ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 35.3359"
7.6264822
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 9' 17.685"
100.1549125
เลขที่ : 136909
วัดวัง
เสนอโดย jiraporn วันที่ 29 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 23 กันยายน 2564
จังหวัด :
1 1255
รายละเอียด

วัดวัง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ บ้านลำปำ ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ห่างจากศาลากลางจังหวัดพัทลุง ไปทางทิศตะวันออก ถนนสายราเมศวร์ อภัยบริรักษ์ (พัทลุง – ลำปำ) ประมาณ ๗ กิโลเมตร

ความสำคัญ

วัดวัง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญคู่กับเมืองพัทลุงมาตลอดสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะเคยเป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองพัทลุงมาแล้วในอดีต จนกระทั่งทางราชการได้ยกเลิกพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และได้มีการย้ายเมืองพัทลุงจากตำบลลำปำไปตั้งที่ตำบลคูหาสวรรค์คือที่ตั้งเมืองปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ วัดวังก็เริ่มทรุดโทรมลงเรื่อยๆ จนราว พ.ศ. ๒๕๑๒ ทางราชการจึงได้บูรณะซ่อมแซมวัดวังให้มั่นคงถาวรจนกระทั่งทุกวันนี้ วัดวังเป็นวัดที่มีศิลปกรรมควรแก่การศึกษาค้นคว้ามากมาย เช่น อุโบสถก่อด้วยอิฐถือปูน มีระเบียงคดล้อมรอบ ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย จำนวน ๔ องค์ (พระพุทธรูปปูนปั้น จำนวน ๑๐๘ องค์) ฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน เขียนภาพจิตรกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นการเล่าเรื่องพระพุทธประวัติและเทพชุมนุม นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน ๒ องค์ ธรรมาสน์จำหลักไม้ของรัชกาลที่ ๖ มีอักษรจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. และ ข้อความว่า “ทรงพระราชอุทิศในงานพระบรมศพ พ.ศ. ๒๔๕๓”

รูปแบบศิลปกรรม

อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก อุโบสถเดิมมีขนาดเล็กกว่าปัจจุบัน
แต่ได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยพระยาพัทลุง (ทับ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ ด้านหน้าอุโบสถมีมุขเด็จยื่นออกมา ภายในมุขเด็จ
มีพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งห้อยพระบาทปางป่าลิไลยก์ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย จำนวน ๔ องค์ ประดิษฐานบนฐานชุกชีย่อมุมไม้สิบสอง พระประธานขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เมตร มีพระสาวกปูนปั้นประทับยืนพนมมือ ด้านขวามือของพระประธานขนาดห้าตักกว้าง ๒ เมตร
มีพระสาวกปูนปั้นประทับยืนพนมมือ ด้านขวามือของพระประธานมีพระพุทธรูปสำริด ทงเครื่องปางห้ามสมุทธ
(ถูกขโมยไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙) ด้านซ้ายมือของพระประธานมีพระพุทธรูปจำหลักไม้บุด้วยโลหะทรงเครื่อง
ปางอุ้มบาตร ๑ องค์ ผนังอุโบสถด้านหน้าตอนใน มีรูปยายแก่ปูนปั้นนั่งชันเขาขวาบนโต๊ะสี่เหลี่ยมก่อด้วยปูน ชาวบ้านเรียกว่า “ยายโอ”หรือ“ยายทองคำ” ผนังอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องพุทธประวัติ เทพชุมนุมทั้ง ๔ ด้าน รอบอุโบสถมีระเบียงคดล้อมรอบภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น จำนวน ๑๐๘ องค์

เจดีย์ มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน ๒ องค์ อยู่ทางด้านทิศใต้และทิศเหนือของอุโบสถ ฐานเจดีย์เป็นชุดฐานสิงห์ย่อมุม องค์ระฆังทรงเหลี่ยมย่อมุมรับกับฐาน ด้านหลังอุโบสถ์มีเจดีย์ทรงกลีบมะเฟือง ๑ องค์ เจดีย์ทรงกลม ๕ องค์และเจดีย์ทรงกลมอง๕ใหญ่อยู่มุมกำแพงวัดด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือก่อด้วยอิฐถือปูน ตามประวัติว่าพระยาพัทลุง (ทับ) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓

กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ๒ ครั้ง ครั้งแรกขึ้นทะเบียนโดยมิได้กำหนดแนวเขต ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ ครั้งที่ ๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๒ ตอนที่ ๑๐๘ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ หน้า ๑๕๑ (ฉบับพิเศษ) พื้นที่ประมาณ ๙ ไร่ ๑ งาน ๔๖ ตารางวา

คำสำคัญ
วัดวัง
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดวัง
ถนน อภัยบริรักษ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ถนน ราเมศวร์
รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐๗๔๖๑๗๙๕๙๘ โทรสาร ๐๗๔๖๑๗๙๕๙
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th/phatthalung
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่