ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 0' 49.8463"
15.0138462
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 16' 40.3745"
102.2778818
เลขที่ : 107801
พิพิธภัณฑ์โครงกระดูกซากช้างโบราณ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
เสนอโดย Jazz61 วันที่ 9 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 20 กันยายน 2555
จังหวัด : นครราชสีมา
1 1579
รายละเอียด

พิพิธภัณฑ์โครงกระดูกช้างโบราณชม ซากช้างโบราณ ซากช้างถูกค้นพบจากบ่อทรายที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ทุกบ่อทรายจะมีสภาพชิ้นส่วนของซากช้างแตกต่างกันไป แต่ละบ่อความลึกประมาณ 30-50 เมตร จากระดับดินเดิม จะพบซากสัตว์ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะซากช้างโบราณยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรธรณีสถาบันราชภัฎนครราชสีมา และต่างประเทศ ได้วินิจฉัยว่าเป็นซากช้างดึกดำบรรพ์ คอมโพเธอเรียม มีความสูงประมาณ 2 เมตร มีงวงสั้นกว่าช้างปัจจุบัน มีงาตรง 2 คู่ จากขากรรไกรบนและล่าง เป็นช้างที่มีวิวัฒนาการมาจากช้างรุ่นแรกแห่งดินแดนอียิปต์ที่มีขนาดเท่าหมู ใหญ่ที่มีชื่อ "โมริธิเรียม" สำหรับที่พบที่ตำบลท่าช้างนี้ มีอายุตอนปลายของสมัยไมโอซีน ตอนกลางมีอายุราว 13-15 ล้านปีก่อน ขณะนี้ชิ้นส่วนกระดูกช้างส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ ที่อาคารโครงกระดูกซากซ้างโบราณ ซึ่งอยู่ชั้นล่างของที่ทำการเทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งแต่ละวันจะมีบุคคลที่สนใจ เข้าเยี่ยมชมโดยตลอดกรมทรัพยากรธรณีได้แจ้งว่า ผลการตรวจฟอสซิลจากบ่อทราย ตำบลท่าช้าง ยืนยันว่าชิ้นส่วนของช้างสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว มีอยู่ ๓ ชนิด

คำสำคัญ
พิพิธภัณฑ์
หมวดหมู่
พิพิธภัณฑ์
สถานที่ตั้ง
อาคารพิพิธภัณฑ์โครงกระดูกซากช้างโบราณ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๔ บ้านตลาดท่าช้าง ถนน เพชรมาตุคลา
อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
บุคคลอ้างอิง นางสาวศิรดา ปานาหะ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๔ บ้านตลาดท่าช้าง ถนน เพชรมาตุคลา
อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครราชสีมา
โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๗๘ ๖๔๒๙
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่