ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 51' 29.9999"
15.8583333
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 37' 45.9998"
104.6294444
เลขที่ : 95249
ศาลหลักเมือง
เสนอโดย admin group วันที่ 10 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย อำนาจเจริญ วันที่ 23 เมษายน 2555
จังหวัด : อำนาจเจริญ
0 5496
รายละเอียด

ศาลหลักเมือง จังหวัดอำนาจเจริญตั้งอยู่ที่ สวนมิ่งเมืองเฉลิมพระเกียรติ ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดศาลหลักเมือง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2544

หลักเมืองเพื่อทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมในวันเสาร์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔

ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร การจัดสร้างศาลหลักเมือง เป็นการสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของบรรพบุรุษแต่โบราณ เมื่อได้มีการจัดตั้ง "เมือง" เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นหลักชัย แก่บ้านเมือง ก็จะต้องมีการจัดตั้ง"เสาหลักเมือง หรือศาลหลักเมือง" เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นที่สักการบูชาของประชาชนโดยทั่วไป ด้วยเหตุดังกล่าวจังหวัดอำนาจเจริญจึงได้ดำเนินการก่อสร้าง

"ศาลหลักเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ"ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2538
ศาลหลักเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ "สวนมิ่งเมืองเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี" ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีพื้นที่ 35 ไร่13 ตารางวา

การดำเนินการก่อสร้าง

จังหวัดอำนาจเจริญได้ขอความร่วมมือจากส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรเอกชน และประชาชนเพื่อดำเนินการจัดสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ โดยกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ได้ออกแบบศาลหลักเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ มีรูปลักษณ์แบบจตุรมุขยอดปรางค์ ขนาดกว้าง 27.70 เมตร ยาว 27.70 เมตรสูง 28.20 เมตรโดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างจากการสนับสนุนของจังหวัด เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ประชาชน และการจัดหารายได้ อื่น ๆ สมทบ เสาหลักเมืองที่ใช้เป็นหลักเมืองเป็นไม้มงคลชื่อ "ไม้ราชพฤกษ์ (คูณ)" ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตรความยาว 4 เมตรซึ่งได้มาจาก สวนตะโกทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยจัดพิธีพลีต้นไม้ตามประเพณีโบราณ และขอให้ทางกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร นายสนิท วิไล เป็นผู้ออกแบบเป็นรูปทรงกลม ยอดเสาหลักเมืองเป็นรูปทรงแก้วเก้าชั้น รูปแบบเหมือนกับเสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ช่างผู้ประดิษฐ์ และกลึงเสาหลักเมือง คือ นายนิพนธ์ บุญเจิม และนายประยูร บุญเจิม ดำเนินการเสร็จเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2538 ขนาดเสาหลักเมือง เมื่อกลึงแล้วยาว 280 เซนติเมตรโคนเสา มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 เซนติเมตรยอดเสาหลักเมืองยาว 93 เซนติเมตรน้ำหนักประมาณ 29 กิโลกรัม

จังหวัดได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกและสมโภชน์ในเขตพื้นที่ทุกอำเภอ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2539 และในงานประจำปีพระมงคลมิ่งเมือง 7 วัน แล้วได้นำไปประดิษฐานชั่วคราว ณ ศาลาหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 และได้จัดพิธีอัญเชิญเสาหลักเมือง จากศาลาประดิษฐานชั่วคราวไปยังสถานที่ตั้งศาลหลักเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2543

งบประมาณในการก่อสร้าง

ได้รับการสนับสนุน ดังนี้
1. หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้มีเมตตาให้จังหวัดจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ "รุ่นกูสร้างเมือง" จำนวน 3 ชนิด เหรียญทอง 600 เหรียญ เหรียญเงิน 30,000 เหรียญ และเหรียญทองแดง 100,000 เหรียญ เพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาเช่าบูชาเพื่อนำเงินรายได้ไปสมทบในการก่อสร้าง
ศาลหลักเมือง เป็นเงิน 6,348,000 บาท
2. งบประมาณสนับสนุนจากงบพัฒนาจังหวัดประจำปีงบประมาณ 2539 โดยข้อเสนอของ นายสุทัศน์ เงินหมื่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นเงิน 1,000,000 บาท
3. งบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ เป็นเงิน 600,000 บาท
4. การจัดทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบเพื่อจัดสร้างศาลหลักเมือง เป็นเงิน 845,820 บาท
5.โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบศาลหลักเมือง โดยใช้งบของเทศบาล จำนวน 4,538,180 บาท รวมเป็นเงินงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างทั้งสิ้น 13,332,000 บาท

สถานที่ตั้ง
สวนสาธารณะมิ่งเมือง เฉลิมพระเกียรติฯ
หมู่ที่/หมู่บ้าน 13 บ้านสุขสำราญ ถนน ชยางกูร
ตำบล บุ่ง อำเภอ เมืองอำนาจเจริญ จังหวัด อำนาจเจริญ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานโยธาธิการจังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานโยธาธิการจังหวัดอำนาจเจริญ
ถนน ชยางกูร
ตำบล โนนหนามแท่ง อำเภอ เมืองอำนาจเจริญ จังหวัด อำนาจเจริญ รหัสไปรษณีย์ 37000
เว็บไซต์ http://www.amnatcharoen.go.th/data/sarn
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่