ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 8' 9.0989"
8.1358608
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 14' 46.6645"
100.2462957
เลขที่ : 111516
พิธีการทำขวัญข้าว
เสนอโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 4 กันยายน 2554
อนุมัติโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 18 กันยายน 2555
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
0 998
รายละเอียด

การทำขวัญข้าวของชาวนาไทย กระทำสืบทอดกันมา เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของพระแม่โพสพ ที่ได้เป็นผู้เลี้ยงชาวนามาตลอด เป็นการสักการะบูชาในพระคุณของท่านผู้ที่ได้เลี้ยงชาวนามาเป็นการทดแทนพระคุณตามความเชื่อความศรัทธาขงชาวนาไทย

ชาวนามีความเชื่อว่า ต้นข้าวมีขวัญ จึงมีการทำขวัญ ซึ่งเป็นประเพณีนิยมทำกันในฤดูกาลที่ข้าวเริมต้นท้องหรืออุ้มท้อง หรือเมื่อขนข้าวขึ้นเพิง ปัจจุบันนี้ได้เลิกไปแล้วเพราะมีการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วมีการชื้อขายเลย จึงเลิกไปจากระบบความเชื่อดั้งดิมการผสมผสานวิถีชีวิตพุทธศาสนาและอิทธิพลของศาสนาพรามหณ์จึงมีการผสมผสานในเรื่องการทำขวัญข้าว

พิธีการทำขวัญข้าว

ตามความเชื่อของชาวนาอำเภอหัวไทร ก่อนที่ที่จะปลูกข้าว แต่เดิมชาวนาจะต้องไปดูสถานที่นาของตน ดูพื้นที่ที่เหมาะสม ในการปลูกข้าวในการปลุกข้าวว่าสถานที่จะมีมุมนาสวนใดบ้างเป็นมุมที่สำหรับแรกปลูกข้าว เพื่อทำการตกแต่งพื้นที่นาให้พร้อมที่จะทำพิธีในการปลูกข้าว โดยจัดเครื่องประดับให้สวยงาม พอเหมาะกับฐานะของแต่ละบ้าน เครื่องประดับในพิธีปลูกข้าว

การประกอบพิธี บูชาพระแม่โพสพ หรือการทำขวัญข้าว จะต้องเลือกวันดี เดือนดี ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นข้างขึ้น หรือข้างแรม จะต้องดูจากปฏิทิน แต่พิธีทางราชการเป็นประเพณีส่วนหนึ่งที่ได้จัดกระทำพิธีแรกนาขวัญทุกปีที่กำหนดไว้ ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของชาวนา การทำขวัญข้าวและแรกปบลูกข้าวจะประกอบด้วย ๒ พิธีมี คือพิธีพรามหณ์ และพิธีพุทธ คือพิธีพระสงฆ์ ทั้ง ๒ พิธี จะมีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ส่วนมากจะเป็นพิธีพรามหณ์เป็นส่วนใหญ่

ชาวนาอำเภอหัวไทรที่มีอาชีพทำนาก็จะทำพิธีการทำขวัญข้าว แล้วแต่เจ้าของนาและตามฐานะเจ้าของนา

การประกอบพิธีแบบพรามหณ์จะประกอบด้วย

๑. ตกแต่งสถานที่ปลูกข้าว

๒. ประดับธงสีหลากสี ฉัตร บายศรี ตามความเหมาะสม

๓ . เครื่องสังเวย เครื่องบูชา ประกอบด้วย ไก่ต้ม หมู ข้าว อาหารแบบพื้นบ้าน ของคาว ของหวาน ขนม นมเนย น้ำ ผลไม้ ธูปเทียน หมากพูล ดอกไม้ เป็นต้น ตามความเหมาะสมกับฐานะเจ้าของนา หรือตามสภาพท้องถิ่นนั้น ๆ

๔ . ผู้ทำพิธี (พรามหณ์ หรือโหราจารย์ ) จะต้องเข้าใจในพิธี กล่าวคำบวงสรวงจะต้องมีภูมิปัญญาความรู้

เมื่อจัดเตรียมสถานที่ และเครื่องบูชาเรียบร้อยแล้ว

ผู้ทำพิธีจะต้องเป็นผู้กล่าวบูชาครู และออกชื่อพระแม่โพสพด้วยเครื่องสักการะบูชาตามที่ได้จัดไว้ กล่าวขอพรรับขวัญแม่โพสพ

ผู้เข้าพิธีจะต้องมาพร้อมกัน พรามหณ์ในพิธีจัดทำพิธีอ่านโองการบวงสรวงเทพยดาทั้งหลายและอัญเชิญพระแม่โพสพกล่าวบูชาและขอพรพรรับขวัญแม่โพสพ

ตามลำดับ ประธานโปรยดอกไม้ ตามเครื่องสังเวย เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ผู้ร่วมพิธี ส่วนข้าวที่ชาวบ้าน ชาวนา นำมาทำพิธี ชาวบ้านนำกลับบ้านเมื่อเก็บไว้ในยุงข้าว หรือเอาไปรวมกันที่จะปลูกต่อไปในปีหน้าเพื่อเป็นสิริมงคล

สถานที่ตั้ง
-
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล ท่าซอม อำเภอ หัวไทร จังหวัด นครศรีธรรมราช
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
-
บุคคลอ้างอิง -
ชื่อที่ทำงาน -
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล ท่าซอม อำเภอ หัวไทร จังหวัด นครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80170
โทรศัพท์ - โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่