ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 10° 53' 3.5281"
10.884313373164928
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 15' 58.7389"
99.26631636640604
เลขที่ : 127503
ตำนานบ้านพ่อตาหินช้าง
เสนอโดย มนตรี วันที่ 17 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย ชุมพร วันที่ 30 มิถุนายน 2555
จังหวัด : ชุมพร
4 18870
รายละเอียด

ตำนานบ้านพ่อตาหินช้าง

ตำนานบ้านพ่อตาหินช้างนี้ ตั้งอยู่ในเขตตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร บันทึกจากคำบอกเล่าของนายถวิล อุ้ยนอง อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านใหม่สมบูรณ์ ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ปรากฏตามรายละเอียด ดังนี้

เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๕ได้มีชาวไทย เชื้อสายมอญ ประมาณ ๖ ครัวเรือนได้มาหักร้างถางพงปลูกกระท่อมอาศัยอยู่ ณ แถบเชิงเขาพ่อตาหินช้าง พวกเขาประกอบอาชีพทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าว ปลูกกล้วยน้ำว้า ทยอยเข้ามาประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่หลังเขา ด้านที่ติดกับคลองท่าแซะอีกไม่กี่ครัวเรือน ชาวมอญซึ่งนับถือและเคร่งครัดต่อพระพุทธศาสนา ได้สร้างที่พักชั่วคราวไว้ให้พระสงฆ์มาประกอบพิธีกรรม โดยนิมนต์พระมาจากวัดแหลมยาง อำเภอท่าแซะ มาประจำ ณ ที่พักสงฆ์แห่งนี้

ในช่วงนั้นได้มีการตัดถนนสู้ภาคใต้ บริษัทรับเหมาสร้างถนนมาถึงตรงเชิงเขา ก็พบกับหินก้อนหนึ่งรูปร่างคล้ายช้าง ขนาดไม่ใหญ่โตนัก ช่างที่มาควบคุมงานพยายามใช้เครื่องกลหนักเพื่อเอาหินก้อนนั้นออก มีปัญหารถแทรกเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ทั้งหิน ต้นไม้ (ต้นตะเคียนทองขวางทางอยู่) ชาวบ้านบอกให้บนบานบอกกล่าวเจ้าที่ แต่นายช่างโยธาซึ่งเป็นฝรั่งไม่เชื่อ เมื่อพยายามใช้รถดันเท่าไรก็ไม่ได้ผล จึงตกลงให้ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ โดยถ้าอภินิหารมีจริงก็ขอให้ใช้รถแทรกเตอร์สามารถดันหินขึ้นเขาได้ หากไม่จริงอย่างคำเล่าลือก็จะผลักลงเขาไปเลย ผลปรากฏว่า รถสามารถดันก้อนหินคล้ายรูปช้างขึ้นเขาได้จริง ๆ ทำให้คนงานและนายช่างเกิดความศรัทธา จึงร่วมกับชาวบ้านสร้างศาลพ่อตาหินช้างขึ้นการตัดถนนเพชรเกษมก็ผ่านไปด้วยดี เมื่อตัดถนนเสร็จรถที่วิ่งผ่านไปผ่านมาก็หยุดสักการะ จุดประทัดกราบไหว้บูชาให้เดินทางปลอดภัย

ศาลพ่อตาหลังแรกนั้นสร้างเล็กๆ แต่เต็มไปด้วยความรู้สึกที่อบอุ่น ปลอดภัย ต่อมามีรถของนายณรงค์ ชวนชัยศิษย์ ชาวกรุงเทพฯ เดินทางผ่านรถเกิดเสียจึงได้พักค้างคืนที่หน้าศาล และได้ทราบเรื่องพ่อตาหินช้าง จึงได้บนบานขอให้ประสบความสำเร็จในงาน แล้วจะสละตัวเป็นร่างทรงให้เจ้าพ่อ เมื่อประสบความสำเร็จดังที่ปรารภไว้ จึงรับเป็นผู้บูรณะ ปรับปรุงศาลให้ดียิ่งขึ้น และได้ตัดถนนขึ้นไปบนภูเขา เพื่อเป็นที่พักผ่อนของผู้มาเยือน ในวันที่ ๒๔ สิงหาคม ของทุกปี นายณรงค์ กับคณะจะมาสักการะถวายเครื่องสังเวยทำพิธีเข้าทรง เพื่อช่วยเหลือลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรือง โดยจัดให้มีภาพยนตร์ ๓ คืนหรือตามที่ขอไว้

เรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่าในแถบนี้จะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า “พ่อตา” มาอยู่คู่กับคลองท่าแซะ หลายแห่ง เช่น พ่อตาหินงู พ่อตาหินก้อง พ่อตาหินช้าง ท่านจะช่วยดูแลคุ้มครองป้องกัน ไม่ให้สัตว์ที่ไม่ดีมารังแกมนุษย์ไม่ได้ เขามีความคิดมีปัญญาสูงกว่า ต่อมามนุษย์จะขึ้นไปอยู่บนหลังช้าง ฝ่ายช้างก็พากันอธิษฐาน จำศีล หมอบอยู่ริมคลองท่าแซะ หลังเขาพ่อตาหินช้าง ณ ที่นั้น เป็นวังน้ำลึกมีหินที่หน้าผา รูปร่างคล้ายช้างหมอบ ล่างลงไปอีกคุ้งน้ำมีวังน้ำลึกอีกหลายแห่ง ชาวบ้านเรียกว่า“วังพ่อตาและวังแม่ยาย”ยังปรากฏเค้าลางมาถึงปัจจุบัน

พื้นที่นั้นมีอาหารจากธรรมชาติหลายอย่าง โดยเฉพาะปลามีชุกชุมมาก ชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ นายหนู ลงจับปลาในคลองท่าแซะ ตรงวังพ่อตา ได้เห็นกล้วยเล็บมือนางก็นำมาขายที่หน้าศาลพ่อตาหินช้าง ต่อมานายต๊ะ (นายสมจิต กมสินธ์) มาเปิดร้านขายดอกไม้ ธูปเทียนประทัด และกล้วยเล็บมือนาง นายพลกับนายสาย เห็นว่ากล้วยเล็บมือนางขายดี จึงไปซื้อหน่อกล้วยลักษณะดีจากอำเภอท่าแซะมาปลูกขายให้นายต๊ะ โดยขนหน่อกล้วยมาทางเรือ เมื่อการซื้อขายมีมากขึ้น บางครั้งขายไม่หมด นายต๊ะได้นำกล้วยสุกงอมไปตากแดดมาวางขายเป็นกล้วยตาก จากนั้นชุมชนแห่งนี้ก็ปลูกกล้วยเล็บมือนางขายเป็นอาชีพหลัก และใช้กล้วยเล็บมือนางบดให้ลูกกิน ซึ่งที่อื่นใช้กล้วยน้ำว้า เมื่อมีงานบุญหรือมีแขกมาเยี่ยม ก็จะเอากล้วยเล็บมือนางรับแขก และเป็นของฝากที่ดี มีความหมาย จนเป็นเอกลักษณ์ของบ้านพ่อตาหินช้างมาจนถึงปัจจุบัน

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
บ้านพ่อตาหินช้าง
หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล สลุย อำเภอ ท่าแซะ จังหวัด ชุมพร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร (นายมนตรี คุณวุฒิ)
บุคคลอ้างอิง นายถวิล อุ้ยนอง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล สลุย อำเภอ ท่าแซะ จังหวัด ชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86140
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่