ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 39' 20.9999"
13.6558333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 16' 4.0001"
100.2677778
เลขที่ : 99103
โอ่งแดง
เสนอโดย admin group วันที่ 16 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย สมุทรสาคร วันที่ 21 สิงหาคม 2555
จังหวัด : สมุทรสาคร
1 1714
รายละเอียด
โอ่งแดง - โอ่งแดงเป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำของชาวบ้านในอดีตในเขตอำเภอกระทุ่มแบน โอ่งแดงทำจากดินเหนียว โดยนำดินเหนียวมานวดให้เข้าที่แล้วปั้นขึ้นรูปเป็นโอ่งนำไปเผาในเตาอบที่มีอุณหภูมิสูงใช้เวลาในการเผาหลายวันจนกระทั่งเนื้อโอ่งแข็งและมีสีแดง สีของโอ่งจะแดงมากหรือน้อยหรือเป็นสีดำขึ้นอยู่กับคุณภาพของดินปริมาณความร้อนความสม่ำเสมอของความร้อน การผลิตโอ่งแดงขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของนายช่างอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละท้องถิ่นโอ่งแดงมีน้ำหนักมากภายในไม่มีเหล็กเป็นแกน โอ่งแดงทำจากดินเหนียวจึงมีรูเล็ก ๆ อยู่ที่เนื้อโอ่งโดยทั่วไปเมื่อนำน้ำมาใส่ในโอ่งน้ำจะซึมเข้าไปในเนื้อโอ่งมีไอน้ำระเหยออกจากเนื้อโอ่งในขณะที่ไอน้ำระเหยออกจากเนื้อโอ่ง ไอน้ำจะพาความร้อนออกไปด้วยจึงทำให้น้ำในโอ่งแดงมีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศชาวบ้านนิยมดื่มน้ำจากโอ่งแดงเพราะได้ดื่มน้ำเย็นตามธรรมชาติ โอ่งแดงมีขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ โอ่งแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในขณะนี้เท่าที่พอเห็นอยู่ ก็คือโอ่งแดงที่ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงเทพมหานครมีความสูงประมาณ 2 เมตร โอ่งแดงบางลูกแตกร้าวก็ยังสามารถบรรจุน้ำได้เพราะเมื่อโอ่งร้าวเนื้อโอ่งยังชิดติดกันน้ำจะทำให้เนื้อโอ่งที่เป็นดินเผาตรงจุดที่แตกร้าวขยายตัวเข้าหากันดังนั้นโอ่งแดงถึงแม้จะแตกร้าวแต่ก็ยังบรรจุน้ำได้ หากโอ่งแดงแตกร้าวหรือมีรูทะลุวิธีการซ่อมให้ใช้ดินเหนียวที่มีคุณภาพอุดยาตรงรอยที่ทะลุแล้วนำโอ่งไปเผาไฟอีกครั้งหนึ่งความร้อนจะทำให้ดินเหนียวที่นำมาอุดยาเปลี่ยนเป็นดินเผาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเนื้อโอ่งและติดแน่นเป็นเนื้อเดียวกันกับเนื้อโอ่ง ในปัจจุบันโอ่งแดงเป็นวัตถุที่นิยมสะสมกันและใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน ในเขตอำเภอกระทุ่มแบนไม่มีแหล่งผลิตโอ่งแดง โอ่งแดงน่าจะผลิตมาจากจังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดปทุมธานี แล้วส่งเป็นสินค้านำมาขายในเขตอำเภอกระทุ่มแบน แหล่งอ้างอิงข้อมูล พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน - จัดทำขึ้นเพื่องานด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดย... พ.ต.อ.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล… หมู่ที่ 6 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ค่ายวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 ซอย - ถนน -
ตำบล ท่าไม้ อำเภอ กระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่