ชื่อ พระครูโพธิชัย สารวิมล
ประวัติผู้นำศาสนาสถานพระครูโพธิชัย สารวิมล ชื่อเดิมเจ้าอธิการ คำภู ยสินธโร อายุ ๕๙ ปี พรรษา ๒๘ ปีวุฒิการศึกษา นักธรรมชั้นเอก
ผลงาน
พ.ศ. ๒๕๔๕ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัศรีโพธิ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดศรีโพธิ์ชัย ต.ปลาค้าว
พ.ศ. ๒๕๔๖ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลปลาค้าว
พ.ศ.๒๕๔๘ ดำรงตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๕๓๖ ถึงปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นครูสอนปริยัติธรรม
พ.ศ.๒๕๔๘ ถึงปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้แทนแม่กองธรรมสนามหลวงประจำหน่วยสอบโรงเรียนปลาค้าววิทยานุสรณ์
พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับรับเสาเสมาธรมจักร ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธาสนา สาขาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ.วัดศรีโพธิ์ชัยอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านปลาค้าว เวลาล่วงมา ๗๐-๘๐ ปี มีเจ้าอาวาสมีนามว่าหลวงปู่สอน วรลี ลือกันว่ามีจริยวัตรหรือวัตรปฏิบัติที่งดงามมาก ชาวบ้านปลาค้าว และชาวบ้านใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ เมื่อมีงานในวัดหรืองานเทศกาล เมื่อเจ้าอาวาสได้ขอความร่วมมือ ชาวบ้านไม่ว่าหนุ่มหรือสาว จะเข้ามาช่วยกิจกรรมทางวัดจนแล้วเสร็จงานเรียบร้อย นับว่าวัดเป็นศูนย์รวมน้ำใจของชาวบ้านโดยแท้ วัดศรีโพธิ์ชัย นอกจากมีโบสถ์สำหรับพิธีทางสงฆ์แล้วก็มีวิหาร ศาลาการเปรียญ และโรงเรียนปริยัติธรรม
วิหารเป็นศาสนสถานที่สำคัญยิ่งในสมัยนั้น เพราะเป็นที่ร่วมกิจกรรมของชาวบ้าน ไม่ว่ากิจการอันใด ทั้งฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายฆราวาสเป็นต้องใช้วิหารนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม เช่น การฟังเทศน์ ฟังธรรม ( ธรรมวัตร ) ของชาวบ้าน ชายหนุ่ม หญิงสาว โดยเฉพาะในวันธรรมสวนะ ยิ่งในรอบปุริมพรรษา ชาวบ้านชายหนุ่ม หญิงสาว มีโอกาสได้พูดคุยพบปะกัน เป็นที่สนุกสนานเป็นอย่างมาก
ดังนั้นเมื่อวิหารหลังเก่าชำรุด เจ้าอาวาสหลวงปู่สอนและชาวบ้าน ทายกทายิกา จึงได้ประชุมตกลงกันหรือวิหารหลังเก่าแต่คงรูปไว้ โดยใช้การปลูกด้วยปูน และอิฐคร่อมหลังเก่า โดยการขนดินจากบ่อดินอิฐ เหนือบ้านหนองน้ำเที่ยง กิจกรรมการขนดินเข้าวัดก็เกิดขึ้น พอตกค่ำ ทางวัดก็ตีกลองสัญญาณให้ชาวบ้านชายหนุ่ม หญิงสาวขนดินเข้าวัดโดยวิธีหาบบ้าง ลากด้วยเกวียนบ้าง ลากด้วยตะเฆ้บ้าง ถ้าวันใดเป็นวันข้างขึ้น – ถึงวันเดือนเพ็ญ จะมีความสนุกสนานมาก ชายหนุ่ม หญิงสาว เป็นที่สบอารมณ์เป็นอย่างมาก กลางคืนไปขนดินเข้าวัด บางวัน ช่างผู้มีฝีมือก็ทำการก่อสร้าง โดยช่างผู้ชำนาญงานปูนเป็นคนญวนที่มาอยู่ในละแวกนี้ โดยหนีมาจากสงครามอินโดจีนมีชื่อว่า องตื้อ องเวียง องหลี่ ผู้ออกแบบวิหารคือ ช่างสิงห์ ( ช่างแต้ม ) ที่มีสัญชาติลาว เชื้อชาติลาวที่หนีขึ้นมาได้ลูกเมียที่บ้านปลาค้าว มีฝีมือการเขียนภาพ แต้มสีภาพ และพูดผญา ทายเหตุการณ์ล่วงหน้าของสถานการณ์ที่บ้านเมืองได้อย่างแม่นยำเป็นคนออกแบบวิหาร ปูนปั้น ผสมดินโคลนฉาบทา และสร้างเสร็จ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ช่างทั้งสามได้ สลัก พ.ศ. และ ค.ศ. ที่สร้างเสร็จไว้ที่บานประตูทางทิศเหนือ ศิลปะการก่อสร้างจะไม่เหมือนศิลปะการก่อสร้างของไทยเรา คงรูปแบบอาคารของชาวฝรั่งเศสและญวนผสมกับรวมอายุได้ ๗๖ ปี มีบางวัดอาจจะทำลาย หรือรื้อก่อสร้างใหม่แล้ว ด้วยความคิดของชาวบ้านและหลวงปู่สอน จึงได้คงวิหารเอาไว้ให้ลูกหลานได้เห็น ชาวบ้านปลาค้าวจึงเห็นว่าโบราณสถานที่มีค่ายิ่งควรรักษาไว้
พระพุทธรูป ( พระเจ้าใหญ่ศรีโพธิ์ชัย ) ปั้นด้วยดินฉาบด้วยทองเปลว ทำการปั้นไว้กับที่ ตอนรื้อวิหารได้ยกลงไปด้วยทำให้พระศอนั้นหัก ทุกวันนี้ยังเป็นริ้วรอยอยู่มีอายุราว ๑๕๐-๒๐๐ ปี รุ่นเดียวกันกับหลวงพ่อพระเหลา อำเภอพนา แต่ช่างปั้นหลวงพระเหลานั้นฝีมือ ทางพุทธศิลป์ดีกว่า
ความเคารพนับถือของชาวบ้าน ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมาก ลูกหลานจะไปทำมาค้าขาย จะเดินทางไปไกลทุกคนจะมาบนบานไว้ เมื่อเดินทางกลับมาแล้วก็มาแก้บน โดยวิธีบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน โดยเฉพาะเทียนปั้น( เทียนรอบหัวคาคิง ) เทียนยาวทุกครั้งไป ซึ่งเหลือไว้ให้เห็นเป็นจำนวนมาก
สิ่งสำคัญในศาสนสถาน
-โบสถ์ญวณ
- พระพระเจ้าใหญ่ศรีโพธิ์ชัย
กิจกรรมที่ดำเนินการ พัฒนาเยาวชนบำเพ็ญประโชน์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน ตลอดจนสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน เช่นกิจกรรมการเรียนการสอนกลองยาว สรภัญญะ บุญประเพณี อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมสืบสานภูมิปัญญา ร่วมดำเนินโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน
จำนวนประชาชนที่เข้าร่วม
กิจกรรมในปัจจุบัน...๕๑...คน
จำนวนสมาชิกในชุมชนที่จะร่วมบริหารโครงการลานบุญฯ...๒,๐๐๐............คน
จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการลานบุญฯ.....๑๐,๐๐๐............คน