ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 49' 2.6851"
15.817412526831
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 9' 27.6438"
104.15767882235104
เลขที่ : 84799
เครื่องปั้นดินเผา
เสนอโดย admin group วันที่ 31 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : ยโสธร
0 761
รายละเอียด

เครื่องปั้นดินเผา ขั้นตอนการปั้น ๑. การทำเชื้อดิน คือการนำแกลบผสมดินเหนียว นำไปเผาให้สุกแล้วนำมาตำให้ละเอียด แล้วซ่อน (ส่วนที่ร่อนได้คือเชื้อดิน) ๒. นำเชื้อมาผสมกับดินเหนียว โดยนวดให้เข้ากัน ในอัตราส่วน เชื้อดิน ๑ กำมือ ผสมกับดินที่จะทำโอ่ง ๑ ลูก ๓. การขึ้นรูป เริ่มที่ปากโอ่งก่อน โดยใช้มือปั้นขึ้นรูป เมื่อดินแห้งพอหมาด ๆ ก็จะใช้ไม้ตีให้ได้รูปทรง มีหินคุรองด้านในของโอ่งเวลาใช้ไม้ตีจนได้รูปทรง ส่วนที่คอโอ่งต้องการให้เป็นลวดลายก็จะใช้ไม้สักคอตีให้เป็นลวดลาย ๔. การทาสีดิน ใช้ดินสีแดงผสมน้ำทาด้านนอกของโอ่ง ๕. นำไปเผา เมื่อปั้นเสร็จแล้วจะวางไว้ในที่ร่ม ๒ - ๓ วัน แล้วจึงนำไปเผา เดิมการปั้นทำเฉพาะโอ่งน้ำ และหม้อสำหรับต้มหรือแกง คือโอ่งใบใหญ่สำหรับใส่น้ำใบเล็กสำหรับหุงต้ม ปัจจุบันมีการปั้นเตาถ่าน โดยได้แบบอย่างจากที่เขาทำเตาจากปูน แต่เตาดินจะใช้ได้ดีกว่าเพราะไม่แตกง่ายเมื่อโดนความร้อน เรียนการปั้นมาจากแม่ ผู้ขายจะไม่ปั้นแต่จะเป็นฝ่ายหาดินหาฟืน ฟาง มาเผา และนำไปขาย การเผา ไม่มีเตาเผา แต่จะวางฟืนไว้พื้นก่อน นำโอ่งคว่ำลง ใช้กองฟางกองคลุมทับไว้แล้วเผาประมาณ ๑ ชั่วโมง การจำหน่าย โดยการนำไปขายเองตามบ้านโดยใส่รถเข็นไปหรือถ้าไปไกลหน่อยก็นำใส่รถยนต์ไปที่ไปไหลคืออำเภอที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ทรายมูล กุดชุม เลิงนกทา ปัจจุบันมีการปั้นเตาสำหรับใช้ถ่าน ใช้ฟืน และกระถางดอกไม้ บางครั้งก็มีลูกค้าสั่งทำเตาและหม้อเล็ก ๆ สำหรับใส่อาหารตามร้านอาหาร การสืบทอดการปั้นให้ลูกหลานก็มีบ้าง แต่ส่วนใหญ่ลูกหลานมักไม่ค่อยสนใจที่จะศึกษา เพราะงานที่ทำต้องใช้ความขยัน อดทน และมีความละเอียดอ่อน ในหมู่บ้านจะมีช่างปั้นที่ยังคงทำอยู่ประมาณ ๓๐ คน การนำโอ่งไปแลกข้าวแบบสมัยก่อนก็มีบ้าง คือเตาใหญ่ ๒ ลูก เตาเล็ก ๑ ลูก แลกข้าวได้ ๑ ตะกร้า บางครั้งก็ใช้หม้อ โอ่ง ขนาดบรรจุได้ข้างเท่าไหร่ก็แลกข้าวได้เท่านั้น ปัญหาและอุปสรรคคือเรื่องดินเหนียวที่ใช้ปั้น ไม่ค่อยดี เวลาใช้จะมีน้ำซึมออกมาคือเก็บน้ำได้ไม่ค่อยดี ก็จะแก้โดยใช้ครั่งทาด้านนอก แต่น้ำจะไม่เย็นเหมือนไม่ได้ทาครั่ง ไม่มีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ใด ๆ ในการทำไม่เคยเลี้ยงผีหม้อ ผีดิน เพราะไม่มีความเชื่อเรื่องนี้ ประเพณีทำข้าวกระยาสารทในเดือนสิบ จะมีทำเฉพาะที่นี่คือเอาข้าวเปลือกมาคั่วเป็นข้าวตอก