ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 33' 7.5188"
17.552088551061118
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 3' 36.3438"
103.06009551372084
เลขที่ : 126941
นายคำบุ บุญภา
เสนอโดย อุดรธานี วันที่ 14 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย อุดรธานี วันที่ 14 มีนาคม 2555
จังหวัด : อุดรธานี
1 620
รายละเอียด

ชื่อภูมิปัญญา นายคำบุ บุญภา

วัน เดือน ปี เกิด: ๑ เมษายน ๒๔๘๗ อายุ ๖๘ ปี

ที่อยู่ ๑๖ หมู่ที่ ๘ ตำบล บ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี

เป็นหมอสูตรขวัญงานประเพณีที่สำคัญของอำเภอพิบูลย์รักษ์ มากว่า ๓๐ ปี

พิธีบายศรีสู่ขวัญสามารถจำแนกได้ ๓ ประเภท ตามลักษณะและโอกาสที่ใช้ในการประกอบพิธี คือ พิธีกรรมการสู่ขวัญในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต การเซ่นสรวง และสำหรับผู้ที่หายจากการเจ็บป่วย
๑. การสู่ขวัญในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต
๑.๑ การสู่ขวัญเด็กแรกเกิด พิธีสู่ขวัญเด็กแรกเกิดเป็นการสู่ขวัญทารกที่ถือว่าเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัวเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่เด็กและพ่อแม่ โดยเฉพาะแก่แม่ที่ถือว่าผ่านอันตรายหลังจากการคลอดบุตร ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่งของผู้หญิง
๑.๒ การสู่ขวัญนาค ผู้ชายที่นับถือศาสนาพุทธเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุปสมบท ผู้ที่ประสงค์จะอุปสมบทต้องขออนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็จะกำหนดวันประกอบพิธีสู่ขวัญนาคขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล
๑.๓ การสู่ขวัญพระภิกษุสงฆ์ พิธีสู่ขวัญพระภิกษุสงฆ์เป็นการสู่ขวัญที่ชาวบ้านร่วมกันจัดให้กับพระในวัดของหมู่บ้านในโอกาสที่ได้รับตำแหน่งหรือสมณศักดิ์สูงขึ้น
๑.๔ การสู่ขวัญในการแต่งงาน พิธีสู่ขวัญในการแต่งงานจัดขึ้นในโอกาสที่หนุ่มสาวตกลงใจที่จะอยู่ร่วมกันในฐานะสามีภรรยา เมื่อผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมกันก็จัดพิธีแต่งงานตามประเพณีจะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ คู่บ่าว -สาว ด้วย
๑.๕ การสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นการสู่ขวัญเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกในครอบครัวหรือญาติผู้ใหญ่ เช่น
- เมื่อมีญาติผู้ใหญ่ หรือ ผู้ที่เจ้าของบ้านมีความเคารพนับถือเดินทางมาจากจังหวัดอื่นเข้ามาในหมู่บ้านหรือเข้ามาอาศัย ก็จัดงานพิธีบายศรีสู่ขวัญให้
- เมื่อมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ย้ายเข้ามารับตำแหน่งที่สำคัญ หรือ ผู้มีตำแหน่งราชการสูงพ้นจากหน้าที่การงานหรือย้ายออกไป ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ที่เคารพรักก็จะร่วมกันจัดงานพิธีบายศรีสู่ขวัญส่งให้ท่านที่จากไปมีขวัญและโชคดี
- ผู้ชายเมื่อถูกเกณฑ์ทหารพ่อแม่หรือญาติพี่น้องก็จะหาหมอขวัญมาทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อให้ลูกหลานมีขวัญและกำลังใจดีในการเดินทางไปรับราชการทหารเกณฑ์ และเมื่อลูกหลานเป็นทหารครบสองปีแล้วก็เดินทางกลับมาบ้านพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ก็จะติดต่อเชิญหมอขวัญมาทำพิธีบายศรีสู่ขวัญรับขวัญลูกหลานที่กลับมาอยู่บ้านให้มีขวัญดีมีสิริมงคล
- เมื่อนักเรียนหรือนักศึกษาที่จะจบการศึกษาก็จะให้หมอขวัญมาทำพิธีบายศรี สู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
๒. การสู่ขวัญในการเซ่นสรวง
๒.๑ การสู่ขวัญข้าวเปลือก พิธีสู่ขวัญข้าวเปลือกจัดขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว คือประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม โดยชาวบ้านทุกครัวเรือนจะนำข้าวเปลือกจำนวนหนึ่งจากยุ้งหรือเล้าข้าวของตนมากองรวมกันที่วัด เพื่อถวายให้วัด แล้วทำพิธีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคล ขอขมาแม่โพสพ ข้าวขายได้ราคาดีและสามารถเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมากขึ้นในฤดูกาลต่อไป
๒.๒ การสู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ พิธีการสู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่จัดขึ้นเมื่อย้ายไปอยู่บ้านหลังใหม่หรือสร้างบ้านหลังใหม่เสร็จและก่อนที่จะเข้าพักอาศัยจะต้องจัดพิธีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านตามความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า ที่ดินและไม้ที่นำมาสร้างบ้านมักมีเจ้าของรักษาอยู่ เมือจะเข้าพักอาศัยหรือประกอบกิจกรรมใด ๆ จึงต้องประกอบพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคลหรือเพื่อปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวงออกไปก่อนที่จะเข้าพักอาศัยจึงจะทำให้ชีวิตมีความสุขความเจริญ

