ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 26' 17.9999"
16.4383333
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 50' 20"
102.8388889
เลขที่ : 138138
การประกวดโต๊ะหมู่บูชา ๙
เสนอโดย อัศวิน ทัพซ้าย วันที่ 7 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 12 มิถุนายน 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 1191
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมาการจัดโต๊ะหมู่บูชา เป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทยมาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใดสันนิษฐานว่าเดิมอาจจะวางสิ่งเคารพ วัตถุมงคลบนหิ้งหรือบนแท่นมาก่อน ส่วนการจัดวางบนโต๊ะน่าจะได้แบบอย่างมาจากการตั้งโต๊ะน้ำชาของชาวจีนที่มาค้าขายกับไทยในสมัยก่อน จากจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๑ ครั้งเมื่อมีงานฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ ก็มีการเริ่มจัดโต๊ะบูชาเป็นครั้งแรก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกวดจัดโต๊ะหมู่บูชาแบบต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึง ๑๐๐ โต๊ะ และรูปแบบการจัดดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

การจัดโต๊ะหมู่บูชาโดยเฉพาะเครื่องบูชาบนโต๊ะ อันได้แก่ พานพุ่ม แจกันดอกไม้ กระถางธูป เชิงเทียนถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ผู้จัดควรทำด้วยความประณีตบรรจง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัยและยังเป็นการแสดงออกถึงศิลปะในการจัดอีกด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดโต๊ะหมู่บูชามีหลายแบบ ที่สำคัญคือ การตั้งเครื่องบูชาทุกชนิด จะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนโต๊ะหมู่บูชาที่อยู่สูงสุด ส่วนปริมาณเครื่องบูชาอาจแตกต่างกันตามประเภทของโต๊ะหมู่ซึ่งมีหลายแบบ เช่น โต๊ะหมู่ ๔, หมู่ ๕, หมู่ ๗, หมู่ ๙ และหมู่ ๑๕ เป็นต้น แต่ละแบบก็จะมีการจัดและความหมายแฝงอยู่

โต๊ะหมู่บูชาพระหมู่ 9
ใช้สำหรับจัดเป็นพระประธาน ในศาสนพิธีสงฆ์ ที่เป็นพิธีการใหญ่ เช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปที่โต๊ะตัวบนสุด วางพานพุ่มดอกไม้ที่โต๊ะตัวรองด้านข้างๆละ 3 พุ่ม และตัวรองตรงกลางอีก 1 พาน วางแจกันดอกไม้ที่มุมโต๊ะตัวบน หลังพานพุ่มข้างละ 2 แจกัน ส่วนตัวล่างสุดวางกระถางธูป เชิงเทียน ประดับเชิงเทียนที่มุมโต๊ะ ทุกตัววางพานพุ่มดอกไม้

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น โดย นางเกศินี สวัสดี วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ได้มีกิจกรรมการประกวดโต๊ะหมู่บูชา ๙ ขึ้น เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก เพื่อฉลองพุทธชยันตรี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น มีทีมเครือข่ายเข้าร่วมประกวด ทั้งสิ้น ๒๓ ทีม ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านแต่ละอำเภอในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

เกณฑ์การตัดสิน คะแนนตัดสิน 100 คะแนน

๑.ขั้นตอนกระบวนการการทำงาน 10 คะแนน

๒.ความถูกต้องของโต๊ะหมู่ตามชนิดที่กำหนดและการจัดวางโต๊ะหมู่บูชาประกอบด้วย พระพุทธรูป

แจกัน พานพุ่ม ดอกไม้สดเชิงเทียน กระถางธูป ธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์20 คะแนน

๓.ความประณีต สวยงาม ของเครื่องประดับตกแต่งและการจัดดอกไม้สด 30 คะแนน

๔.ความถูกต้องในการจัดโต๊ะหมู่บูชาตามแบบธรรมเนียมพิธีการ 20 คะแนน

๕.ความคิดสร้างสรรค์ 10 คะแนน

๖.ความคิดสร้างสรรค์ 10 คะแนน

๗.สำเร็จทันเวลา 10 คะแนน

ความสำคัญ: องค์ความรู้การจัดโต๊ะหมูบูชาเป็นการส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้รับความรู้และถวายเป็นพุทธบูชา ในเทศกาลวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก เพื่อฉลองพุทธชยันตรี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น
ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น
บุคคลอ้างอิง นายอัศวิน ทัพซ้าย
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น อีเมล์ kk_culture@Gmail.com
ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000
โทรศัพท์ 043 245013 โทรสาร 043 245014
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th//khonkaen
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่