ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 9' 43.7288"
14.1621469
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 6' 10.971"
100.1030475
เลขที่ : 98341
หมอนไม้
เสนอโดย ว่าที่ ร.ต.สุพัฒน์ หอมสุวรรณ วันที่ 15 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย ใหญ่ อรรถนิติ วันที่ 24 กรกฎาคม 2554
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 2889
รายละเอียด
หมอนไม้ เป็นของใช้พื้นบ้านสำหรับหนุนนอนของคนแก่เฒ่าที่ไปถือศีลภาวนาในวันพระ ซึ่งในช่วงเข้าพรรษาชาวบ้านทุกถิ่นในชนบท โดยเฉพาะคนสูงอายุจะไปทำบุญที่วัดใกล้บ้านทุก ๆ วันพระ ระยะนี้พระภิกษุสามเณรต่างจำศีลภาวนาในวันเข้าพรรษาตลอด ๓ เดือน ชาวบ้านบางคนก็ลด ละ เลิก ในสิ่งที่ ประพฤติผิดในระหว่างเข้าพรรษา เช่นไม่ดื่มสุรา ไม่เล่นการพนัน เป็นต้น ในวันพระจะมาทำบุญ สวดมนต์ตั้งแต่เช้าจนเย็นโดยมิได้ขาดแม้แต่วันพระเดียว การที่ผู้เฒ่าผู้แก่มาทำบุญรักษาศีลต้องอยู่บนศาลา หรือในอุโบสถตลอดวัน จึงมีความ จำเป็นต้องหยุดพักผ่อนหลังจากสวดมนต์เสร็จแล้ว เวลาพักผ่อนส่วนใหญ่เป็นช่วงหลังเพลไปแล้ว ชาวบ้านมีความเชื่อถือว่าการรักษาศีลที่วัด ควรละในสิ่งที่เป็นกิเลสจากความสะดวกสบายต่าง ๆ แม้แต่หมอนที่หนุนนอนก็ไม่ควรอ่อนนุ่ม ดังนั้นจึงมีการทำหมอนไม้ไว้สำหรับหนุนนอน เมื่อไปรักษาศีลภาวนาในวันพระ หมอนไม้เป็นแผ่นเดียวรักษาง่าย ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้มะค่า ไม้ประดู่ หรืออาจใช้ไม้สักทำก็ได้ วิธีการทำจะตัดไม้แผ่น ๆ ที่เลื่อยไว้แล้วมีความหนา ๓-๕ เซนติเมตร มีความกว้าง ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ยาว ๒๐- ๒๕ เซนติเมตร ใช้กบไสแผ่นไม้ทั้ง ๒ ให้เรียบ เครื่องมือใช้ทำหมอนไม้คือ สิ่ว ค้อน และเลื่อย ผ่าแผ่นไม้หรือชาวบ้านเรียกว่า “จักไม้” ด้วยเลื่อยทั้ง ๒ ข้าง ให้เป็นไม้ ๒ แผ่น การผ่าไม้จะผ่าไม่ตลอดเหลือตรงกลางแผ่นไว้ประมาณ ๒ นิ้ว จากนั้นใช้สิ่วเจาะไม่ให้เป็นเดือยขัดกันประมาณ ๕-๖ เดือย เจาะสลับกันไปแต่ละเดือย โดยเจาะสลับกันในแต่ละด้านของแผ่นไม้ด้วย การเจาะเดือยไม้จะเจาะไปถึงไม้ที่ผ่าซีกด้วยเลื่อยนั้น เมื่อเจาะเดือยทั้ง ๒ ด้านของแผ่นไม้ แผ่นไม้แยกออกเป็น ๒ แผ่น และยึดติดกันด้วยเดือยที่เจาะ เวลาใช้ให้ตั้งแผ่นไม้ให้ขัดกันเหมือนรูปกากบาท ขัดผิวไว้ด้วยกระดาษทรายให้เรียบ สมัยก่อนใช้หนังปลากระเบนขัดไม้ เวลาเก็บสามารถพับให้เรียบเหมือนเป็นไม้แผ่นเดียวได้การใช้หมอนไม้คนแก่เฒ่ามักใช้สไบ หรือผ้าขาวม้ารองที่หมอนไม้ก่อนที่จะหนุนนอน จะได้ไม่เจ็บนอนสะดวก นอกจากใช้หมุนศีรษะ ยังใช้เป็นที่วางหนังสืออ่านได้อีกด้วย
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 186 หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล บางเลน อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางปรียาวรรณ ชะเอมวัน
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
ถนน สุพรรณบุรี-ชัยนาท
ตำบล สนามชัย อำเภอ เมืองสุพรรณบุรี จังหวัด สุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000
โทรศัพท์ 035-536058 โทรสาร 035-536045
เว็บไซต์ ้http://province.m-culture.go.th/suphanburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่