ประเพณีแห่นางแมว
เป็นพิธีขอฝนของคนท้อถิ่น โดยถ้าหากปีใดที่ฝนมาล่าหรือแล้งผิดปกติ ไม่ตกต้องตาม
ฤดูกาล อันจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน พืชในไร่นาให้ผลไม่เต็มที่ อาจถึงกับให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงได้ ชาวบ้านก็จะร่วมกันทำพิธีแห่นางแมวตามที่ทำสืบเป็นประเพณี เพราะเชื่อว่า
ภายหลังเมื่อแห่นางแมวแล้ว ไม่ช้าฝนก็จะเทลงมา ซึ่งเป็นความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
กับธรรมชาติ เพราะสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นปัจจัยในการ
เพาะปลูก สมัยก่อนไม่มีระบบการชลประทาน หรือทำฝนเทียมเช่นปัจจุบัน ตามความเชื่อ
ดั้งเดิม"ฝน"เป็นสิ่งที่เบื้องบนประทานลงมา เมื่อใดฝนไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล การเพาะ
ปลูกพืชพันธุ์ก็ดำเนินไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องทำพิธี"แห่นางแมว"พิธีกรรมชาวบ้าน
ตำบลปากจั่นไม่ได้แห่นางแมวเป็นประจำทุกปี แต่ถ้าปีใดฝนแล้งผิดปกติ ไม่ตกต้องตาม
ฤดูกาล จึงมีพิธีแห่งนางแมวกัน ชาวบ้านเชื่อว่าแมวเป็นสัญลักษณ์ของความแห้งแล้งเช่นกัน
เมื่อแมวถูกสาดน้ำจะหายแล้ง จึงจับแมวตัวเมียมาใส่ "ตะข้อง" หรือ ชะลอม หรือกรงตะกร้า
สุดแต่จะหาได้ เอาไม้คานสอดเข้าไปในตะข้อง แล้วพากันแห่ตระเวนไปทั่วหมู่บ้าน ในขบวนแห่
มีคนตีกลอง ตีกรับ ตีฆ้อง หรือตีฉิ่ง และจะร่วมกันร้องเพลงแห่นางแมว โดยมีคำร้องสั้นๆ
ง่ายๆแต่สัมผัสคล้องจองกันดังนี้ "นางแมวเอย มาร้องแจ้วแจ้วนางแมวขอไก่ ขอไม่ได้ ร้องไห้
ขอฝน ขอน้ำมนต์รดแมวข้าที มีแก้วนัยน์ตา ออกมาเดือนหก ฝนตกทุกที มาปีนี้ไม่มีฝนเลย
พ่อตาลูกเขย นอนก่ายหน้าผาก พ่อหม้ายลูกมาก มันยากเพราะข้าวคนหนุ่มคนสาว คนเฒ่า
หัวห้อย พาเด็กน้อย มาเล่นนางแมว มาร้องแจ้วฝนก็เทลงมา ฝนก็เทลงมา เมื่อเคลื่อนขบวน
แห่ ต่างก็ร้องบทแห่นางแมว ซึ่งมีข้อความผิดเพี้ยนกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บางบทมี ถ้อยคำ
กระเดียดไปทางหยาบโลน แต่ที่ไม่คอยต่างกันมากนักก็ตรงบทสร้อยหรือลูกคู่ที่ร้องรับ ที่ว่า
"ฝนก็เทลงมา ฝนก็เทลงมา"เมื่อแห่ถึงบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอากระบวยตักน้ำสาด
ลงไปในชะลอมหรือตะกร้าที่ขังแมวอยู่ จากนั้นเจ้าของบ้านก็ให้รางวัลแก่พวกแห่ เป็นเหล้า
ข้าวปลา ไข่ต้ม หรือของกินอย่างอื่น ส่วนมากมักให้เงินเล็กน้อยแก่คนถือพานนำหน้า
กระบวนแห่ เสร็จแล้วก็เคลื่อน ต่อไปยังบ้านอื่นๆ จนสุดเขตหมู่บ้าน แล้วก็กลับมาชุมนุม
เลี้ยงดูกันเป็นที่ครึกครื้น พร้อมทั้งปล่อยแมวให้เป็นอิสระ ถ้าฝนยังไม่ตก ก็ต้องแห่ซ้ำใน
วันรุ่งขึ้นและวันต่อๆ ไปจนกว่าฝนจะตก
สรุปเนื้อหาโดยรวมคือ "ขอให้ฝนตก" เมื่อขบวนแห่ผ่านไปที่บ้านใด ก็จะร้องเชื้อเชิญให้
ออกมาร่วมพิธี เจ้าของบ้านก็จะนำกระบวยตักน้ำในตุ่มหน้าบ้าน สาดไปใน "ตะข้องนางแมว"
หรือกรงที่ใส่แมว เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน และเกี่ยวข้องกับ
อาชีพเกษตรกรรมพิธีแห่นางแมวนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า จะทำให้ฝนตกและบรรเทาสภาวะ
แห้งแล้งไปได้ โดย วัฒนธรรมอำเภอนครหลวง