๓.สำหรับผู้ที่หายจากการเจ็บป่วย
การสู่ขวัญสำหรับผู้ป่วยการเจ็บป่วยเกิดจากการมีเคราะห์หรือเกิดจากการกระทำที่ผิดจารีตประเพณีของชุมชนหรือลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือและชาวบ้านเชื่อว่าผู้ที่เจ็บป่วยอยู่นั้นขวัญหรือสภาพจิตใจไม่เป็นปกติอาจไปตกหล่นอยู่ ณ ที่หนึ่งจึงต้องประกอบพิธีกรรมการสู่ขวัญ เพื่อเรียกให้ขวัญกลับมาอยู่ร่างกายของผู้ป่วยตาเดิม

พิธีกรรมการสู่ขวัญสำหรับผู้ป่วยมี ๒ พิธีดังนี้
- สู่ขวัญสะเดาะเคราะห์ เป็นการสู่ขวัญผู้ป่วยที่หายจากการเจ็บป่วยแล้ว และเป็นการเรียกขวัญผู้ป่วยที่เชื่อว่าหายไปขณะที่ป่วยนั้นให้กลับมาเหมือนเดิม
- ส้อนขวัญผู้ป่วย คำว่าส้อน หมายถึง การช้อนหรือการตัก ดังนั้นการส้อนขวัญก็คือช้อนหรือตักขวัญ ซึ่งเป็นการสู่ขวัญของผู้ป่วยที่ไม่ทราบสาเหตุของความเจ็บป่วยและบอกให้ทราบว่าขวัญไปตกหล่นอยู่ที่ใด ญาติก็จะไปประกอบพิธีกรรมการส้อนขวัญ ณ สถานที่หมอดูได้บอกไว้ เมื่อประกอบพิธีส้อนขวัญเสร็จแล้วก็เชื่อว่าทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการนั้น ๆ ได้

คำสำคัญ
หมอสูตรขวัญ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 16 หมู่ที่/หมู่บ้าน 8
ตำบล บ้านแดง อำเภอ พิบูลย์รักษ์ จังหวัด อุดรธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายคำบุ บุญภา
เลขที่ 16 หมู่ที่/หมู่บ้าน 8
ตำบล บ้านแดง อำเภอ พิบูลย์รักษ์ จังหวัด อุดรธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่