บ้านหนองค้า หมู่ที่ 12 ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร เดิมเชื่อบ้านหนองคล้า เนื่องจากในหมู่บ้านมีหนองน้ำเล็กๆ มีต้นคล้า ซึ่งคนสมัยก่อนใช้ทำไพหญ้าซึ่งเขาใช้มุงหลังคาบ้าน สมัยก่อนพอทางจังหวัดเขาให้ไปบอกชื่อหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านสมัยก่อนก็ไม่บอกชื่อบ้านแต่ทางราชการได้ตัดตัว “ล” ออก ซึ่งการกลายเป็นบ้านหนองค้า ในปัจจุบัน คนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหมู่บ้านคือ อพยพมาจากบ้านปากถ้ำ ตำบลหญ้าหวาย อำเภอเมืองหมั้น จังหวัดสารวันพนทอง และได้อพยพเข้ามาอยู่ในดงลิง (ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร) และอพยพมาอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน แต่เกิดโรคระบาดขึ้น คือโรคห่า กับโรคฝีดาษ ขึ้นซึ่งในปัจจุบันก็เป็นหมู่บ้านหนองค้า ชุมชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานคือ กลุ่มของนายขน โถชัยคำ (ซึ่งสมัยก่อนยังไม่มีนามสกุล แต่พึ่งได้มีนามสกุลสมัยที่เป็นคนให้มีนามสกุล) และตระกูลของนายอ่อน นายขน สมัยนั้นมีบุตรตามมา 3 คน และมาเพิ่มที่บ้านหนองค้าอีก 7 คน เป็น 10 คน และเมื่อลูกหลานอยู่ในปัจจุบันหมู่บ้านนี้เกือบ 200 ปี มาแล้ว สภาพปัจจุบัน ในปัจจุบันบ้านหนองค้ายังเป็นบ้านชนบทที่ทำนา ทำไร่เลี้ยงชีพ การศึกษาส่วนมากจบภาคบังคับ สังคมมีการช่วยเหลือซึ่งกันและ ด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้าน บ้านหนองค้าทำการเกษตร ขายผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อาชีพเลี้ยงโคก็ขายโค เนื่องจากสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยให้ทำการด้านนี้ได้ดี ด้านวัฒนธรรม บ้านหนองค้าปฏิบัติธรรมประเพณี ฮีตสิบสองครองสิบสี่ วัฒนธรรมและประเพณีที่เด่นๆ คือบ้านหนองค้าการอนุรักษ์การแต่งกายแบบเผ่ากะเลิงโซ่ เพราะจะทำให้ประเพณีได้สูญหายไป