ฟ้อนแคนเป็นศิลปการละเล่นพื้นบ้านของชาวไทดำ นิยมเล่นกันในงานเทศกาลต่างๆ เช่นตรุษสงกรานต์ ตรุษสารท เทศกาลงานบุญต่างๆการฟ้อน การรำ จะแฝงไว้ซึ่งศิลปะ วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี เอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นและเสดงถึงจิตใจของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ การรำแคนของชาวไทยดำนั้นเป็นการรำตามเสียงเพลง เสียงดนตรี (แคน) ในลักษณะที่มีจังหวะอ่อนช้อยงดงามแต่บางส่วนแสดงถึงความสนุกสนานเร้าใจและหยอกล้อกันระหว่างคู่รำหรือรำเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหนุ่มหญิงสาวการแต่งกายผู้รำแคนชาวไทดำ ชาย นุ่งกางเกงขาสั้น หรือขายาว สีดำสีครามแก่กางเกงขาสั้น เรียกว่า "ส้วงก้อม" กางเกงขายาวเรียกว่า "ส้วงฮี"สวมเสื้อแขนยาวสีดำ ติดกระดุม ที่ทำด้วยเงินแท้ ๑๐ -๑๖ เม็ดขึ้นไป เรียกว่า "เสื้อไต"หรือใส่เสื้อยาวคลุมสะโพกชายเสื้อปักหรือประดับด้วยไหมหรือด้ายสีต่างผู้รำแคนชาวไทดำ หญิง นุ่งผ้าซิ่นลายแตงไทย (พื้นดำ หรือ สีครามแก่ทางสีขาว ลงตามตัว) มีเชิงรอบลายผ้าซ่นด้านบนตั้งแต่ระดับสะโพกมีผ้าสีดำ หรือสีครามแก่ (ผ้าพื้น) ต่อจากลายทางลงเสื้อเป็นเสื้อแขนกระบอกรัดปลายแขนสีดำ หรือสีครามแก่แขนยาว ผ่าอกตลอดติดกระดุมที่ทำด้วยเงินแท้ประมาณ ๙ - ๑๐ เม็ดขึ้นไป คาดเข็มขัดเงินแท้ มีสไบคล้องคอผู้รำหญิงจะใส่เสื้อฮียาวเหมือนผู้รำชายก็ได้การรำ นิยมรำเป็นคู่ ระหว่างชาย - หญิงหรือชายกับชาย หญิงกับหญิงก็ได้รำเป็นวงเหมือนการรำวงหรือการรำโทน เครื่องประดับที่ใช้ประกอบการรำเป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นเองจากไม้ไผ่ หรือไม้รวก เรียกว่า "แคน" เครื่องกำกับจังหวะ ใช้การปรบมือปัจจุบันมีจังหวะอื่นผสมเพลงประกอบการเสดง หรือการรำ เรียกว่า "เซิ้งแคน" ใช้คำร้องเป็นคำร้องสด โต้ตอบกันระหว่างชาย - หญิงโดยร้องไปพร้อมกับเสียงแคนและปรบมือให้จังหวะ