การบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรและบวชศีลจาริณีภาคฤดูร้อนคือ การนำเด็กและเยาวชนให้เข้าวัด โดยการบวชและเรียนรู้หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาและความรู้อื่น ๆ จากพระสงฆ์ ในช่วงปิดเรียนภาคฤดูร้อนตามระยะเวลาที่กำหนด การบวชดังกล่าวแยกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. การบรรพชาเป็นสามเณร
๒. การบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
๓. การบวชศีลจาริณีหรือบวชชีพราหมณ์(ผู้หญิง)
วัดที่จัดกิจกรรมนี้มักจะดำเนินการในรูปแบบของโครงการมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น โครงการ
บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนบ้าง โครงการอุปสมบทภาคฤดูร้อนบ้าง โครงการบวชเนกขัมมจาริณีหรือ
บวชศีลจาริณีบ้าง ตามกิจกรรมจัดขึ้น กรมการศาสนาใช้ชื่อเรียกรวมกันอย่างเป็นกลางว่า โครงการ
บรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรและบวชศีลจาริณีภาคฤดูร้อน
การบรรพชาสามเณรเริ่มครั้งแรก เมื่อสมัยพุทธกาล โดยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานการบรรพชาแก่ราหุลกุมาร ดังนั้นจึงถือว่า พระราหุลเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาพระพุทธองค์ทรงประทานอนุญาตให้คณะสงฆ์ทำการบรรพชาและอุปสมบทแก่ผู้ที่ประสงค์จะบรรพชาและอุปสมบทได้ เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปยังดินแดนต่าง ๆการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสามเณรจึงได้รับการสืบทอดไปพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและดำเนินการสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การจัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนครั้งแรกในประเทศไทย จากหลักฐานที่สืบค้นได้พบว่า
จัดขึ้น ณ วัดตโปทาราม ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘
โดยพระปลัดเสนอ สิริปญฺโญฺ (ปัจจุบัน :พระราชรณังคมุนี เจ้าคณะจังหวัดระนอง) จัดอบรม
ความรู้ทางพระพุทธศาสนา โดยใช้เนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คิหิปฏิบัติ และศาสนพิธี
เป็นหลักสูตรในครั้งแรกมีผู้สมัครเข้าบรรพชา จำนวน ๗ รูปหลังจากนั้น พุทธสมาคมจังหวัดระนอง ได้รายงานต่อกรมการศาสนา ในสมัยนั้นกรมการศาสนาเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าวว่าเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง จึงได้สนับสนุนให้จัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเป็นโครงการต่อเนื่องตลอดมา
การบรรพชาภาคฤดูร้อนของวัดศรีจันทร์โพธิ์ธารามจัดขึ้นวันที่ 5 เมษายน 2555 โดยมีนักเรียนที่เข้าร่วมจำนวน 52 คนโดยเมื่อนาคเข้าไปภายในพระอุโบสถ์แล้ว นาควันทาพระประธานอีกครั้งด้วยวิธีอย่างเดียวกันกับวันทาสีมา จากนั้นกลับไปนั่ง ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับนาค บิดา มารดา (หรือญาติผู้ใหญ่)มอบผ้าไตรให้นาค นาคคุกเข่ากราบ ๓ หน ยื่นแขนประณมมือรับผ้าไตร จากนั้นประณมมือประคองผ้าไตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์เมื่อถึงแนวพระสงฆ์ให้คุกเข่าลงแล้วคลานเข่าเข้าไปถวายผ้าไตรนั้นแก่ท่าน รับดอกไม้ ธูปเทียนแพเครื่องสักการะ (มีผู้ส่งให้ข้างหลัง) ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบลง ๓ หน พระอุปัชฌาย์มอบผ้าไตรคืนให้ ประณมมือประคองผ้าไตร ยืนขึ้นว่า
อุกาสะวันทามิภันเต//สัพพังอะปะราธังขะมะถะเมภันเต//มะยากะตังปุญญังสามินา อนุโมทิตัพพัง//สามินากะตังปุญญังมัยหังทาตัพพัง//สาธุ/สาธุ/อนุโมทามิฯ
อุกาสะการุญญังกัตะวา/ปัพพัชชังเทถะเมภันเตฯ
คำแปล
ขอโอกาสขอรับ กระผมขอกราบไหว้ ขอท่านโปรดยกโทษที่ได้ล่วงเกินทั้งปวงให้กระผมด้วย ขอท่านโปรดอนุโมทนาบุญที่กระผมได้กระทำ และขอท่านโปรดให้บุญที่ท่านได้ทำแก่กระผมด้วย สาธุ สาธุ กระผมขออนุโมทนาฯ
กระผมขอโอกาสเมื่อท่านมีความกรุณาแล้ว จงบวชให้ผมด้วยขอรับฯ
นั่งคุกเข่า ประณมมือว่า
อะหังภันเตปัพพัชชังยาจามิ//ทุติยัมปิอะหังภันเตปัพพัชชังยาจามิ//ตะติยัมปิอะหังภันเตปัพพัชชังยาจามิ
คำแปล
ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา ท่านขอรับ แม้ครั้งที่สอง กระผมขอบรรพชา แม้ครั้งที่สาม กระผมขอบรรพชา
(ว่าต่อ)สัพพะทุกขะนิสสะระณะ/นิพพานะสัจฉิกะระณัตถายะ//อิมังกาสาวังคะเหตะวา//ปัพพาเชถะมังภันเต//อนุกัมปังอุปาทายะ(ว่า ๓ รอบ) ครบ ๓ รอบแล้วแล้วส่งผ้าไตรให้พระอุปัชฌาย์
คำแปล
ท่านขอรับ ขอท่านจงอนุเคราะห์รับผ้ากาสาวพัสตร์นี้ บวชให้กระผมด้วยเถิด เพื่อให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง กระทำพระนิพพานให้แจ้ง
(ว่าต่อ)สัพพะทุกขะนิสสะระณะ/นิพพานะสัจฉิกะระณัตถายะ//เอตังกาสาวังทัตะวา //ปัพพาเชถะมังภันเต//อนุกัมปัง อุปาทายะ(ว่า ๓ รอบ)
คำแปล
ท่านขอรับ ขอท่านจงอนุเคราะห์คืนผ้ากาสาวพัสตร์นี้ บวชให้กระผมด้วยเถิด เพื่อให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง กระทำพระนิพพานให้แจ้ง
จากนั้น นาคโน้มตัวเข้าไปใกล้ๆ พระอุปัชฌาย์คล้องผ้าอังสะให้ จากนั้นนั่งพับเพียบลงประณมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌาย์