ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 20' 41.2721"
16.3447978
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 52' 15.1572"
99.8708770
เลขที่ : 81006
หัตถกรรมเป่าแก้วบ้านโนนจั่น
เสนอโดย ฐิฏิยา หาญวีรโยธิน วันที่ 28 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย กำแพงเพชร วันที่ 28 มีนาคม 2555
จังหวัด : กำแพงเพชร
0 816
รายละเอียด
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเป่าแก้ว ส่วนใหญ่จะเป่าเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย , สัตว์ในท่าทางต่าง ๆ และสามารถเป่าเป็นรูปต่าง ๆ ได้ตามสั่ง ซึ่งใช้ตกแต่งประดับเพื่อความสวยงาม และใช้เป็นของชำร่วย ในการพิธีต่างๆ ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศสและญี่ปุ่น ปัจจุบัน ชาวบ้านโนนจั่น หมู่ ๑ ตำบลทุ่งทอง อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประกอบอาชีพหัตถกรรมเป่าแก้วเป็นจำนวนมาก โดยการส่งเสริมของนายณรงค์ แสงอะโน ประธานกลุ่มเป่าแก้ว บ้านโนนจั่น ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เลี้ยงครอบครัว เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีขั้นตอนการผลิต ดังนี้ วัสดุที่ใช้ในการผลิตผลงาน ๑. แก้วโบโรซิลิเคต (แก้วทนไฟ) ขนาด ๑ - ๓๕ มิลลิลิต (ขึ้นอยู่กับขนาดของงาน) ๒. ก๊าซออกซิเจน ๓. ก๊าซหุงต้ม ๔. ทรายละเอียด ๕. น้ำทอง ๒๒ K ๖. สีทาแก้ว แหล่งที่มาของวัสดุ ๑ แก้วโบโรซิลิเคต นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ต้องสั่งจากจังหวัดกรุงเทพ ๒ วัสดุอื่น ๆ เช่น ก๊าซออกซิเจน , ก๊าซหุงต้ม, ทรายละเอียด, น้ำทอง ๒๒ K , สีทาแก้วหาได้ในท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต ๑ แว่นตา (กันแสง) ๒ อุปกรณ์เสริม ตามความเหมาะสม เช่น คีม แท่งคาร์บอน เหล็กแท่ง เป็นต้น ขั้นตอนกระบวนการผลิต ๑ ขั้นเตรียมการ (๑) เตรียมแท่งแก้ว (๒) จุดไฟ และเร่งความแรงของไฟให้ได้ประมาณ ๑,๒๐๐ องศา (๓) ใส่แว่นตาเพื่อป้องกันแสงจากไฟ ขั้นการผลิต (๑) นำแก้วมาเป่าขึ้นรูปด้วยไฟ อุณหภูมิ ๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส (๒) เก็บรายละเอียดด้วยความพิถีพิถัน หากต้องการทำเป็นรูปสัตว์ ให้นำแก้วจี้ไฟ ให้เกิดความร้อนแล้วขึ้นรูปจากหาง ไปยังขา ลำตัว และหัว (แล้วแต่ความถนัดของช่าง) (๓) เก็บรายละเอียด เช่น เล็บ หนวด ให้ใช้เครืองมือที่มีลักษณะกลมมีขอบวงแเหวน เช่น น๊อต แล้วนำมาแต่งเป็นรูปขนโดนนำไปแตะที่ตัวแก้วแล้วหมุนไปมา เป็นเหมือนขนสัตว์ เป็นต้น (๔) การตั้งรูปแก้วที่เป็นรูปต่าง ๆ กับพื้นเพื่อการทรงตัวที่มั่นคง ให้นำแก้วที่ทำเสร็จแล้วและยังมีความร้อนคงอยู่แตะกับพื้นผิวเรียบที่เป็นคาร์บอนเบา ๆ ขั้นหลังการผลิต นำแก้วที่ผลิตเสร็จแล้วไปเป่าด้วยแก๊สออกซิเจน เพื่อไม่ให้แก้วเปราะและแตกง่าย การตกแต่งลักษณะพิเศษ การเป่าแก้วแรกเริ่มนั้นมีการจัดทำแบบธรรมดาที่เรียกว่า แก้วใส กล่าวคือ เมื่อนำแก้วแท่ง มาเป่าขึ้นเป็นรูปสัตว์หรือรูปทรงตามต้องการแล้วถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการเป่าขึ้นรูป สามารถบรรจุหีบห่อ เพื่อจำหน่ายได้ ในปัจจุบัน ได้มีการเพิ่มเทคนิคในการจัดทำซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถดำเนินการได้ใน ๒ รูปแบบ คือ ๑. การพ่นทราย โดยใช้เครื่องปั้มลมพ่นทรายละเอียด ออกไปบริเวณที่ต้อง เช่น ที่หาง หนวด ขา หรือลำตัว เป็นต้น การพ่นทรายจะทำให้แก้วที่มีลักษณะใส มีสีขาวขุ่นเกาะบริเวณ ที่พ่น เมื่อสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นรูปเล็ก ๆ ที่เกิดจากการที่ทราย ถูกอัดแล้วฉีดไปแรง ๆ กระทบกับวัตถุหรือแก้วตรงบริเวณที่ต้องการนั่นเอง ๒. การลงสีเคลือบทอง การลงสีนี้อาจจะผ่านขั้นตอนการพ่นทรายหรือไม่ก็ได้ โดยนำ สีทองมาทาลงในส่วนที่ต้องการ แล้วนำไปอบในเตาอบ ด้วยอุณหภูมิ ๖๕๐ C เป็นระยะเวลา ๓-๔ ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อความสวยงาม คงทน ในการใช้งานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ เป็นวิธีทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาสูงขึ้น และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ระยะเวลาการผลิต ขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นงาน เช่น ขนาด S ใช้เวลา ๓๐ – ๖๐ ตัว/วัน ขนาด M ใช้เวลา ๒๐ – ๓๐ ตัว/วัน ขนาด L ใช้เวลา ๑๐ – ๒๐ ตัว/วัน วัตถุประสงค์ของการผลิต ๑ ใช้ตกแต่งประดับเพื่อความสวยงาม และใช้เป็นของชำร่วยในการพิธีต่าง ๆ ๒ เพื่อประกอบเป็นอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ลักษณะพิเศษของงานชิ้นนี้ ผลิตจากการนำแท่งแก้วมาเป่าเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการ มีความสวยงามมาก ด้วยความใสของแก้วสามารถผลิตได้เป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามโอกาสและเวลา เช่น ๑๒ นักษัต , ถ้วยรางวัล , สัตว์ที่เป็นมงคล , ของชำร่วย เป็นต้น และได้มีการพัฒนาไปสู่การพ่นทราย และเคลือบทองซึ่งเป็นที่นิยม อย่างมาก ในต่างประเทศ(OTOP)
สถานที่ตั้ง
หัตถกรรมเป่าแก้วบ้านโนนจั่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑ โนนจ่น ถนน ท่ามะเขือ-ทุ่งทอง
อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายณรงค์ แสงอะโน
บุคคลอ้างอิง นางฐิฏิยา หาญวีรโยธิน
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
หมู่ที่/หมู่บ้าน ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร ถนน กำแพงเพชร-สุโขทัย
ตำบล หนองปลิง อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร
โทรศัพท์ ๖๒๐๐๐ โทรสาร ๐๕๕-๗๐๕๐๙๐
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่