ใส่กะทิ น้ำตาลทราย ถั่ว เครื่องปั้นดินเผา เรียนรู้เรื่องการปั้นโอ่ง หม้อ มาจากแม่ ซึ่งพ่อแม่อพยพมาจาก อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา แหล่งดินที่นำมาปั้น คือดินเหนียว เดิมที่ได้มาจากลำน้ำทวน ซึ่งอยู่ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ต่อมาเมื่อมีการทำฝายกั้นน้ำที่ลำน้ำทวน ทำให้น้ำท่วม ไม่สามารถจะเอาดินได้ จึงได้ดินจากบ้านเหล่าบึงแก้ว อำเภอ พนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด รูปแบบเครื่องปั้นดินเผาที่ทำ โอ่งน้ำ หม้อดิน เตาถ่าน เตาฟืน กระถางดอกไม้อื่น ๆ ตามสั่งถ้าทำได้ วัสดุที่ใช้ ดินเหนียว แกลบ ดินแดง ครั่ง ไม้ตี หินตุ ไม้สักคอ ฟาง ฟืน วิธีทำ ขั้นตอนในการทำดังนี้ ๑. การทำเชื้อดิน คือ การทำแกลบผสมดินเหนียว นำไปเผาให้สุกนำมาตำให้ละเอียด แล้วร่อน (ส่วนที่ร่อนได้คือดินละเอียดคือเชื้อดิน) ๒. ผสมดินกับเชื้อดิน นำเชื้อดิน มาผสมกับดินเหนียวโดยการนวดให้เข้ากัน (สัดส่วน เชื้อดิน ๒ กำมือ กับดินเหนียวที่จะทำโอ่งได้ ๑ ลูก) ๓. ขึ้นรูป เริ่มที่ปากโอ่งก่อน ใช้มือปั้นขึ้นรูปปากโอ่ง เมื่อดินแห้งพอหมาด ๆ จะเป็นลวดลายจะใช้ไม้สักคอตี ให้เป็นลวดลาย ๔. การทาสี ใช้ดินสีแดงผสมน้ำ ทาด้านนอกโอ่ง เพื่อให้สีแดง สวยงาม ๕. นำไปเผา วางฟืนรองไว้พื้นดิน นำโอ่งหม้อวางคว่ำลงใช้ฟางคลุมไว้ข้างบน แล้วเผาประมาณ ๑ ชั่วโมง การประยุกต์ใช้ เดิมทำโอ่งน้ำและหม้อสำหรับหุงต้ม แต่ต่อมามีการพัฒนาทำเตาถ่าน เตาฟืน หม้อเล็กๆ เข้าชุดกับเตาใช้ในร้านอาหารพื้นบ้าน เช่น ชุดแจ่วร้อน อ่อมต่างๆ การถางต้นไม้ รวมทั้งงานตามสั่ง ถ้าสามารถทำได้ การจำหน่าย การนำไปจำหน่ายตามหมู่บ้านใกล้เคียง บางครั้งก็ไปตามอำเภอใกล้ๆ เช่น ทรายมูล กุดชุม หรือไม่ก็อาจมีลูกค้ามารับไปจำหน่ายเอง การแลกเปลี่ยนแบบโบราณก็มีบ้าง คือการนำโอ่ง หม้อหรือเตา แลกเปลี่ยนกับข้าวเปลือกกับชาวบ้านแทนการซื้อขายด้วยเงิน การถ่ายทอดการทำเครื่องปั้นดินเผา ปัจจุบันยังมีชาวบ้านซึ่งเป็นผู้หญิงเป็นผู้ปั้นที่ยังทำงานอาชีพนี้อยู่ประมาณ ๓๐ คน (ผู้ชายจะไม่เป็นช่างปั้น จะเป็นผู้หาดิน หาฟืน หาฟางให้) มีการถ่ายทอดอาชีพนี้สู่ลูกหลานบ้าง แต่ส่วนใหญ่มักไม่สนใจที่จะเรียน คงเพราะเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน ต้องขยัน และมีความเพียรพยายาม

คำสำคัญ
เครื่องปั้น
สถานที่ตั้ง
อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเมืองยโสธร
บุคคลอ้างอิง นางเพ็ญศรี แตงทอง
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเมืองยโสธร
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านนำ้คำน้อย
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่