพ่อแม่จึงให้ช่วยงานบ้านคอยส่งข้าวกลางวัน ชุมชนที่อาศัยอยู่เดิมเป็นชุมชนลาวครั่ง มีการทำอาหารลาวครั่งรับประทานกันในครัวเรือน ตนต้องทำอาหารกลางวันไปส่งพ่อแม่ที่ไปทำนา จึงได้เรียนรู้การทำอาหารจากตา-ยาย โดยระยะแรกยายก็จะให้เข้าไปช่วยงานในครัว และค่อยๆถ่ายทอด ให้ทำเป็นขั้นตอนเริ่มจากการจัดเครื่องแกง ตำน้ำพริกแกง เตรียมเครื่องปรุงต่างๆ และลงมือทำ ทำอยู่ทุกวันผลัดเปลี่ยนอาหารไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีความชำนาญยายให้ลงมือทำเอง จึงได้สืบสานและถ่ายทอดอาหารลาวครั่งมาจนถึงทุกวันนี้ สิ่งสำคัญที่อยากให้ลูกหลานสืบต่อไป คือ การจัดอาหารแต่ละมื้อจะทำให้พอดีรับประทาน และนั่งล้อมวงรับประทานพร้อมกันเพราะเรามีอาหารจำนวนจำกัด ซึ่งทุกคนในบ้านจะต้องดูแลซึ่งกัน จัดสรรแบ่งปันด้วยความรัก องค์ความรู้ นางโคจร เอกมอญ มีความเชื่อว่าการปลูกฝังเด็กและเยาวชน ให้รักถิ่นฐานบ้านเกิด ภาคภูมิใจในความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง ใช้จ่ายอย่างประหยัดพอเพียง รวมถึงการมีความรู้ด้านการบ้านการเรือน การทำอาหารรับประทานในครัวเรือนและการสืบสานความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษที่เป็นเอกลักษณ์สู่ชนรุ่นต่อไปไม่ให้สูญหายไป พร้อมสอดแทรกเรื่องความรักความอบอุ่นในครอบครัว ความพอดีและพอเพียง องค์ความรู้ คือ การถ่ายทอดความรู้โดยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง จดจำ ตามขั้นตอน จนสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองพร้อมทั้งปรับปรุงให้สะดวกกับการรับประทานและการเก็บรักษา การถ่ายทอดความรู้ แนวคิดการถ่ายทอดความรู้โดยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการจดจำปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ประยุกต์ให้เหมาะกับรับประทานและการเก็บรักษา โดยถ่ายทอดความรู้ให้แก่ • นักเรียนระดับประถม - มัธยมศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ • ประชาชน เนื้อหาการถ่ายทอดความรู้ โดยสรุปแล้ว มีเนื้อหาสาระการถ่ายทอดความรู้ดังนี้ • ส่วนประกอบการทำอาหารลาวครั่ง • วิธีการและขั้นตอนการทำ • คุณค่าทางอาหารและคุณค่าทางจิตใจ วิธีการถ่ายทอดความรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ดำเนินการดังนี้ • การบรรยายเรื่องความเป็นมา การจัดเตรียมอุปกรณ์ • การสาธิต • การปฏิบัติจริง

หมวดหมู่
ปราชญ์ชาวบ้าน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 158/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล โพรงมะเดื่อ อำเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางโคจร เอกมอญ
เลขที่ 158/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล โพรงมะเดื่อ อำเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่