ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 21' 7.9999"
14.3522222
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 36.0001"
100.5766667
เลขที่ : 139584
กาน้ำดินเผา
เสนอโดย chaosam วันที่ 16 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 17 มิถุนายน 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 877
รายละเอียด

กาน้ำดินเผา

ภาชนะดินเผา ทำเป็นกาน้ำ รูปทรงคล้ายผลมะเฟือง มีพวย ศิลปะสุโขทัย

เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย

ปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าเครื่องสังคโลก ซึ่งเป็นภาชนะดินเผาเคลือบสีเขียวไข่กา เป็น

สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย ส่วนใหญ่เป็นชามขนาดใหญ่มีลวดลายปลาคู่บ้าง

ลายพรรณพฤกษาบ้าง เตาเผาเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ต่อมาเรียกว่าเตาสังคโลก

ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ แหล่งเตาในแคว้นสุโขทัยนั้นได้ทำการผลิตเครื่องปั้นดินเผา

ทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ เพื่อใช้ภายในท้องถิ่นและส่งเป็นสินค้าออกไปขายต่างประเทศ เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยนี้มักถูกเรียกทั่วไปว่า”สังคโลก” ไฟในระดับเนื้อแกร่งหรือเนื้อหิน

(Stoneware) ได้รับเทคนิคการทำเครื่องเคลือบมาจากช่างปั้นจีน

จากหลักฐานทางจารึกและเอกสารอื่น ๆ สมเด็จพระนครินทราธิราช (ปี พ.ศ.๑๙๕๒ –

พ.ศ.๑๙๖๗) ทรงมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์ทางสุโขทัย ทรงมีอำนาจเหนือแคว้นสุโขทัยด้วย เครื่องปั้นดินเผาแบบสุโขทัยนี้พบทั้งที่แม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี และในเขตแคว้นสุโขทัย และเป็น

ที่น่าเชื่อว่าจากหลักฐานเอกสารของจีน สมเด็จพระนครินทราธิราชได้เสด็จไปเมืองจีน และได้

ทรงนำความรู้และเทคนิคในการเผาเครื่องเคลือบดินเผาเข้ามาในอยุธยาด้วย

เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดีมีทั้งกระปุกขนาดย่อม ถ้วยชาม

สังคโลก ตุ๊กตาตลอดจนเครื่องประดับอาคารต่าง ๆ เช่นหัวมังกร หรือหัวยักษ์ เป็นต้น

แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาในแคว้นสุโขทัย

แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาในแคว้นสุโขทัย ที่สำคัญ มีอยู่ ๒ แหล่งคือ

๑. แหล่งเตาสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ลักษณะของเตาเป็นเตาอิฐ

ที่ก่อบนเนินสูงมีทั้งเตาเผาชนิดระบายความร้อนไหลผ่านในแนวขึ้น ( up – draft kiln type) และ

เตาเผาชนิดระบายความร้อนไหลผ่านในแนวนอน (cross –kiln type) เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นจาก

แหล่งเตานี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

กลุ่มที่ ๑ เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องและรูปสัตว์ที่ประดับหลังคา

รวมทั้งท่อดินเผาเคลือบ

กลุ่มที่ ๒ เป็นภาชนะใช้สอยประเภทชาม จาน ไห กระปุก ส่วนใหญ่เคลือบสีขาวนวล

และน้ำตาลอ่อน มีลายเขียนสีดำหรือน้ำตาลแกเป็นรูปลายปลาและลายพันธุ์พฤกษา เนื้อดินค่อนข้าง

หยาบ มีสีดำหรือน้ำตาลปนเทา ภาชนะส่วนใหญ่มีความหนาและน้ำหนักมาก

๒. แหล่งเตาศรีสัชนาลัย หรือเมืองสวรรคโลกเก่า อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

นับเป็นแหล่งใหญ่และสำคัญที่สุด โดยกระจายเป็นกลุ่ม ๆ อยู่ในพื้นที่ ๓ แห่ง ได้แก่

๒.๑ เตาบ้านป่ายาง แหล่งเตาเหล่านี้ประกอบด้วยเตาเผา ๒ กลุ่ม คือ

- กลุ่มเตายักษ์ ใกล้กำแพงเมืองศรีสัชนาลัยด้านทิศเหนือ พบเครื่องปั้น

ดินเผาเคลือบเป็นประติมากรรมรูปยักษ์ถือกระบอง จึงเรียกว่าเตายักษ์

- กลุ่มเตาตุ๊กตา บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านป่ายาง พบเครื่องปั้นดินเผารูป

ตุ๊กตา รูปบุคคล รูปสัตว์ แหล่งเตาบ้านป่ายางเป็นเตาหลวงที่ผลิตของสวยงามเพื่อใช้ในราชสำนัก

ไม่ส่งขายต่างประเทศ ดังนั้นจึงอาจเป็นสิ่งของที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ภายในเท่านั้น

๒.๒ เตาบ้านเกาะน้อย เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยขนาดใหญ่ โดยเริ่ม

จากเตาใต้ดินพัฒนาขึ้นมาเป็นเตาบนดิน จนในที่สุดเป็นเตาอิฐบนเนินดินเผา ผลิตภัณฑ์จากแหล่ง

เตาบ้านเกาะน้อยที่สำคัญได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาเคลือบ เช่น โถ พาน ถ้วย ชาม กระปุก กาน้ำ คณฑี

มีทั้งภาชนะเคลือบสีเขียวไข่กา (Celadon) เคลือบสีน้ำตาล สีขาวนวล และสีเขียวอ่อน ภาชนะ

เคลือบนี้มีลักษณะเด่นคือ มีเนื้อดินดี สีค่อนข้างขาว เมื่อเผาแล้วดูสนิทเป็นเนื้อเดียวกันหมด

มีคุณภาพดีกว่าแหล่งอื่น ๆ

๒.๓ เตาวัดดอนลาน กลุ่มเตาวัดดอนลานนี้ ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับกลุ่ม

เตาบ้านเกาะน้อยไปทางทิศตะวันออก แหล่งเตายังไม่ถูกลักลอบขุดมากนัก

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 ซอย - ถนน -
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางวิไลวรรณ ไกรสกุล อีเมล์ aoywilai@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 ซอย - ถนน -
จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 089-0537664 โทรสาร 035-241587 ,03524457
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่