เห็ดนางฟ้า
ความสำคัญของเห็ดนางฟ้า
เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดที่อยู่ในตระกูลพลูโรทัส ( Pleurotus ) เช่นเดียวกับเห็ดนางรม สามารถเพาะปลูกได้ทุกภาค ดอกเห็ดนางฟ้ามีสีเทา หรือสีครีม จัดว่ามีสีคล้ำกว่าเห็ดนางรม ดอกเห็ดนางฟ้าน้ำหนักเบา เนื้อกรอบไม่เหนียวเท่าเห็ดนางรม ตลาดมีความต้องการเห็ดนางฟ้ามากกว่าเห็ดนางรม จึงจัดจำหน่ายได้ราคาดีกว่า เห็ดนางฟ้าออกดอกดีในสภาพอากาศเย็นชื้น จึงเพาะได้ดีในอากาศของประเทศไทย เห็ดนางฟ้าจะออกดอกสม่ำเสมอกว่าเห็ดนางรม ระยะห่างระหว่างรุ่นประมาณ ๑๕ –๒๐ วัน ดอกเห็ดนางฟ้าเก็บไว้ได้นานกว่าเห็ดนางรม ถ้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้นาน ๒ –๓ วัน ดอกเห็ดมีคุณสมบัติที่จะมาบรรจุกระป๋อง และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลายชนิด การทำก้อนเชื้อเห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้า จะใช้สูตรเดียวกัน และการปฏิบัติดูแลคล้ายกัน
ชนิดของเห็ดนางฟ้าที่นิยมเพาะในปัจจุบัน ได้แก่
๑. เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดนางรมชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเห็ดรม แต่จะมีสีเข้มกว่าเห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้าภูฐาน ออกดอกดีในสภาพอากาศเย็น เหมาะที่จะเพาะในช่วงฤดูหนาวที่อากาศเย็นมาก ๆ แต่ถ้าฤดูร้อนจะไม่ออกดอกหรือออกดอกยาก
๒. เห็ดนางฟ้าภูฐาน นำมาจากประเทศภูฐาน สีดอกจะคล้ำกว่าเห็ดนางรมแต่เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อแล้วสีดอกจะจางกว่า ดังนั้น เห็ดชนิดนี้จึงมีรูปร่างขนาดและสีอยู่ระหว่างเห็ดนางรมกับเห็ดเป๋าฮื้อ ทนความร้อนได้ดีกว่า เห็ดนางฟ้าสามารถเพาะได้ตลอดทั้งปี ออกดอกสม่ำเสมอกว่าเห็ดนางรม ดอกมีความกรอบกว่าเห็ดนางรม จึงเป็นที่นิยมเพาะกันอย่างแพร่หลาย
รูปร่างลักษณะของเห็ดนางฟ้า
- หมวกดอก ( Cap ) หมวกดอกมีเนื้อแน่น สีคล้ำคล้ายเห็ดเป๋าฮื้อ แต่สีของหมวกดอกจะจางกว่า ดอกจะออกดอกมาเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อก็ได้
- ครีบดอก ( Gills ) ครีบดอกมีสีขาว ยาวตลอดใต้หมวก ดอกคล้ายฟันเลื้อย เป็นแหล่งผลิตสปอร์
- ก้านดอก ( Stalk) ก้านดอกของเห็ดนางฟ้าจะเป็นเนื้อเดียวกับหมวกดอกคล้ายดอกนางรมแต่มีเนื้อแน่นสีขาวไม่มีวงแหวน
- เห็ดใยเห็ดนางฟ้า ( Mycelium) เส้นใยค่อนข้างละเอียด และมีสีขาวมากกว่าเห็ดนางรมเล็กน้อย การเจริญเติบโตของเส้นใยจะมีลักษณะคล้ายเห็ดนางรม
สูตรอาหารที่ใช้
ในการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราในถุงพลาสติก มีสูตรอาหารที่ใช้ได้กับเห็ดหลายชนิด เช่น สกุลนางรม เห็ดหูหนู และเห็ดขอนขาว แล้วแต่ผู้ปฏิบัติหรือเจ้าของฟาร์มจะใช้สูตรใดตามความเหมาะสม มีดังนี้
๑. ขี้เลื้อยไม้ยางพารา ๑๐๐ กิโลกรัม
๒. ยิปซั่ม ๐.๕ กิโลกรัม
๓. รำละเอียด ๖ –๘ กิโลกรัม
๔. ดีเกลือ ๐.๒ กิโลกรัม
๕. กากน้ำตาล ๑ กิโลกรัมต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร
๖. น้ำสะอาด ๖๕ –๗๐ เปอร์เซ็นต์
๗. ปูนขาว ๐.๕ กิโลกรัม
การผสมอาหารเห็ด
ในหารผสมอาหารเห็ดเพื่อให้ส่วนผสมตามหลักสูตรเข้ากันได้ดีในเวลาอันรวดเร็ว มีวิธีการดังนี้
๑. ปรับสูตรอาหารให้เป็นไปตามปริมาณงานที่ทำ
๒. ชั่งหรือตวงขี้เลื่อยตามหลักสูตร เทเป็นกอง กองกว้างประมาณ ๑ เมตร ยาวไปจนหมดขี้เลื่อย
๓. ชั่งรำละเอียด กากน้ำตาล ดีเกลือ และยิปซั่ม หว่านทับขี้เลื่อยทีละอย่างจนหมด สำหรับดีเกลือปริมาณน้อย การหว่านเลยอาจหว่านไม่ทั่วถึง ควรนำไปผสมขี้เลื่อยและหว่าน หรือนำดีเกลือไปละลายน้ำแล้วรดให้ทั่วกองจะดีกว่า
๔. ร่อนปูนขาวด้วยตาข่ายมุ้ง ชั่งให้ตามสูตร แล้วหว่านทับลงในกองขี้เลื่อยจนทั่วกอง
การนึ่งฆ่าเชื้อ
นำถุงปุ๋ยที่เตรียมเสร็จแล้วไปนึ่งฆ่าเชื้อโรคในถังนึ่ง ใช้อุณหภูมิ ๙๐ –๑๐๐ องศาเซลเซียส ไฟสม่ำเสมอต่อเนื่อง ๔ ชั่วโมง จากนั้นนำมาผึ่งให้เย็น เปิดปากถุงใส่เชื้อในห้องที่ลมไม่โกรก สะอาด เป็นช่วงเวลาเช้า หรือกลางคืน อัตราหัวเชื้อ ๑ ขวด ต่อถุงปุ๋ย ๓๐ –๔๐ ถุง
การฆ่าเชื้อ
เมื่อใส่เชื้อแล้ว ควรบ่มเชื้อในห้องที่สะอาดและถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิประมาณ ๒๘ –๓๕ องศาเซลเซียส ประมาณ ๔๕ วัน เชื้อจะเดินเต็มถุง
การเปิดคอกและการดูแลรักษา
นำเข้าโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เก็บความชื้นได้ดี สะอาดปราศจากโรคแมลง โดยการเอาสำลีและคอขวดออกจากปากขวดให้หมด จัดเป็นระเบียบก้อนขนานกับพื้นบนชั้นวางหรือแบบแขวนแล้วแต่สะดวก