ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 34' 46.9765"
6.5797157
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 32' 6.837"
101.5352325
เลขที่ : 92480
สุสานเจ้าหมื่น เจ้าเภา
เสนอโดย admin group วันที่ 7 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 28 เมษายน 2565
จังหวัด : ปัตตานี
5 6201
รายละเอียด

สุสานเจ้าหมื่น เจ้าเภา

จากการเล่าสืบต่อกันมา เจ้าและเจ้าหมื่น เดิมทีเป็นคนในราชสำนัก สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และก็สันนิษฐานกันว่าน่าจะมีหน้าที่เดียวกัน คือเป็นคนดูแลช้างในสมัยนั้น กรุงศรีอยุธยามีศึกสงครามกับพม่า และในระหว่างการทำศึกสงครามช้างคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งเป็นช้างเผือกงาดำได้เกิดสูญหาย พระเจ้าแผ่นดินได้มีพระราชโองการให้ราชองครักษ์ รวบรวมสมัครพรรคพวกออกติดตามเจ้าเภา เจ้าหมื่นและญาติ ๆ พี่น้องอีกส่วนหนึ่ง (พี่เณร เจ้าแก้ว เจ้าอ่อน เจ้ามอญ นางผมยาวเก้าศอกและนางเลือดขาว) ถูกจัดให้ออกติดตามช้างในครั้งนั้นด้วย จากการติดตามปรากฎว่าช้างได้สูญหายลงมาทางใต้ และร่องรอยได้สูญหายไปในพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน (พรุน้ำดำ) เมื่อติดตามช้างกลับไม่ได้ ทั้งหมดจึงไม่กล้าเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาด้วยความกลัวอาญาแผ่นดิน จึงได้แยกย้ายกันตั้งรากฐานอยู่ในป่าทึบของจังหวัดปัตตานี สมัยนั้น ซึ่งปัจจุบันได้แก่ ตำบล พิเทน ของอำเภอทุ่งยางแดง บ้านเมืองยอน ตำบลลุโบะยือไร อำเภอมายอ และในเขตพื้นที่ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ นั้นคือ เจ้าเภา เจ้าหมื่น และพรรคพวกอีกส่วนหนึ่งนั้นเอง จนในปัจจุบันก็ยังมีผู้สืบสายอยู่ ได้แก่ ตระกูลชีบะ,พระศรี,ดิเภา,โต๊ะทอง,จันทร์ทอง,ศรีทอง เจ้าเภา ก็คือ ต้นตระกูล "ซีบะ" เจ้าหมื่น ก็คือ ต้นตระกูล "จันทร์ทอง" คำว่า "ซีบะ" ในปัจจุบันสันนิษฐานว่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "สี่บาท" อันหมายถึง ผู้ดูแลเท้าช้างศึก ซึ่งเป็นนามสกุลของเจ้าเภานั้นเอง บ้านเจาะกะพ้อในหมู่ที่ 7 ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
บ้านเจาะกะพ้อใน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 7
ตำบล กะรุบี อำเภอ กะพ้อ จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
ตำบล สะบารัง อำเภอ เมืองปัตตานี จังหวัด ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94000
โทรศัพท์ 073323195-7
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่